Browsing Category
มาตรา 112 (หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ)
416 posts
ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี
เยาวชนถูกตั้งข้อหา ม.112 ต้องติดคุกเหมือนผู้ใหญ่ไหม? กระบวนการแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?
พุทธศักราช 2563-2566 นับว่าเป็นช่วงเวลาประวัติศาสตร์ที่มีสถิติการบังคับใช้มาตรา 112 แบบแปลกๆ เกิดขึ้นมากมาย อาทิ จำนวนผู้ถูกตั้งข้อหาในภาพรวมพุ่งสูงเกิน 200 คน, จำนวนคดีต่อคนสูงสุดอยู่ที่ 23 คดี, เกิดคดีการฟ้องทางไกลข้ามจังหวัดระยะทางกว่า 1,800 กิโลเมตร หรือมี “นักร้องหน้าซ้ำ” ที่ไปริเริ่มคดีไว้ที่สถานีตำรวจเดิมด้วยตัวเองมากถึงเก้าครั้ง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม สถิติใหม่หนึ่งที่น่ากังวลใจ คือการนำกฎหมายดังกล่าวมาบังคับใช้กับเด็กและเยาวชนเป็นครั้งแรก โดยจากข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่า ปัจจุบันมีเด็กและเยาวชนที่อายุไม่เกิน 18 ปีถูกดำ
RECAP112: ชวนรู้จักคดีของบอส ฉัตรมงคล ผู้ถูกตั้งข้อหา ม.112 จากการคอมเมนท์บนเพจปกป้องสถาบันฯ
ภายหลังการเกิดขึ้นของม็อบราษฎร 2563 ที่มีการ “ปฏิรูปสถาบัน” เป็นหนึ่งในข้อเรียกร้อง ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่กำหนดโทษการหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาดมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ฯก็ถูกรัฐบาลนำกลับมาใช้เพื่อดำเนินคดีกับประชาชน และไม่เพียงแต่เจ้าหน้าที่รัฐ สถานการณ์ดังกล่าวยังนำมาซึ่งปรากฏการณ์ “โต้กลับ” ทางกฎหมายของฝ่ายอนุรักษ์นิยมปกป้องสถาบันฯ ด้วย
RECAP112: ชวนรู้จักคดี “ปฏิทินเป็ด” ที่ศาลสั่งจำคุกเพราะเชื่อว่าตั้งใจล้อเลียนกษัตริย์
ย้อนกลับไปในเดือนพฤศจิกายน 2563 ช่วงที่รัฐสภากำลังจะมีการพิจารณาเพื่อลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญรวมเจ็ดร่าง กลุ่มผู้ชุมนุมราษฎรได้ประกาศว่า ไปปิดล้อมรัฐสภา ทั้งทางบก ทางน้ำและทางอากาศ โดยไฮไลท์ของการปิดล้อม “ทางน้ำ” คือการ “เดินทัพ” ของกองทัพเป็ดยางเป่าลมสีเหลือง ราว 60 ตัวที่ผู้ชุมนุมขนเตรียมขนไปที่หน้ารัฐสภาเกียกกาย
ศาลอาญา ชี้ถ้อยคำ “…สถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันทางการเมือง…” บิดเบือนข้อเท็จจริงและกฎหมาย ยืนยันปิดเว็บลงชื่อ ยกเลิก112
1 มีนาคม 2566 ศาลอาญามีคำสั่ง ยืนยันคำสั่งระงับการเข้าถึงเว็บไซต์ no.112.org ที่คณะราษฎรยกเลิก 112 (ครย.112) ใช้เป็นช่องทางออนไลน์ในการรวบรวมรายชื่อประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ประสงค์จะเข้าชื่อให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือกฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ โดยให้เหตุผลว่าถ้อยคำที่อธิบายเหตุผลของการยกเลิกว่า “สถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันทางการเมือง” ที่ปรากฎในส่วนเหตุผลของร่างกฎหมายซึ่งอยู่บนเว็บไซต์ เข้าข่ายเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงและกฎหมาย
นิว สิริชัย : หมาย 112 จากการทวงคืน “ภาษี” ด้วย “สีสเปรย์”
ยังจดจำชีวิตหอพักในมหาวิทยาลัยกันได้ไหม นั่งอ่านหนังสือเตรียมสอบข้ามคืน ดูซีรีส์ติดต่อกัน 10 ตอนในคืนวันศุกร์ หรือกินเหล้าเมาหลับไปกับเพื่อนจนตื่นไม่ทันไปเรียน แต่ไม่ว่าจะเป็นความทรงจำแบบไหน สาบานได้เลยว่าคงไม่มีใครมีภาพ “ตำรวจบุกค้นห้องยามวิกาล” รวมอยู่ในความทรงจำสมัยเรียนด้วยหรอกใช่ไหม
ทว่า กลางดึกของวันที่ 13 มกราคม 2564 สิริชัย นาถึง หรือ นิว นักศึกษาจากวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งในเวลานั้นกำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 ถูกตำรวจบุกจับกุมถึงหอพัก ในมาตรา 112 โดยไม่เคยได้รับหมายเรียกมาก่อน
เรื่องราวดังกล่
เปิดคำฟ้องคดี 112 ทำโพลขบวนเสด็จ #ตะวันแบม ถูกตั้งข้อหาแม้ตัวโพลไม่ได้ชี้นำผู้ร่วมทำโพล
นับถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ก็นับเป็นเวลา 27 วันแล้วที่ตะวัน-ทานตะวันและแบม-อรวรรณ ซึ่งอยู่ในความควบคุมของราชทัณฑ์ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม- 6 กุมภาพันธ์ 2566 ประกาศอดอาหารและน้ำจนกว่าข้อเรียกร้องสามข้อได้แก่ การปล่อยตัวผู้ที่ถูกคุมขังจากการแสดงออกทางการเมือง การปฏิรูประบบยุติธรรม และการยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 กับ 116 จะได้รับการตอบรับ ตะวันและแบมยื่นคำร้องขอยกเลิกสัญญาประกันของตัวเองซึ่งส่งผลให้ทั้งสองต้องเข้าเรือนจำเพื่อคัดค้านการคุมขังนักกิจกรรมทางการเมืองหลายๆคน เช่น ใบปอ-ณัฐนิชและเก็ท-โสภณที่กำลังทำกิจกรรมอดนอนอยู่ในเวลานี้ รวมถึงนักกิจกรรมทะลุแก๊ซที่ทยอยได้รับการประกันตัว
ฝ่ายค้านเสนอญัตติด่วน #ตะวันแบม เห็นพ้องเร่งคืนสิทธิประกันตัวและใช้สภาหาทางออก
ฝ่ายค้านเสนอญัตติด่วนด้วยวาจาเพื่อขอให้รัฐสภาพิจารณาสิทธิในการประกันตัวและรวมถึงเรื่องการใช้กฎหมายล้นเกินในกระบวนการยุติธรรมที่ส่งผลกระทบต่อผู้แสดงความคิดเห็น หรือแสดงออกในทางการเมืองเพื่อให้สภาแห่งนี้ได้ร่วมกันพิจารณาหาทางออก
112 ALERT! ชวนเปิดแฟ้มคดี “ป้ายผ้าลำปาง” ก่อนพิพากษา
ย้อนกลับไปในช่วงที่สถานการณ์ COVID-19 กำลังระบาดรุนแรงเมื่อปี 2563 และการเข้าถึงวัคซีนของประชาชนในประเทศยังคงไม่ทั่วถึง ในวันที่ 30 ธันวาคม 2563 เฟซบุ๊กเพจกลุ่มพิราบขาวเพื่อมวลชนก็ได้โพสต์ภาพป้ายผ้าดิบขนาดใหญ่ที่เขียนข้อความด้วยสีดำและแดงว่า “งบสถาบันกษัตริย์>วัคซีนCOVID19” โดยป้ายดังกล่าวถูกแขวนอยู่บนสะพานรัษฎาภิเศก หรือ “สะพานขาว” สถานที่ซึ่งเป็นเสมือนแลนด์มาร์กของจังหวัดลำปาง
ภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือนหลังภาพถูกเผยแพร่ ก็มีประชาชนในจังหวัดลำปางทยอยถูกตรวจค้นที่พัก โดยที่หมายค้นนั้น เดินทางมาถึงก่อน “หมายเรียกคดี” จากนั้น เจ้าหน้าที่ก็ทำการด
RECAP: เกิดอะไรขึ้นกับ “ตะวัน-แบม” ??
เกิดอะไรขึ้นกับ “ตะวัน-แบม” ? เรื่องราวนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร? ทั้งสองคนเป็นใคร? ทำความเข้าใจข้อเรียกร้องของพวกเธอดังต่อไปนี้