protest against mining
อ่าน

ค้านร่าง พ.ร.บ.แร่ ฉบับ คสช. หวั่นชุมชนล่มสลาย

รวมพลังชาวบ้านหลายพื้นที่สัมปทานเหมืองแร่เมืองเลย ค้านร่างกฎหมายแร่ฉบับ คสช. หวั่น Mining Zone จะก่อให้เกิดความล่มสลายอย่างรุนแรงต่อชุมชนทั่วประเทศได้ เพราะเปิดทางให้ทำเหมืองได้ในพื้นที่ป่าสงวน การลดขั้นตอนการขอสัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่ให้สั้นที่สุดเท่าที่จะสั้นได้ เพื่อความรวดเร็วต่อเอกชนที่จะเข้ามาลงทุน โดยเฉพาะขั้นตอนปรึกษาหารือกับประชาชนในพื้นที่สัมปทาน
Community Rights
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: ตัด ‘สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี’ โบกมือลาองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม

ยังมีความเห็นที่แตกต่างกันในสังคมว่า ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ จะช่วยคุ้มครองและทำให้สิทธิของชุมชนใช้ได้จริงในทางปฏิบัติมากขึ้นหรือน้อยลง เนื่องจากร่างนี้ ‘ตัดสิทธิ’ การแสดงความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการของรัฐ และตัดขั้นตอนการขอความเห็นชอบจากองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมก่อนดำเนินโครงการต่างๆ
อ่าน

สิทธิชุมชนในร่าง รธน.หาย ภาคประชาชนหวั่นอนาคตไร้ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

ภาคประชาชนระบุในงานเสวนา “เมื่อสิทธิชุมชนในร่างรัฐธรรมนูญหายไป ชาวบ้านจะพึ่งพาใคร?” เมื่อร่างรัฐธรรมนูญ 2559 ไม่เขียนเรื่องสิทธิชุมชน ชาวบ้านไร้สิทธิปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หวั่นหลังรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ คำสั่งหัวหน้า คสช. ทั้งหมดกลายเป็นกฎหมาย ทั้งที่มีเนื้อหาละเมิดสิทธิชัดเจนและปิดกั้นเสียงประชาชน
อ่าน

เกิดอะไรขึ้นที่นามูล-ดูนสาด เมื่อสัมปทานปิโตรเลียมเคลื่อนเข้ามา ?

การสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่บ้านนามูล-ดูนสาด เป็นที่รับรู้โดยทั่วไปว่ามีการต่อต้านจากชาวบ้าน มีทหารเข้ามาในพื้นที่ มีเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่น้อยคนนักจะรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นที่นี่ เราชวนรู้จักกับพื้นที่แห่งนี้ว่าพวกเขากังวลอะไรกับผลกระทบหากมีการขุดเจาะปิโตรเลียม
อ่าน

ชีวิตของคนชุมชนเพิ่มทรัพย์พัฒนา “มันใช้ชีวิตปกติไม่ได้แล้วตอนนี้”

ชุมชนเพิ่มทรัพย์พัฒนา ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติในจังหวัดสุราษฎร์ธานี หลังรัฐประหาร 2557 ชาวชุมชนต้องต่อสู้แย่งพื้นที่ทำกินกับนายทุน โดยการต่อสู้ที่กำลังดำเนินอยู่ชาวบ้านสงสัยว่าเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่อาจร่วมมือกับนายทุนเพื่อขับไล่พวกเขา
thumb
อ่าน

พลเมืองรุกเดิน: เมื่อความยุติธรรมไม่มา เราจะเดินไปหามัน

14 กุมภาพันธ์ 2558 กลุ่มพลเมืองโต้กลับจัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ “เลือกตั้งที่ (รัก) ลัก” ที่หน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เพื่อรำลึกถึงการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 ที่มีผู้ประท้วงปิดหน่วยเลือกตั้งหลายแห่งจนจัดการเลือกตั้งไม่ได้ เป็นเหตุให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยให้การเมืองตั้งเป็นโมฆะ ผลักให้การเมืองไทยเข้าสู่ทางตันจนนำไปสู่การรัฐประหาร แม้กิจกรรมครั้งนี้จะลุล่วงไปด้วยดี แต่ผู้ร่วมกิจกรรมถูกควบคุมตัวและถูกดำเนินคดีรวม 4 คน พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ และ อานนท์ นำภา ผู้ร่วมจัด วรรณเกียรติ ชูสุวรรณ อาสาสมัคร และ สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ นักศึกษาผู้เข้าร่
อ่าน

แทนเสียงคนเดือนร้อน เมื่อรัฐ “ขอคืนพื้นที่ป่า” ของชุมชน

"โนนดินแดง" เป็นพื้นที่หนึ่งที่ได้รับผลกระทบหลังจาก ประกาศคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 64/2557 และ 66/2557 หรือ "แผนแม่บทป่าไม้" ทำให้ชาวบ้านมากมายถูกไล่ทีและไม่มีที่ทำกิน ลองฟังเสียงและเรื่องราวของชาวบ้านอีกครั้ง ว่าปัญหาในพื้นที่เป็นอย่างไร
mining bill
อ่าน

ร่าง พ.ร.บ.แร่ ‘เพราะประโยชน์ของชาติ (นายทุน ข้าราชการ)? ที่สำคัญกว่าชีวิตคน’

21 ต.ค. 2557 ครม.อนุมัติ หลักการร่าง พ.ร.บ.แร่ เสียงคัดค้านจากประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ก็ดังขึ้น ประชาชนในหลายพื้นที่เรียกร้อง ให้ชะลอร่างกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่ สนช. ให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม และรอสภาจากการเลือกตั้ง ขณะนี้ร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวอยู่ในการดูแลของคณะกรรมการกฤษฎีกา     
อ่าน

คดีการชุมนุมที่หนองแซง: สิทธิตามรัฐธรรมนูญที่ถูกกดทับด้วยกฎหมายลูก

หลังสิ้นคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ลงโทษผู้ชุมนุมที่ประท้วงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ฐานปิดกั้นทางหลวงและใช้เครื่องเสียง ตี๋ ตรัยรัตนแสงมณี หนึ่งในจำเลยเห็นว่า แม้รัฐธรรมนูญจะรับรองสิทธิการชุมนุม แต่ก็ไม่ได้มีบทบัญญัติที่ชัดเจน อีกทั้งคำพิพากษาของศาลฎีกาก็ชี้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่เคยตีความหรือบัญญัติเรื่องการชุมนุมเอาไว้ สิทธิตามรัฐธรรมนูญจึงเป็นไปอย่างจำกัด
อ่าน

CHIA : ให้ชุมชนประเมินตนเอง ให้ชุมชนร่วมกำหนดอนาคต

กระบวนการของประชาชนที่จัดทำข้อมูลในชุมชนด้วยตัวเอง สำหรับการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ อีกหนึ่งช่องทางการมีส่วนร่วม ที่กำลังเติบโตและหาที่ยืนในกฎหมายของรัฐไทย