ร่างพ.ร.บ.จริยธรรมสื่อฯ: ห้ามรายงานขัดศีลธรรมอันดี ตั้งสภาสื่อสอบจริยธรรมสื่อนอกแถว
อ่าน

ร่างพ.ร.บ.จริยธรรมสื่อฯ: ห้ามรายงานขัดศีลธรรมอันดี ตั้งสภาสื่อสอบจริยธรรมสื่อนอกแถว

กลับมาอีกครั้งกับความพยายามควบคุมเนื้อหาในสื่อมวลชน ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. … ถูกบรรจุเข้าวาระการพิจารณาของรัฐสภาในฐานะ “กฎหมายปฏิรูป” ให้ทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาพิจารณาและลงมติร่วมกัน 
นักโทษการเมือง #ระลอก4 ยังคง “เข้า-ออก เรือนจำ” ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5
อ่าน

นักโทษการเมือง #ระลอก4 ยังคง “เข้า-ออก เรือนจำ” ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5

จนถึงวันที่ 19 สิงหาคม 2565 มีนักกิจกรรมทางการเมืองที่ถูกคุมขังระหว่างการสอบสวนและระหว่างที่คดียังไม่ถึงที่สุดอย่างน้อย 29 คน  นับจากกระแสเรียกร้องทางการเมืองรอบใหม่การคุมขังนักเคลื่อนไหวทางการเมืองเกิดขึ้นเป็นระลอกๆ ตามบรรยากาศการชุมนุมเรียกร้องที่ขยายตัวขึ้นและลง ในช่วงเวลานี้ถือเป็นระลอกที่สี่แล้ว ไล่เรียงมาตั้งแต่ (1) ช่วงเดือนตุลาคม 2563 (2) ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 (3) ช่วงเดือนสิงหาคม 2564  (4) หลังการทยอยปล่อยตัวแกนนำราษฎรเมื่อเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2565 ไม่นานนัก “คำสั่งคุมขัง” ก็กลับมาอ
บลูเบอร์รี่ชีสเค้ก ความสุขของ “คิม-ป่าน” ทะลุฟ้า สองผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำ
อ่าน

บลูเบอร์รี่ชีสเค้ก ความสุขของ “คิม-ป่าน” ทะลุฟ้า สองผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำ

ทสมา หรือ คิม และกตัญญู หรือ ป่าน เป็นสมาชิกกลุ่มทะลุฟ้าที่เป็นผู้หญิงสองคน ที่วันนี้ถูกคุมขังอยู่ในทัณฑสถานหญิงกลางโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 จากคดีชุมนุมและสาดสีหน้าอาคารพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 ซึ่งอัยการตั้งข้อหาฐานมั่วสุมก่อความวุ่นวาย ตามมาตรา 215, 216 และฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยศาลให้เหตุผลว่าการกระทำเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ใช้ความรุนแรงทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงน่าเชื่อว่าหากให้ประกันตัวจะก่อให้เกิดภ
#ปล่อยเพื่อนเรา มีนักโทษการเมือง 30 คนในเรือนจำ
อ่าน

#ปล่อยเพื่อนเรา มีนักโทษการเมือง 30 คนในเรือนจำ

จนถึงวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 มีนักกิจกรรมทางการเมืองที่ถูกคุมขังระหว่างการสอบสวนและระหว่างที่คดียังไม่ถึงที่สุดอย่างน้อย 30 คน นับจากกระแสเรียกร้องทางการเมืองรอบใหม่ หลังการชุมนุมของเยาวชนปลดแอกในปี 2563 การคุมขังนักเคลื่อนไหวทางการเมืองเกิดขึ้นเป็นระลอกๆ ตามบรรยากาศการชุมนุมเรียกร้องที่ขยายตัวขึ้นและลง ครั้งนี้ถือเป็นระลอกที่สี่แล้ว ไล่เรียงมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563, เดือนกุมภาพันธ์ 2564, เดือนสิงหาคม 2564 และเดือนมีนาคม 2565 ในเดือนเมษายน 2565 มีการไต่สวนเพิกถอนสัญญาประกันของผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 ทั้งสิ้น
RECAP: ไล่เรียงสถานการณ์ไต่สวนประกันคดีม.112  สะท้อนแนวโน้มส่งผู้ต้องหาเข้าเรือนจำระหว่างพิจารณาคดี
อ่าน

RECAP: ไล่เรียงสถานการณ์ไต่สวนประกันคดีม.112 สะท้อนแนวโน้มส่งผู้ต้องหาเข้าเรือนจำระหว่างพิจารณาคดี

การยื่นเรื่องขอประกันตัวผู้ต้องหาในบางกรณีนอกจากจะต้องวางหลักทรัพย์เป็นจำนวนเงินแล้ว คำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวอาจพ่วงมาด้วย “เงื่อนไข” ภายใต้สัญญาประกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ต้องหาหลบหนี เช่น เงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร, ห้ามออกนอกเคหสถานภายในเวลาที่กำหนด, การติดอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ (กำไล EM) หรือเงื่อนไขการมารายงานตัวต่อศาลเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ หากผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวไม่ปฏิบัติตามก็อาจถูกเพิกถอนสัญญาประกันได้ โดยในทางปฏิบัติ ศาลมีอำนาจในการออกหมายเรียกให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยมาศาลเพื่อสั่งเพิกถอนการประกันตัวเองไ
ข้อหาละเมิดอำนาจศาลพุ่งตลอดปี 2564 เมื่อศาลถูกลากมายังใจกลางความขัดแย้ง
อ่าน

