เยาวชนถูกตั้งข้อหา ม.112 ต้องติดคุกเหมือนผู้ใหญ่ไหม? กระบวนการแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?
อ่าน

เยาวชนถูกตั้งข้อหา ม.112 ต้องติดคุกเหมือนผู้ใหญ่ไหม? กระบวนการแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?

พุทธศักราช 2563-2566 นับว่าเป็นช่วงเวลาประวัติศาสตร์ที่มีสถิติการบังคับใช้มาตรา 112 แบบแปลกๆ เกิดขึ้นมากมาย อาทิ จำนวนผู้ถูกตั้งข้อหาในภาพรวมพุ่งสูงเกิน 200 คน, จำนวนคดีต่อคนสูงสุดอยู่ที่ 23 คดี, เกิดคดีการฟ้องทางไกลข้ามจังหวัดระยะทางกว่า 1,800 กิโลเมตร หรือมี “นักร้องหน้าซ้ำ” ที่ไปริเริ่มคดีไว้ที่สถานีตำรวจเดิมด้วยตัวเองมากถึงเก้าครั้ง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สถิติใหม่หนึ่งที่น่ากังวลใจ คือการนำกฎหมายดังกล่าวมาบังคับใช้กับเด็กและเยาวชนเป็นครั้งแรก โดยจากข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่า ปัจจุบันมีเด็กและเยาวชนที่อายุไม่เกิน 18 ปีถูกดำ
RECAP112: ชวนรู้จักคดีของบอส ฉัตรมงคล ผู้ถูกตั้งข้อหา ม.112 จากการคอมเมนท์บนเพจปกป้องสถาบันฯ
อ่าน

RECAP112: ชวนรู้จักคดีของบอส ฉัตรมงคล ผู้ถูกตั้งข้อหา ม.112 จากการคอมเมนท์บนเพจปกป้องสถาบันฯ

ภายหลังการเกิดขึ้นของม็อบราษฎร 2563 ที่มีการ “ปฏิรูปสถาบัน” เป็นหนึ่งในข้อเรียกร้อง ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่กำหนดโทษการหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาดมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ฯก็ถูกรัฐบาลนำกลับมาใช้เพื่อดำเนินคดีกับประชาชน และไม่เพียงแต่เจ้าหน้าที่รัฐ สถานการณ์ดังกล่าวยังนำมาซึ่งปรากฏการณ์ “โต้กลับ” ทางกฎหมายของฝ่ายอนุรักษ์นิยมปกป้องสถาบันฯ ด้วย
คดี กรรม และนักร้องมือฉมัง: รวมสถิติสุดช็อก 2 ปีของการใช้ “มาตรา 112”
อ่าน

คดี กรรม และนักร้องมือฉมัง: รวมสถิติสุดช็อก 2 ปีของการใช้ “มาตรา 112”

พุทธศักราช 2363-2565 คือช่วงเวลาที่มีผู้ถูกตั้งข้อหา “มาตรา 112” มากที่สุดในประวัติศาสตร์ จากการเก็บข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน นับตั้งแต่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศจะใช้กฎหมาย “ทุกมาตรา” เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2563 นับเป็นเวลาประมาณ 2 ปี จนถึง 14 พฤศจิกายน 2565 มีผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 อย่างน้อย 217 คน ใน 236 คดี
112 ALERT! ชวนเปิดแฟ้ม “ทิวากร” คดีเสื้อหมดศรัทธา ก่อนพิพากษา
อ่าน

112 ALERT! ชวนเปิดแฟ้ม “ทิวากร” คดีเสื้อหมดศรัทธา ก่อนพิพากษา

หลังเกิดกรณีการอุ้มหาย “วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์” ในช่วงเดือนมิถุนายน 2563 ประชาชนและนักกิจกรรมหลายกลุ่มออกมาเคลื่อนไหวแสดงออกในลักษณะต่างๆ เพื่อตอบโต้สถานการณ์ ทั้งแฟลชม็อบ #saveวันเฉลิม การยื่นหนังสือเรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชาติดตามหาผู้รับผิดชอบกรณีของวันเฉลิม ในขณะเดียวกันก็มีนักกิจกรรมกลุ่มหนึ่งที่ตั้งข้อสังเกตในลักษณะเชื่อมโยงการหายตัวของวันเฉลิมกับสถาบันพระมหากษัตริย์ “ทิวากร” หนึ่งในสมาชิกกลุ่มเฟซบุ๊ก Royalist Market Place – ตลาดหลวง ก็เป็นอีกคนที่ต้องการแสดงออกต่อกรณีการหายตัวของวันเฉลิมในแบบของเขาเอง โดยทิวากรได้โพสต์ภาพตัวเองสวมเสื้อยืดสีขาว สกรีนข้อ
10 ข้อ สนับสนุน #ยกเลิก112 ทุกคนช่วยกันทำได้ทุกวัน
อ่าน

10 ข้อ สนับสนุน #ยกเลิก112 ทุกคนช่วยกันทำได้ทุกวัน

ท่ามกลางบรรยากาศความน่ากลัวของการบังคับกฎหมายที่มีขอบเขตไม่ชัดเจน จำนวนคดีที่เพิ่มขึ้นแทบจะทุกวันและดูเหมือนไม่มีที่สิ้นสุด ตลอดจนคำพิพากษาให้จำคุกที่ทยอยออกมาเรื่อยๆ ก่อนที่สังคมจะดำดิ่งไปสู่ความจำนนต่อสถานการณ์ ไอลอว์ชวนดูทางเลือก 10 ข้อ อยากสนับสนุน #ยกเลิก112 ทำอะไรได้บ้าง?
บ้านทะลุฟ้าในคืนนี้ ไม่มีเสียงกวีของพี่แซม
อ่าน

