เปิด 5 ร่างปรองดอง 4 ร่างนิรโทษกรรม ฉบับไหน ใครรอด?

(แก้ไขล่าสุด เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2556)

ปัจจุบันมีข้อเสนอ ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองที่ผ่านมา 4 ร่าง โดยเป็นข้อเสนอของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2 ร่างซึ่งเสนอเข้าสู่วาระการประชุมของสภาไปแล้ว และข้อเสนอโดยภาคประชาชน 2 ร่าง ซึ่งยังไม่ได้ถูกบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมอย่างเป็นทางการ อยู่ระหว่างรอดูว่าจะมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหยิบยกขึ้นมาเสนอเข้าวาระการประชุมหรือไม่

ขณะที่ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ 5 ฉบับ ที่ถูกเสนอเข้าสู่วาระการประชุมของสภาไปก่อนหน้านี้แล้ว ก็มีเนื้อหาใจความหลักๆ เกี่ยวข้องกับการนิรโทษกรรมผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองเช่นเดียวกัน

รวมข้อเสนอทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนิรโทษกรรม มีดังนี้

1. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. … เสนอโดย พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคมาตุภูมิ และส.ส.จากพรรคการเมืองต่างๆ หลายพรรค รวม 35 คน

2. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. … เสนอโดย นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย และส.ส.จากพรรคเพื่อไทย รวม 74 คน

3. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. … เสนอโดย นายนิยม วรปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย และส.ส.จากพรรคเพื่อไทย รวม 21 คน

4. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. … เสนอโดย นายสามารถ แก้วมีชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย และส.ส.จากพรรคเพื่อไทย รวม 50 คน

5. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. … เสนอโดย นายเฉลิม อยู่บำรุง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย (ยังไม่ได้บรรจุเข้าในวาระการประชุมของสภา)

6. ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. … เสนอโดย นายวรชัย เหมะ สมาชิสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย และส.ส.จากพรรคเพื่อไทย รวม 40 คน

7. ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. … เสนอโดย นายนิยม วรปัญญ สมาชิสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย และส.ส.จากพรรคเพื่อไทย รวม 23 คน

8. ร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยนิรโทษกรรมและขจัดความขัดแย้ง เสนอโดย คณะนิติราษฎร์ (ไม่ได้เสนอเข้ารัฐสภา)

9. ร่างพ.ร.บ. นิรโทษกรรมแก่ประชาชนซึ่งได้กระทำความผิดอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองภายหลังการยึดอำานาจรัฐโดยคณะปฏิรปปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ พ.ศ. … เสนอโดย กลุ่มญาติผู้เสียหายจากเหตุการณ์ทางการเมือง เมษา – พฤษภา 53(ยังไม่ได้บรรจุเข้าในวาระการประชุมของสภา)

[ดูรายละเอียดร่างทุกฉบับได้ ตามไฟล์แนบ]

 

เดือนสิงหาคม 2556 รัฐสภาจะเปิดสมัยประชุมขึ้นอีกครั้ง คาดหมายได้ว่าประเด็นของกฎหมายที่เกี่ยวกับการนิรโทษกรรมจะต้องถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงอีก ท่ามกลางฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยจำนวนมาก และท่ามกลางนักโทษการเมืองจำนวนมากที่ยังถูกคุมขังและดำเนินคดี

ตารางด้านล่าง แสดงให้เห็นว่าตามข้อเสนอต่างๆ ในปัจจุบัน ใคร และฝ่ายไหน จะได้รับการนิรโทษกรรมบ้าง 

 

 

 A    ขึ้นอยู่กับศาลจะตีความว่า ความผิดตามมาตรา 112 เป็นการแสดงออกทางการเมืองอันเกี่ยวเนื่องการชุมนุมและความขัดแย้งทางการเมืองหรือไม่

 B    ขึ้นอยู่กับศาลจะตีความว่าการเผาตึกเอกชนเป็น "การแสดงออก" อัน "อาจ" กระทบต่อชีวิต ร่างการ อนามัย ทรัพย์สิน อันสืบเนื่องจากการชุมนุมหรือไม่ 

 C    นิรโทษกรรมให้ความผิดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ และกรณีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ความผิดอื่นจะได้รับนิรโทษกรรมต่อเมื่อมีความเกี่ยวเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมือง เท่าที่ไม่ขัดพันธกรณีระหว่างประเทศ

 

*หมายเหตุ* ข้อมูลตามตารางมาจากการตีความร่างตามลายลักษณ์อักษร โดยไอลอว์ ซึ่งอาจจะสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับความตั้งใจของผู้เสนอร่างก็ได้

*หมายเหตุ2* กราฟิกนี้แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2556 เพื่อปรับเนื้อหาให้สอดคล้องตามการปรับแก้ของร่างฉบับญาติฯ