World Cup
อ่าน

ไล่เรียงข้อกฎหมาย-ข้อขัดแย้งเรื่องลิขสิทธิ์บอลโลก “ประวิตร” ลอยลำท่ามกลางคำขอบคุณ

หลังจากข้อขัดข้องเพื่อจัดซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดดสดฟุตบอลโลก 2022 ในที่สุดคนไทยก็ได้ดูจริงๆ พร้อมรับลูกเทคเครดิตให้ตัวเองแบบเต็มที่ เห็นได้จากคำพูดของผู้บรรยายที่มักพูดหลังจบเกมอย่างสม่ำเสมอว่า “ขอขอบคุณ พล.อ.ประวิตร” แม้เงินทุนส่วนหนึ่จะมาจากกองทุน กทปส. ซึ่งเป็นเงินที่จัดเก็บมาจากภาษีของประชาชนและรายได้ของรัฐก็ตาม
why world cup copy right is expensive for Thailand
อ่าน

จะได้ดูบอลโลกไหม? ไล่เรียงประเด็นข้อกฎหมาย ทำไมค่าลิขสิทธิ์ในไทยถึงแพงจัง ?

 “ฟุตบอลโลก 2022” ที่ประเทศกาตาร์เปิดฉากการแข่งขันขึ้นในวันที่ 21 พ.ย.2565 แต่แฟนบอลชาวไทยจะมีโอกาสได้รับชมฟุตบอลโลกครั้งนี้ผ่านช่องทางโทรทัศน์ที่ถูกลิขสิทธิ์และฟรีหรือไม่ ไอลอว์ชวนทบทวนเหตุการณ์ ข้อกฎหมาย และความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลกที่เกิดการถกเถียงในช่วงที่ผ่านมา
NBTC's power over TRUE-DTAC amalgamation
อ่าน

กสทช. อำนาจเต็ม ชี้ขาดดีลควบรวมทรู-ดีแทค

แม้ว่าจะมีการกล่าวอ้างว่า กสทช. ในฐานะองค์กรกำกับดูแลคมนาคมไทยมีอำนาจในดีลควบรวมทรู-ดีแทคแค่รับรายงานและกำหนดเงื่อนไขเท่านั้น แต่การดูกฎหมายโดบละเอียดจะพบว่า กสทช. มีอำนาจอย่างเต็มที่ ตั้งแต่ “การอนุญาต” การควบรวมกิจการหรือไม่ก็ได้ ไปจนถึงการกำหนดเงื่อนไขป้องกันการผูกขาด เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภคตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ กสทช. ถืออยู่ในมือ
The recruitment of NBCT
อ่าน

กรรมการ กสทช. ชุดใหม่กำลังมา หลังถูก คสช. แช่แข็งกระบวนการจนอยู่ครบทศวรรษ

คณะกรรมการกสทช. ชุดแรกดำรงตำแหน่งมาอย่างยาวนานเป็นเวลาถึง 10 ปี นับตั้งแต่ปี 2554  สาเหตุที่อยู่มาได้นานก็เพราะสภาแต่งตั้งของ คสช. ช่วยกันคว่ำกระดานยื้อเวลาการสรรหาชุดใหม่ออกไปเรื่อยๆ ประกอบกับ คสช. ก็ใช้อำนาจ "มาตรา44" ระงับการสรรหากรรมการชุดใหม่
Civil Court Order
อ่าน

ศาลสั่ง งดใช้ข้อกำหนดฯ “ตัดเน็ต” คนเผยแพร่ข่าวทำให้หวาดกลัว ชี้ขัดรัฐธรรมนูญ-ไม่มีกฎหมายให้อำนาจ

ศาลแพ่งมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวระงับการบังคับใช้ข้อกำหนดฯ ฉบับที่ 29  ที่เป็นการห้ามเผยแพร่ข้อความที่ทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว และให้อำนาจ กสทช. “ตัดเน็ต” เลขที่อยู่ไอพี โดยให้เหตุผลว่าเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ก็ไม่ได้ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีในสั่ง
51351057382_5b95168a08_o
อ่าน

