ตรองดูให้ดีก่อนจะมี “กฎหมายอุ้มบุญ”

ช่วงเดือนสิงหาคมของปีที่ผ่านมา ข่าวการรับอุ้มบุญของหญิงไทยรายหนึ่งที่รับอุ้มบุญให้คู่สามีภรรยาชาวออสเตรเลีย แต่ต่อมาเด็กที่เกิดกลับถูกพ่อเเม่ทอดทิ้งเนื่องจากเด็กที่เกิดมามีร่างกายที่ไม่เเข็งเเรง จากนั้นไม่กี่เดือนต่อมาก็ปรากฏข่าวที่หนุ่มชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งจ้างให้หญิงไทยอุ้มบุญทารกจำนวน 9 ราย ปรากฏการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารย์การอุ้มบุญ สังคมจับตามองว่าการอุ้มบุญเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ จนต่อมามีการเสนอร่างกฏหมายเกี่ยวกับการอุ้มบุญเพื่อเเก้ปัญหาการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือ
การอุ้มบุญ หรือที่เรียกตามภาษาการเเพทย์ว่าการตั้งครรภ์เเทนมีอยู่สองประเภท 
ประเภทเเรกคือ ตั้งครรภ์เเทนเเท้หรือ gestational surrogacy  คือการที่ใช้รังไข่เเละเชื้อของคู่สามีภรรยามาผสมกัน เเล้วฝังตัวอ่่อนกลับไปยัง หญิงที่รับตั้งครรภ์เเทน โดยเด็กที่เกิดมาตามวิธีดังกล่าวจะไม่มีพันธุกรรมเกี่ยวข้องกับหญิงที่ตั้งครรภ์เเทนเเต่จะมีพันธุกรรมเหมือคู่สามีภริยาเท่านั้น 
ประเภทที่สองคือ วิธีดั้งเดิม traditional surrogacy คือวิธีที่ใช่ตัวรังไข่หรือน้ำเชื้อของผู้บริจาคโดยตรงทั้งนี้วิธีที่สองเด็กที่เกิดมาจะมีพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้บริจาคด้วย เพื่อคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีเจริญพันธุ์จำเป็นจะต้องออกกฏหมายมาคุ้มครองงเป็นการเฉพาะ เนื่องจากการบังคับใช้เรื่องสิทธิระหว่างบิดามารดาเเละบุตรตามประมวลกฏหมายเเพ่งเเละพาณิชย์นั้นไม่ทันสมัยเเละไม่สอดคล้องกับความก้าวหน้ากับเทคโนโลยีดังกล่าว
ทั้งนี้ตามประมวลเเพ่งเเละพาณิชย์ มาตรา 1546 บัญญัติว่าเด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ซึ่งเมื่อพิจารณาจากวิธีการอุ้มบุญเเล้ว เด็กที่เกิดขึ้นโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยนั้นอาจจะมีรหัสพันธุกรรม (DNA) ที่ไม่สอดคล้องกับหญิงที่คลอดเด็ก ทำให้ความเป็นมารดาในทางข้อเท็จจริงเเละตามกฏหมายไม่สอดคล้องตามความเป็นจริง
เดิมนั้นการอุ้มบุญเเพทย์จะทำตามข้อบังคับของเเพทยสภาฉบับที่ 21 พ.ศ. 2545 ซึ่งกำหนดให้เเพทย์ต้องปฏิบัติเมื่อให้บริการตั้งครรภ์เเทน
1. ใช้ตัวอ่อนที่เกิดจากเซลล์ของคู่สมรสเท่านั้น 
2. ไม่ใช่ลักษณะรับจ้างตั้งครรภ์ 
3. หญิงที่ตั้งครรภ์เเทนต้องเป็นญาติโดยวายเลือดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 
