เลือกตั้ง66: รู้จักความหมายตัวเลขสำคัญในการเลือกตั้ง 2566

ตัวเลขกับการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่คู่กัน โฉมหน้ารัฐบาลใหม่จะเป็นอย่างไร ใครจะจับมือกับใคร ทิศทางการเมืองจะไปทางไหน อยู่ที่ตัวเลขหลังการเลือกตั้งทั้งสิ้น เราจะชวนทำความรู้จักตัวเลขแต่ละตัว ว่ามีความหมายอย่างไรเพื่อให้เราเข้าใจการเลือกตั้ง 2566 มากยิ่งขึ้น

500 คือจำนวนที่นั่งทั้งหมดในสภาผู้แทนราษฎร แบ่งเป็น ส.ส.เขต 400 ที่นั่ง และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 ที่นั่ง โดยทุกพรรคการเมืองที่ลงสนามเลือกตั้งต้องเข้าไปแย่งชิงคะแนนเสียง ขายนโยบาย ขายอุดมการณ์ ขายผู้สมัคร ส.ส. และขายแคนดิเดตนายกฯ ต่อประชาชน เพื่อให้ได้ ส.ส.เข้าสภาให้มากที่สุด

251 คือจำนวนเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร พรรคการเมืองใดที่ได้ ส.ส.หรือรวบรวมเสียง ส.ส.จากพรรคอื่นๆ ได้เกิน 251 ที่นั่ง จะทำให้มีโอกาสในการจัดตั้งรัฐบาลมากกว่าพรรคอื่น ๆ และตำแหน่งประธานรัฐสภาก็มีโอกาสสูงที่จะอยู่ในเมืองของพรรคแกนนำเสียงข้างมากในสภาผู้แทนฯ

25 คือจำนวนที่นั่ง ส.ส.ขั้นต่ำที่พรรคการเมืองต้องทำให้ได้เพื่อที่จะมีสิทธิในการเสนอชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคให้รัฐสภาเลือกเป็นนายกฯ หากพรรคใดมีที่นั่ง ส.ส.ไม่ถึง 25 ที่นั่ง เท่ากับแคนดิเดตนายกฯ ของพรรคการเมืองนั้นหมดสิทธิเป็นนายกฯ ทันที

250 คือจำนวน ส.ว.แต่งตั้งทั้งหมดที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าที่แคนดิเดตนายกฯ พรรครวมไทยสร้างชาติ และพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ว่าที่แคนดิเดตนายกฯ จากพรรคพลังประชารัฐ แต่งตั้งเข้ามา โดยมีอำนาจสำคัญคือการเลือกนายกฯ ร่วมกับ ส.ส. 500 ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน

750 คือจำนวนสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดที่ประกอบด้วย ส.ส. 500 คน และ ส.ว. 250 คน ซึ่งจะต้องร่วมกันเลือกนายกฯ

376 คือจำนวนเสียงข้างมากของรัฐสภาที่ประกอบไปด้วย ส.ส. และ สว. รวมกัน เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีและจัดตั้งรัฐบาล ดังนั้นพรรคการเมืองใดสามารถดึง ส.ว.ให้เข้ามาร่วมสนับสนุนได้ก็มีโอกาสในการจัดตั้งรัฐบาลสูง แต่ถ้าไม่ได้เสียงสนับสนุนจาก ส.ว. ก็ต้องรวบรวมเสียง ส.ส. ให้ถึง 376 ซึ่งเป็นเรื่องยาก ทำให้ก็อาจจะเลือกนายกฯ ไม่สำเร็จ หรือถ้าตั้งรัฐบาลสำเร็จก็จะได้พรรคร่วมรัฐบาลหลายพรรค

126 คือจำนวน ส.ส. ที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ต้องการเพื่อนำไปรวมกับ ส.ว. 250 คน ซึ่งจะทำให้ได้เสียงในรัฐสภาครบ 376 เสียง นั่นทำให้ทั้งสองคนมีเสียงเพียงพอในการเลือกนายกฯ และจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ แม้จะเป็นเสียงข้างน้อยในสภาผู้แทนราษฎรก็ตาม

You May Also Like
อ่าน

ศาลรธน. ไม่รับคำร้อง ปมรัฐสภาถามเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทำประชามติกี่ครั้ง ทำตอนไหน

17 เมษายน 2567 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเไม่รับคำร้องที่รัฐสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปัญหาอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาว่า รัฐสภาจะมีอำนาจในการพิจารณาแก้รัฐธรรมนูญได้เลยหรือต้องทำประชามติก่อน
อ่าน

เศรษฐาแถลง ประชามติ 3 ครั้งสู่รัฐธรรมนูญใหม่ “ห้ามแตะหมวดทั่วไป-หมวดพระมหากษัตริย์” ย้ำพร้อมแก้ พ.ร.บ.ประชามติ

23 เมษายน 2567 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ระบุว่ารัฐบาลมีความเห็นสอดคล้องกับข้อสรุปของคณะกรรมการประชามติ ที่เห็นว่าควรมีการทำประชามติสู่รัฐธรรมนูญใหม่ทั้งสิ้นสามครั้ง ไม่แตะหมวดทั่วไปและหมวดพระมหากษัตริย์ และเน้นย้ำว่าควรมีการแก้ไข พ.ร.บ. ประชามติ ควบคู่กันไปด้วย