สรุปคำฟ้องขอเพิกถอนข้อกำหนดฯ ฉบับที่ 29 คืนเสรีภาพสื่อให้กับประชาชน

2 สิงหาคม 2564 กลุ่มสื่อมวลชนและภาคประชาชน อย่างน้อย 12 กลุ่ม เดินทางมาศาลแพ่ง (รัชดา) เพื่อยื่นฟ้องขอเพิกถอนข้อกำหนดที่ออกตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 29 ที่ให้อำนาจ กสทช. “ตัดเน็ต” ผู้โพสต์ข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว เนื่องจากเป็นการใช้อำนาจที่ขัดต่อหลักนิติธรรม และยังเป็นการดำเนินการที่ไม่สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานในการปกครองระบอบประชาธิปไตย 
NBCT was sued due to enforced face recognition policy in southern province
อ่าน

คนสามจังหวัดฟ้อง กสทช. เหตุตัดสัญญาณมือถือเพราะไม่สแกนใบหน้า

2 กรกฎาคม 2563 มูลนิธิผสานวัฒนธรรม โดยปรีดา นาคผิว ในฐานะผู้รับมอบอำนาจของผู้ฟ้องคดี ได้ยื่นฟ้องกสทช. ต่อศาลปกครองกลาง เนื่องจากประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้ถูกตัดสัญญาณโทรศัพท์ เพราะไม่ได้ลงทะเบียนสแกนใบหน้าซิมโทรศัพท์เคลื่อนที่ “สองแชะ” เพิ่มจากการลงทะเบียนปกติ
-01
อ่าน

ทวนผลงานกสทช.หลังเลิกคำสั่งคุมสื่อ แต่คงคำสั่งคุ้มครองกสทช.

10 กรกฎาคม 2562 เป็นวันที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งอย่างเป็นทางการถือเป็นจุดเริ่มของรัฐบาลคสช.สอง เมื่อมีคณะรัฐมนตรีแล้วอำนาจของคสช.จึงหมดไป ไม่สามารถใช้อำนาจออกคำสั่งใดๆได้อีก แต่ก่อนหน้าเพียงวันเดียวคสช.ก็ได้ทิ้งทวนออกคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 9/2562 ยกเลิกประกาศและคำสั่งคสช.ที่ไม่จำเป็นต่อไปแล้วจำนวน 78 ฉบับ มีอย่างน้อยสองฉบับที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสื่อคือ ประกาศคสช.ที่ 97/2557 และ 103/2557
Voice tv
อ่าน

ศาลปกครองชี้ ‘ปิด’ วอยซ์ ทีวี ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้เพิกถอนคำสั่งกสทช.

27 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 16.00 น. ศาลปกครองกลางนัดฟังคำพิพากษาในคดีที่วอยซ์ ทีวีฟ้องคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และสำนักงาน กสทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (ต่อไปจะเรียกผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 2 ว่า กสทช.) โดยฝ่ายวอยซ์ ทีวี มีเมฆินทร์ เพ็ชรพลาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารวอยซ์ ทีวีและทนายความมาฟังคำพิพากษา ขณะที่ฝ่ายกสทช.มีผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถูกฟ้องคดีมาฟังคำพิพากษา นอกจากนี้ยังมีสื่อมวลชนจำนวนมากให้ความสนใจเข้ารับฟังในห้องพิจารณาคดีด้วย
-1
อ่าน

สนช. แก้ พ.ร.บ.กสทช. อีกครั้ง เปิดทางเอาคลื่นความถี่ขายต่อได้

18 มกราคม 2561 สนช. พิจารณา ร่าง พ.ร.บ.กสทช. วาระ 3 สาระสำคัญคือเพิ่มบทบัญญัติเพื่อการใช้วงโคจรดาวเทียม และแก้อำนาจหน้าที่คณะกรรมการกสทช.