แต่ข้อบังคับนี้ก็มิได้กำหนดสิทธิระหว่างบิดามารดาที่เเท้จริงกับผู้อุ้มบุญเอาไว้เเต่อย่างใด อย่างไรก็ตามมีความพยายามยกร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธ์ ตั้งเเต่ปี 2553 แต่ด้วยความยุ่งยากทางการเมืองก็ทำให้ร่างกฏหมายดังกล่าวตกไป ต่อมาเมื่อมีกระเเสสังคมหันมาสนใจเรื่องการอุ้มบุญเชิงพาณิชย์ในไทยเมื่อต้นปี 2555 ที่ผ่านมา คสช.ก็นำร่างกฏหมายเดิมมาเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติอีกครั้ง
เด็กที่เกิดจากเทคโนโลยีเจริญพันธุ์เกิดได้ด้วยวิธีใดบ้าง
การผสมเทียม คือ นำอสุจิเข้าไปในอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง โดยไม่มีการร่วมเพศการตั้งครรภ์เเทน คือ การตั้งครรภ์โดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยทางการเเพทย์ ทั้งนี้มีการตกลงจากหญิงที่รับตั้งครรภ์เเทนเป็นหนังสือว่าจะให้เด็กที่เกิดขึ้นเ็นบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายของสามีภริยาที่ชอบด้วยกฏหมายนั้นจะเห็นจากการตรากฏหมายว่ากฏหมายฉบับนี้รับรองทั้งการตั้งครรภ์เเทนเเบบดั้เดิมเเล้ะเเบบตั้งครรภ์เเทนเเท้
ก่อนมีลูกต้องตรวจความพร้อม
มาตรา 16 ก่อนจะมีลูกด้วยวิธีการใช้เทคโนโลยีเจริญพันธุ์จะต้องมีการตรวจความพร้อมทางร่างกายเเละจิตใจ สภาพเเวดล้อมของทั้งผู้รับบริจาคเเละผู้ที่จะรับบริจาคอสุจิเเละไข่ก่อน
อาจทำการตรวจวินิจฉัยโลกทางพันธุกรรมได้ก่อน
มาตรา 18 วางหลักว่าผู้ให้บริการทางการเเพทย์อาจทำการตรวจวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมของตัวอ่อนได้เท่าที่จำเป็นเเละสมควร เเต่ห้ามทำในลักษณะของการเลือกเพศของตัวอ่อน
ใครสามารถทำผสมเทียมได้
มาตรา 19 การผสมเทียมต้องกระทำต่อหญิงที่มีสามีโดยชอบด้วยกหมาย
การผสมเทียมโดยใช้อสุจิของผู้บริจาคต้องได้รับความยินยอม
มาตรา 20 การผสมเทียมโดยใช้อสุจิของผู้บริจาคต้องได้รับความยินยอมจากสามีเเละภริยาที่ต้องการผสมเทียม โดยความยินยอมดังกล่าวต้องทำเป็นหนังสือ เเละทำตามวิธีการที่เเพทยสภากำหนด
เงื่อนไขของการตั้งครรภ์เเทน
มาตรา 21 การตั้งครรภ์เเทนอย่างน้อยต้องมีเงื่อนไขดังนี้
1) สามีภริยาต้องไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ เเละต้องมีความพร้อมทั้งด้านจิตใจเเละร่างกายที่จะเป็นบิดามารดาของเด็ก
2) หญิงที่รับต้องไม่ใช่บุพการีหรือผู้สืบสันดานของสามีหรือภริยาโดยชอบ
3) หญิงที่รับตั้ครรภ์เเทนต้องเป็นญาติสืบสายโลหิตของสามีหรือภรืยา กรณีไม่มีก็อาจให้ผู้อื่นตั้งครรภ์เเทนได้
4) หญิงที่ตั้งครรภ์นั้นต้องเคยมีบุตรเเล้วเท่านั้นเเละต้องได้รับความยินยอมจากสามีที่ชอบด้วยกฏหมายของตนหรือคนที่ตนอยู่กิน
