รัฐธรรมนูญในฝัน: การจัดการกับความท้าทายในฐานะอภิมหาสถาบันและรัฐธรรมนูญในฝัน

ทำไมรัฐธรรมนูญจึงสำคัญต่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน
รัฐธรรมนูญในความหมายที่เข้าใจกันคือ สถานะกฎหมายสูงสุดของประเทศในความหมายอีกนัยหนึ่งนั้น รัฐธรรมนูญคือสถาบันของสถาบันของรัฐ(อภิมหาสถาบัน) โดยสถาบันคือกฎกติกาที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งรัฐธรรมนูญในฐานะอภิมหาสถาบันนั้นหมายถึง สถาบันที่ใช้กำหนดกฎกติกาของสถาบันอื่นของรัฐ โดยในรัฐธรรมนูญได้กำหนดโครงสร้างต่างๆของรัฐ โดยหลักๆ แล้วจะแบ่งหมวดหมู่ได้เป็น 3 โครงสร้าง คือ โครงสร้างทางการเมือง โครงสร้างทางการปกครอง และโครงสร้างเศรษฐกิจ การกำหนดโครงสร้างทั้ง 3 ประเภทของรัฐธรรมนูญในฐานะอภิมหาสถาบันนั้น ทำให้รัฐธรรมนูญส่งผลกระทบโดยตรงต่อกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนของรัฐ
ความท้าทายของวันนี้และวันพรุ่งนี้
มีสถานะของรัฐธรรมนูญในฐานะอภิมหาสถาบันที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วนั้น การที่จะออกแบบรัฐธรรมนูญในฝันได้นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจถึงบริบทและความท้าทายของรัฐ ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ความท้าทายในระดับรัฐและความท้าทายในระดับโลก เพื่อที่จะสามารถออกแบบ อภิมหาสถาบันซึ่งกำหนดโครงสร้างต่างๆของสังคมไว้ ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยได้มีการทบทวนความท้าทายและบริบททั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เพราะทั้ง 3 ความท้าทายและบริบทนั้นเชื่อมโยงกันอย่างแนบชิดและส่งผลกระทบถึงกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน เมื่อทบทวนบริบทและความท้าทายทั้ง 3 ด้านแล้วนั้นสามารถสรุปความท้าทายต่างๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคตซึ่งรัฐธรรมนูญจะต้องกำหนดโครงสร้างเพื่อรับมือกับความท้าทายต่อไป โดยจากการทบทวนบริบทและความท้าทายนั้น สรุปได้ดังต่อไปนี้
1.ความท้าทายด้านสิทธิมนุษยชน ปัจจุบันได้มีการอาศัยกระบวนการทางประชาธิปไตยขึ้นสู่อำนาจแห่งรัฐของที่ของผู้ที่ไม่ได้ศรัทธาในหลักการสิทธิมนุษยชน และบางครั้งรวมถึงอุดมการณ์ประชาธิปไตยด้วย ได้ปรากฏให้เห็นหลากหลาย อาทิ ดูตอร์เต้ ประธานาธิบดีแห่งฟิลิปปินส์ โดนัล ทรัมป์ แห่งสหรัฐอเมริกา และในบางประเทศที่ผู้นำไม่ได้ศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย โดยขึ้นสู่อำนาจโดยกระบวนการอื่นจะเปลี่ยนผันตัวเองเข้าสู่ระบบประชาธิปไตยซึ่งไม่เต็มร้อยนักในภายหลัง เช่น การรัฐประหาร กระบวนการตุลาการภิวัฒน์ การขึ้นสู่อำนาจรัฐของผู้นำ ซึ่งไม่ได้ศรัทธาในสิทธิมนุษยชนและระบอบประชาธิปไตยเช่นนั้นทำให้เกิด การปกครองที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนในด้านต่างๆ โดยรัฐทั้งภายในรัฐและภายนอกรัฐดังกล่าว มีเพีงระบบตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจตามหลักการประชาธิปไตยเท่านั้นที่พอจะแก้ไขได้
2 ความเหลื่อมล้ำ ทุนนิยมผูกขาด รัฐบาลของ 1 เปอร์เซ็นต์โดย 1 เปอร์เซ็นต์เพื่อ 1 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาความเหลื่อมล้ำในด้ํานต่างๆนั้น เป็นภาษาเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของรัฐโดยแท้ ปัญหาความเหลื่อมล้ำนั้น มิได้เป็นเพียงปัญหาเศรษฐกิจ หากแต่ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อสังคมและการเมืองของรัฐ โดยหลักๆแล้วความเหลื่อมล้ำ เกิดขึ้นจากการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ อันเกิดจากโครงสร้างทางการเมืองอันบิดเบี้ยว โดยในบางครั้งมาพร้อมกับ อัตราค่าจ้างที่แท้จริงในระดับต่ำด้วยซึ่งปัญหาความเหลื่อมล้ำ ได้ส่งผลกระทบต่อการเมืองผ่านอาชีพที่เรียกว่า นักลอบบี้ ซึ่งแทรกแซงกระบวนการกำหนดนโยบายเพื่อแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องซึ่งความเหลื่อมล้ำนี่เองทำให้เกิดปัญหา สังคมอื่นๆ ตามมามากมาย เช่น ปัญหาอาชญากรรมที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นต้น 