ข้อหาละเมิดอำนาจศาลพุ่งตลอดปี 2564 เมื่อศาลถูกลากมายังใจกลางความขัดแย้ง

หลังกระแสการชุมนุมทางการเมืองพุ่งขึ้นสูงในปี 2563 พร้อมกับข้อเรียกร้อง “ทะลุเพดาน” การดำเนินคดีเพื่อกดปราบการแสดงออกของประชาชนก็ตามมาอย่างใหญ่หลวง และในปี 2564 คดีความทั้งหลายก็เข้าสู่มือของศาล แม้สถานการณ์โควิดจะทำให้การพิจารณาคดีส่วนใหญ่เลื่อนออกไป จึงยังไม่ปรากฏผลคำพิพากษาให้เห็นมากนักในปีนี้ แต่คำถามที่ศาลต้องเผชิญก่อน คือ คำขอประกันตัวในระหว่างการพิจารณาคดี และการตัดสินใจปฏิเสธสิทธิขั้นพื้นฐานในหลายกรณีก็ทำให้สถาบันตุลาการเข้ามาอยู่ในใจกลางความขัดแย้งแบบเต็มตัว ตลอดปี 2564 มีการจัดการชุมนุมในลักษณะที่เป็นการส่งข้อเรียกร้องต่อศาลโดยตรงจำนวนมาก ทั้งรูปแบบการ
กองทุนราษฎรประสงค์  – เพราะทุกคนต้องเข้าถึงสิทธิในการประกันตัว
อ่าน

กองทุนราษฎรประสงค์ – เพราะทุกคนต้องเข้าถึงสิทธิในการประกันตัว

แม้จะมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ และมีการออกข้อกำหนดห้ามชุมนุมโดยอ้างเหตุการระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 แต่ความไม่พอใจต่อสภาวะเศรษฐกิจและการบริหารประเทศโดยเฉพาะการแก้ปัญหาโควิดและการจัดหาวัคซีนทำให้ผู้คนเลือกที่จะลงสู่ท้องถนนโดยไม่หวั่นเกรงต่อโทษทางอาญาที่อาจตามมา ความเข้มข้นของสถานการณ์ทางการเมืองยังทำให้การวิพากษ์วิจารณ์ที่ครั้งหนึ่งมีเพดานอยู่ที่การพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างตรงไปตรงมาได้ถูกทลายลง ผู้มีอำนาจรัฐที่มุ่งหวังจะดำรงรักษาสถานภาพและความสัมพันธ์ระหว่างคนในช่วงชั้นต่างๆ ให้เหมือนเดิมจึงใช้วิธีกดปราบอย่างหนัก จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีในรัฐบาลประยุทธ์ 2
ความสุขเดียวของเรา ตอนถูกขังคือการที่เราได้หลับและได้ฝัน – ต๋ง ทะลุฟ้า
อ่าน

ความสุขเดียวของเรา ตอนถูกขังคือการที่เราได้หลับและได้ฝัน – ต๋ง ทะลุฟ้า

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 กลุ่มทะลุฟ้า นำโดยไผ่-จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา นัดรวมตัวที่กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติดเพื่อเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่คืนรถเครื่องเสียงที่ถูกยึดในช่วงค่ำวันที่ 1 สิงหาคมหลังคนขับรถเครื่องเสียงคันดังกล่าวถูกสกัดจับหลังไปร่วมการชุมนุมที่กองบังคับการตชด.ภาค 1 เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ชุมนุมกลุ่มคนรุ่นใหม่นนทบุรีที่ถูกควบคุมตัวระหว่างร่วมชุมนุมคาร์ม็อบในช่วงบ่ายวันเดียวกัน  
“ถอนประกัน-ไม่ให้ประกัน” การใช้กระบวนการยุติธรรมสกัดการชุมนุม
อ่าน

“ถอนประกัน-ไม่ให้ประกัน” การใช้กระบวนการยุติธรรมสกัดการชุมนุม

นับตั้งแต่การชุมนุมใหญ่ในเดือนกรกฎาคม 2563 จนถึงเดือนสิงหาคม 2564 รัฐพยายามใช้ยุทธวิธีที่หลากหลายเพื่อสกัดกั้นการชุมนุมที่ค่อยๆ ขยายตัว ไม่ว่าจะเป็นการบังคับใช้กฎหมายที่มีโทษสูงอย่างกว้างขวางเพื่อจะออกหมายจับผู้ต้องหาโดยไม่ออกหมายเรียก รวมถึงการปฏิเสธสิทธิในการประกันตัวของผู้ต้องหาคดีการเมืองที่แม้บางส่วนจะไม่เคยถูกดำเนินคดีมาก่อน  โดยปรากฎการณ์เหล่านี้ กำลังสะท้อนให้เห็น ‘แนวรบด้านกระบวนการยุติธรรม’ ที่กลับมาตึงเครียดอีกครั้ง ซึ่งสามารถลำดับสถานการณ์ได้ ดังนี้ ปี 63 รัฐเร่งรัดออกหมายจับและไม่ให้ประกันตัวผู้ชุมนุม