ห้ามตั้งครรภ์เเทนเพื่อการค้าโดยเด็ดขาด
มาตรา 23 ห้ามดำเนินการเพื่อให้มีการตั้งครรภ์เพื่อการค้า มีโทษตาม ม๔๓ จำคุกไม่เกินสิบปีเเละปรับไม่เกินสองเเสน
มาตรา 26 ห้ามไม่ให้เป็นคนกลางหรือนายหน้าโดยเรียกรับ หรือรับ ทรัพย์สิน ประโยชน์อื่นใดเพื่อหาหญิงที่จะรับตั้งครรภเเทน
มาตรา 27 ห้ามโฆษณา ไขข่าวให้เเพร่หลายด้วยประการใดเกี่ยวกับผู้ที่ประสงค์จะตั้งครรภ์เเทน หรือ จะเป็นบุคคลที่ประสงค์ให้ผู้อื่นตั้งครรภ์เเทน ไม่ว่าจะทำเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรือไม่ก็ตาม
ความเป็นบิดามารดา
มาตรา 28 เด็กที่เกิดจากรังไข่หรืออสุจิ หรือตัวอ่อนของผู้บริจาคไม่ว่าจะเกิดโดยใช้วิธีใด ให้เด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฏหมายของสามีภริยาที่ประสงค์จะมีบุตร เเม้ว่าทั้งคู่จะตายก่อน เเต่ผู้บริจาคหรือผู้ตั้งครรภ์เเทนไม่มีสิทธิหน้าที่ใดต่อเด็ก
บำบัดภาวะมีบุตรยากของสามีภริย
มาตรา 32 ห้ามสร้างตัวอ่อนเพื่อกิจการใดเว้นเเต่เพื่อใช้บำบัดภาวะมีบุตรยากของสามีภริยาโดยชอบด้วยกฏหมาย
กล่าวโดยสรุป พ.ร.บ.ฉบับนี้นั้นจะบัญญัติเพื่อคุ้มครองเด็กที่เกิดจากเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ เเละเพื่อช่วยคู่สามีภริยาที่มีบุตรยากโดยกำหนดชัดเจนว่าบุตรที่เกิดมาจะเป็นบุตรโดยชอบธรรมตามกฎหมายของสามีภรรยาที่อาศัยเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ในการช่วยเหลือ นอกจากนี้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ กีดกันการตั้งครรภ์เเทนเพื่อประโยชน์ทางการค้าอย่างเด็ดขาดโดยมีการกำหนดโทษทางอาญาไว้อย่างชัดเจน 
ปัญหาที่ยังตกค้างใน พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยี ช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ คือ
1) กฏหมายมีลักษณะปิดกั้นคู่ชีวิตที่เป็นเพศเดียวกัน หรือผู้ที่เป็นโสดไม่สามารถเข้ากระบวนการ 
2) กฎหมายก็ไม่ได้กำหนดอายุหญิงที่จะสามารถตั้งครรภ์เเทนลง
3) มีการออกระเบียบ หรือกำหนดวิธีการขึ้นมาหลังมีคณะกรรมการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีอนามัยเจริญพันธุ์จำนวนมาก ทำให้กฏหมายยังไม่มีความชัดเจนในตัวเองจำเป็นต้องดูระเบียบต่างๆในวาระต่อไปซึ่งส่งผลให้เป็นอุปสรรคเเก่ประชาชนในการค้นหากฏหมาย
อ้างอิง
กฤตยา อาชวนิจกุล.2547.วิทยาการสร้าง"ลูกนอกไส้:ผู้หญิงได้หรือเสีย"ในวาทกรรมการเมืองเรื่องเพศเเละสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ .ศูนย์สตีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผศ ดร สุชาดา ทวีสิทธิ์ .สถานการณ์อุ้มบุญในสังคมไทย 
ไฟล์แนบ