แม้ราคาแห่งความเหลื่อมล้าช่างสูงค่าต่อสังคมโดยรวม แต่ผู้คน 1เปอร์เซ็นต์นั้น หาได้หวาดหวั่นในปัญหาทางสังคม เหตุเพราะทรัพยากรของคนกลุ่มนี้ สามารถให้ความมั่นคง และลอยตัวหนีจากปัญหา ทั้งด้านการเมืองและทางด้านสังคมได้ ปัญหาความเหลื่อมล้ำนี้ จะสามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีการหลักๆ คือ การแก้ไขโครงสร้างทางการเมืองซึ่งทำให้เกิดอัตราค่าเช่าเศรษฐกิจอันเบี้ยว สร้างตาข่ายสังคม เพื่อลดความเสี่ยงในการใช้ชีวิต ของประชาชนผู้อยู่ใน 99 เปอร์เซ็นต์ของสังคม และในบ้างครั้งรวมถึงการปรับปรุง ค่าแรง ตาม อัตราค่าจ้างที่แท้จริง
3 กระบวนการยุติธรรมที่มีความเป็นคน รับประกันสุดท้ายของระบอบประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยในที่นี้จะเน้นไปที่ศาล ด้วยศาลของไทยนั้นแม้จะมีการปรับปรุงและพัฒนาอยู่บ่อยครั้ง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าทั้งตัวศาลและกระบวนการยุติธรรมยังมีปัญหาที่สะสมอยู่ ทั้งปัญหาซึ่งสะท้อนความเหลื่อมล้า จนเกิดเป็นแคมเปญ ไม่มีใครติดคุกเพราะจน หรือปัญหา เรื่องตุลาการภิวัฒน์ ในการจัดการกับความท้าท้าย ทางด้านกระบวนการยุติธรรมนั้น จำเป็นอย่างยิ่ง พี่จะต้องพิจารณาจากศาลรัฐธรรมนูญอันเป็นอำนาจตุลาการที่ใช้ตรวจสอบสถาบันทั้งปวง อีกทั้งยังเป็นหลักประกันสุดท้ายของระบอบประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยศาลรัฐธรรมนูญนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องปรับรูปแบบโครงสร้าง ทั้งที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน โดยต้องยึดหลักความยึดโยงกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยแห่งรัฐ
4 การกระจายอำนาจคือการตัดสินใจให้ชุมชนท้องถิ่น รูปแบบการปกครองของไทยนั้นรวมอำนาจในการจัดทำบริการสาธารณะทั้งหลายไว้ที่ส่วนกลางมากจนเกินไปทำให้บริการสาธารณะ หลายๆอย่างซึ่งได้จัดทำลงไปนั้น บางครั้งไม่ตรงกับความต้องการของท้องถิ่น อีกทั้งไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาซึ่งท้องถิ่นกำลังประสบอยู่เลย 
ประการต่อมา ในรูปแบบองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นของภายในรูปแบบที่เล็กที่สุดนั้นมีหลายประเภทซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะมากน้อยแตกต่างกัน และรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบเช่นว่านั้นก็มีความแตกต่างกันมากจนทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างท้องถิ่นขึ้น ด้วยเหตุนี้ หลายปัญหาของชุมชน และประชาชนในท้องถิ่น จึงไม่สามารถได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที เนื่องด้วยอำนาจหน้าที่และรายได้ซึ่งไม่เพียงพอต่อการจัดการกับปัญหา กรณีที่กล่าวมานี้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับปรุงรูปแบบขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นรวมถึงอำนาจหน้าที่และงบประมาณเพื่อให้ปัญหาของชุมชนได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที และอีกกรณีหนึ่งคือการจัดสรรงบประมาณให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ยิ่งตอกย้ำความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองแต่ละเมืองขึ้นไปอีก โดยมีกรณีตัวอย่างคือ งบประมาณของกรุงเทพฯมหานครนั้นแทบจะเทียบเท่ากับงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ทั่วประเทศ