บ้านทะลุฟ้าในคืนนี้ ไม่มีเสียงกวีของพี่แซม

“หมดจิตหมดใจจะใฝ่ฝัน การสร้างสรรค์ย่อมสิ้นแผ่นดินหมอง กลัวน้ำตาไหลหลั่งดั่งน้ำนอง ก็จะต้องเห็นแก่ตัวชั่วนิรันดร์…”    
แก้รัฐธรรมนูญ: เพื่อไทยเสนอ “นายกฯ ต้องเป็น ส.ส.”-เพิ่มกลไกคุ้มครองสิทธิหลายประเด็น
อ่าน

แก้รัฐธรรมนูญ: เพื่อไทยเสนอ “นายกฯ ต้องเป็น ส.ส.”-เพิ่มกลไกคุ้มครองสิทธิหลายประเด็น

พรรคเพื่อไทยยังไม่ยอมแพ้ใช้ช่องทางการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเสนอร่างอีกสามฉบับ เปิดประตูภาคสี่ โดยมีหนึ่งฉบับที่เป็นประเด็นใหม่เกี่ยวกับสิทธิชุมชน ฉบับหนึ่งเสนอเพิ่มสิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิคนพิการ สิทธิคนไร้บ้าน และยกเลิกช่องทางนายกฯคนนอก ซึ่งเคยเสนอไม่ผ่านมาแล้ว
ตี้ ผู้อาสาขึ้นอ่านแถลงการณ์หน้าสถานทูตเยอรมนี
อ่าน

ตี้ ผู้อาสาขึ้นอ่านแถลงการณ์หน้าสถานทูตเยอรมนี

26 ตุลาคม 2563 ผู้ชุมนุมราษฎรในสภาพ “ไร้แกนนำ” รวมตัวกันที่หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์เพื่อเดินขบวนไปยังสถานทูตเยอรมนี เพื่อยื่นหนังสือให้ทางการเยอรมนีตรวจสอบว่า พระมหากษัตริย์ไทยได้ใช้พระราชอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินระหว่างทรงประทับในเขตอำนาจอธิปไตยของเยอรมนีหรือไม่ การชุมนุมครั้งนี้เกิดขึ้นในสภาวะที่ผู้มีบทบาทนำในการชุมนุม เช่น ทนายอานนท์ นำภา, รุ้ง ปนัสยา และเพนกวิน พริษฐ์ กำลังถูกคุมขังในเรือนจำหลังถูกจับกุมตั้งแต่ 15 ตุลาคม 2563 เมื่อผู้มีบทบาทนำในการปราศรัยถูกคุมขังไปหลายคน ผู้ชุมนุมราษฎรจึงปรับขบวนใหม่นัดหมายชุมนุมแบบไม่เน้นการปราศรัย เน้นการเติบโตพร้อมกั
‘ยก 2 ลง 2’ เปิดคำพิพากษาคดี 112 นับถึงพฤษภาคม 2565
อ่าน

‘ยก 2 ลง 2’ เปิดคำพิพากษาคดี 112 นับถึงพฤษภาคม 2565

ความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นกฎหมายที่ถูกนำมาใช้ดำเนินคดีผู้ที่แสดงออกทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง คดีของอำพลหรือ ‘อากง SMS’ ดารณีหรือ ‘ดา ตอร์ปิโด’ และสมยศ พฤกษาเกษมสุข คือตัวอย่างของคดีมาตรา 112 ที่เกิดขึ้นเป็นคดีแรกๆในช่วงปี 2551-2554 หลังการรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ถูกคณะรักษาความสงบแห่งชาตินำมาใช้อย่างเข้มข้นและเป็นระบบกับผู้ที่แสดงออกทางการเมืองจนทำให้ตลอดระยะเวลากว่า 5 ปี ที่คสช.อยู่ในอำนาจ มีคนถูกตั้งข้อกล่าวหาด้วยมาตรา 112 อย่างน้อย
เปิดจักรวาลทะลุวังและผองเพื่อน
อ่าน

เปิดจักรวาลทะลุวังและผองเพื่อน

หากกล่าวถึงการเคลื่อนไหวเรื่องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ในเวลานี้ ทะลุวังและเครือข่ายที่แยกออกมาจากทะลุวังถือเป็นกลุ่มนักกิจกรรมที่กำลังมีบทบาทสำคัญ ในสถานการณ์ที่การชุมนุมไม่ได้อยู่ในช่วงขาขึ้นและไม่มีการชุมนุมบนท้องถนนขนาดใหญ่ การเคลื่อนไหวของกลุ่มทะลุวังคือเสียงสะท้อนว่าความต้องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ยังคงมีอยู่ ที่ผ่านมานักเคลื่อนไหวกลุ่มนี้มักจัดกิจกรรมขนาดเล็ก ใช้วิธีการทำโพลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์โดยหยิบยกคำถามที่เคยอยู่บนโลกออนไลน์ เช่น คำถามเกี่ยวกับขบวนเสด็จ หรือคำถามเกี่ยวกับงบประมาณสถ