5. ปัญหาสิ่งแวดล้อมปัญหาใหญ่ของวันพรุ่งนี้ และในกรณีความหลากหลายด้านสิ่งแวดล้อมนั้นจะดูห่างไกลจากรัฐธรรมนูญเป็นอย่างมากแต่ด้วยพลังของรัฐธรรมนูญในฐานะที่เป็นอภิมหาสถาบันนั้นการอาศัยพลังดังกล่าวมาใช้เพื่อวางรากฐานในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ดูจัดไม่ไกลเกินไป โดยรัฐธรรมนูญจะต้องวางโครงสร้างในการจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังทั้งปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก มลภาวะในแม่น้ำลำคลอง ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยรัฐจำเป็นต้องเข้ามาควบคุมดูแลต้นเหตุของปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจัง 
การจัดการกับความท้าทาย ในฐานะอภิมหาสถาบัน และรัฐธรรมนูญในฝัน
ในส่วนนี้นั้นจะแบ่งกันอธิบายออกเป็น 2 ส่วน คือการสร้างรัฐธรรมนูญในฝันอันเป็นเรื่องทางกระบวนการ และการออกแบบเนื้อหาของรัฐธรรมนูญเพื่อจัดการกับความท้าทายในด้านต่ำงๆทั้งนี้ในส่วนหลังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งซึ่งจะต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่าการจัดการความท้าทายโดยอาศัยพลังของรัฐธรรมนูญนั้น ไม่อาจจัดวางลำดับ การแก้ปัญหาเป็นรูปประธรรมชัดเจนได้ไม่เหมือนการกระทำอื่นของรัฐ เช่น การกระทำ ของฝ่ายบริหารหรือการกระทำของฝ่ายนิติบัญญัติ หากแต่จะเป็นการสร้าง วางโครงสร้างอย่างหลวมหลวมเท่านั้นโดยในส่วนเนื้อหาจะมีลักษณะนามธรรม 
ส่วนที่ 1 กระบวนการสร้างรัฐธรรมนูญในฝัน โดยหลักวิชาแล้วรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐนั้น ย่อมไม่มีกฎหมายหรืออำนาจอื่นใดในรัฐซึ่งเหนือกว่า แต่อย่างไรก็ดีสิ่งที่เหนือกว่ารัฐธรรมนูญนั้น ถูกเรียกชื่อว่า “อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ” คือ อำนาจซึ่งใช้ในการสร้างรัฐธรรมนูญเกิดจากฉันทามติของประชำชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยในรัฐ (ในยุคแรกอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญนั้นจะเป็นของชนชั้นที่ 3 โดยแห่คือประชำชนธรรมดำโดยไม่เล่นนับชนชั้นสูงและชนชั้นนักบวช) ดังนั้นกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญมีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องอาศัยฉันทำมติจากประชำชนในรัฐและกระบวนการจัดทำจะต้องมีการยึดโยงกับผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยคือประชาชน โดยตัวอย่างกระบวนการจัดทำ
รัฐธรรมนูญที่มีประสิทธิภาพในระดับหนึ่งนั้นคือกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญของรัฐไทยฉบับ พ.ศ 2540 ผังกระบวนการภาคประชาชนซึ่งทำให้เกิดฉันทามติร่วมกันในรัฐว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่มีความยึดโยงกับประชำชนโดยการผ่านการเลือกตั้งจากประชาชน ของสภาร่างรัฐธรรมนูญแม้จะถูกคัดเลือกเหลือจังหวัดละ 1 คนโดยสภาผู้แทนราษฎรก็ตาม 
แต่อย่างไรก็ดีกระบวนการนี้ นับเป็นจุดยึดโยงกับประชาชนที่สาคัญ จนในที่สุดได้ก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมือง หรือ รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ 2540 นั่นเอง อย่างไรก็ดีการจัดทำรัฐธรรมนูญนั้น กระบวนการอาจไม่ได้เป็นไปตามกรณีตัวอย่าง แต่จำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องยึดหลักการในเรื่องของอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญนั้นต้องเป็นของ ประชำชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยในรัฐเท่านั้น เพราะหากปราศจากหลักการการที่ว่านี้ในขณะร่างรัฐธรรมนูญแล้ว แม้รัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านออกมาจะดีเลิศ ประเภทเพียงใด คงไม่อาจกล่าวได้อย่างเต็มปากว่านี่คือรัฐธรรมนูญฉบับในฝันของผู้เขียน 
ส่วนที่ 2 ในด้านเนื้อหาของรัฐธรรมนูญนั้น ในฐานะรัฐธรรมนูญ เป็นสถาบันกำหนดโครงสร้างทางการเมือง โครงสร้างทางการปกครองและโครงสร้างทางเศรษฐกิจของรัฐ และเพื่อจัดการกับความท้าทายของวันนี้และพรุ่งนี้ รัฐธรรมนูญฉบับในฝันจำเป็นที่จะต้อง ทบทวน วิจัย หาข้อเสนอแนะ และฉันทำมติของปวงชน เพื่อจะต้องมีเนื้อหาดังต่อไปนี้ 
1. โครงสร้างทางเศรษฐกิจของรัฐธรรมนูญในฝัน จะต้องมุ่งเน้นไปที่การทำลายค่ำเช่าทางเศรษฐกิจอันเดียว ซึ่งก่อให้เกิดการผูกขาดหรือค้ากำไรเกินควร อีกครั้งจะต้องสร้างมาตรฐานอัตราค่ำจ้างที่แท้จริงที่สูงในระดับหนึ่ง เพียงพอต่อการดำรงชีวิตด้วยคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมกับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ ในขณะเดียวกันต้องสร้างตาข่ายสังคมหรือสิ่งที่เรียกว่าสวัสดิการขั้นพื้นฐานให้เกิดขึ้นภายในรัฐเพื่อเป็นหลักประกันในสิทธิในการดำรงชีวิตของประชำชนในรัฐ 
2. รัฐธรรมนูญจะต้องรับรองสิทธิ ชุมชน ในความหมายอย่างกว้าง โดยนัยยะของการรับรองสิทธิไว้ในรัฐธรรมนูญนั้นคือการทำให้สิทธินั้นได้ รับการ คุ้มครองเป็นหลักประกันแห่งสิทธิ์ว่าสิทธินั้นจะต้องมีความมั่นคงและแน่นอน การรับรองสิทธิของชุมชนนั้นจะต้องรับรองครอบคลุมไปถึงสิทธิของชุมชนเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจารีตประเพณีและอื่นๆในความหมายเดียวกัน เพื่อให้ชุมชน ได้ใช้สิทธิ์นี้ ในการต่อสู้ ปัญหา ซึ่งรายล้อมเข้ามาทั้งปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และทุนที่ขาดธรรมาธิบาล
3. ต้องรบกวนกระทรวงโครงสร้างระบบการปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยเสียใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ลดความเหลื่อมล้ำทั้งด้านรายได้และอำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทเพื่อให้ปัญหาในชุมชนท้องถิ่นสามารถแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว 
4. ทบทวนโครงสร้างทางการเมือง ผ่าน 3 ตัวแทนการใช้อำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นอำนาจของปวงชนอันได้แก่ อำนาจบริหารอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจตุลาการ โดยการทบทวนเพื่อปรับปรุงนี้นั้น จำเป็นจะต้องพกควรตั้งแต่ที่มา ของบุคลากร โครงสร้างขององค์กร และความสัมพันธ์ ระหว่าง องค์กรที่ใช้อำนาจทั้ง 3 อำนาจนี้ เพื่อให้ตรวจสอบและถ่วงดุลซึ่งกันและกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะ หลักการแบ่งแยกอำนาจและหลักการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจในนั้น นับเป็นหลักการสาคัญซึ่งใช้เพื่อคุ้มครอง สิทธิมนุษยชนของประชาชนทุกคนในรัฐ และองค์กรทั้ง 3 พี่ใช้อำนาจทั้ง 3 องค์กร ต่างมีบทบาทและความสาคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการรับมือกับความดังที่ปรากฏและในวันนี้และที่กำลังจะมาถึงเราในวันพรุ่งนี้ อีกทั้งจะต้องจบ สร้างความสัมพันธ์ระหว่าง องค์กรผู้ใช้อำนาจทั้ง 3 อำนาจให้ยึดโยงกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยให้มากที่สุด 
“Power tends to corrupt and absolute power corrupt absolutely.” 
Lord Acton