บทสัมภาษณ์การใช้กำลังของตำรวจต่อผู้ชุมนุมและผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องใน #ม็อบ7สิงหา
อ่าน

บทสัมภาษณ์การใช้กำลังของตำรวจต่อผู้ชุมนุมและผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องใน #ม็อบ7สิงหา

7 สิงหาคม 2564 เวลา 14.00 น. เยาวชนปลดแอก (Free Youth) นัดหมายชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยมีแผนจะเดินขบวนไปยังพระบรมมหาราชวัง แต่ถูกสลายการชุมนุมก่อนเวลานัดหมายเกือบสองชั่วโมง จากนั้นจึงเปลี่ยนสถานที่นัดหมายเป็นอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและเคลื่อนขบวนไปที่กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ (ราบ1) ต่อมาเมื่อเคลื่อนขบวนไปที่แยกดินแดง ตำรวจปิดเส้นทางไปราบ 1 และเริ่มต้นการสลายการชุมนุมรอบสองด้วยแก๊สน้ำตาและกระสุนยาง ตำรวจค่อยๆผลักผู้ชุมนุมกลับไปที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและเดินหน้าสลายการชุมนุมต่อเนื่อง พบการยิงกระสุนยางใส่ผู้ไม่เกี่ยวข้องและไม่ได้คำนึงถึงหลักของการใช้กำลัง
ความรู้สึกผู้ค้าขายในพื้นที่แยกดินแดง หลังการสลายการชุมนุมต่อเนื่องหลายวัน
อ่าน

ความรู้สึกผู้ค้าขายในพื้นที่แยกดินแดง หลังการสลายการชุมนุมต่อเนื่องหลายวัน

เสียงจากเจ้าของร้านค้าที่อยู่ตามทางถนนราชวิถี ใกล้แยกดินแดงถึงผลกระทบและความรู้สึกต่อเหตุการณ์ในครั้งนี้ พวกเขาเป็นประชาชนคนไทยที่มีสิทธิมีเสียง แม้ไม่ได้ร่วมการชุมนุมด้วย และไม่ได้มีส่วนร่วมกับการปะทะกับตำรวจด้วย แต่ก็เป็นคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องแบกรับผลกระทบจากเหตุการณ์โดยไม่มีทางเลือก
หมดหวัง สูญเสียเพราะรัฐบาลประยุทธ์ เสียงผู้ชุมนุม “มวลชนอิสระ” บน “สมรภูมิดินแดง”
อ่าน

หมดหวัง สูญเสียเพราะรัฐบาลประยุทธ์ เสียงผู้ชุมนุม “มวลชนอิสระ” บน “สมรภูมิดินแดง”

แยกดินแดง กลายเป็นพื้นที่การเผชิญหน้าระหว่างตำรวจและผู้ชุมนุมบ่อยครั้ง เฉพาะในเดือนสิงหาคม 2564 มีการเผชิญหน้าและตามมาด้วยการใช้กำลังสลายการชุมนุมของตำรวจแล้วอย่างน้อยสิบครั้ง แทบทุกครั้งเป็นการเผชิญหน้าจาก “มวลชนอิสระ”
“สมรภูมิดินแดง” เมื่อเด็กมาทวงคืนชีวิตด้วยการเผชิญหน้า
อ่าน

“สมรภูมิดินแดง” เมื่อเด็กมาทวงคืนชีวิตด้วยการเผชิญหน้า

แม้รูปแบบของการเคลื่อนไหวที่แยกดินแดง ผู้ชุมนุมไม่ได้ใช้เครื่องเสียง ไม่ได้ใช้ป้ายผ้า จึงไม่มีการสื่อสารถึง “ข้อเรียกร้อง” อย่างเป็นรูปธรรม แต่เมื่อได้ “ฟัง” พวกเขาบางคนก็พบว่า “สมรภูมิดินแดง” กลายเป็นพื้นที่ให้พวกเขาได้ระบายออกซึ่งความอัดอั้นจาผลกระทบที่กำลังเกิดขึ้นในวัยที่ควรจะมีโอกาสได้เรียนรู้และเติบโต และความรู้สึกสำคัญที่มีร่วมกัน คือ พวกเขาไม่วางใจในตัวพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาอีกต่อไป
แก๊สน้ำตาไม่เลือกเป้าหมาย ถอดเหตุการณ์ความรุนแรง #ม็อบ18กรกฎา
อ่าน

แก๊สน้ำตาไม่เลือกเป้าหมาย ถอดเหตุการณ์ความรุนแรง #ม็อบ18กรกฎา

ถอดเหตุการณ์ความรุนแรง การชุมนุมวันที่ 18 กรกฎาคม 2564 ผู้ชุมนุมเดินจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปยังทำเนียบรัฐบาล
ชุมนุม 64 : ความท้าทายและความจำเป็นภายใต้โควิด19
อ่าน

ชุมนุม 64 : ความท้าทายและความจำเป็นภายใต้โควิด19

นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 18 กรกฎาคม 2564 แม้ประเทศไทยจะอยู่ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด19 อย่างต่อเนื่อง และมีประกาศห้ามทำกิจกรรมรวมตัวหลายฉบับใช้ซ้ำซ้อนกันเปลี่ยนแปลงไปมา แต่กระแสความไม่พอใจต่อรัฐบาลชุดปัจจุบันก็ยังทำให้มีการชุมนุมเกิดขึ้นทั่วประเทศแล้วไม่น้อยกว่า 766 ครั้ง 
ที่เอกชน ที่ทำงาน, บ้าน, ที่พัก จัดกิจกรรมได้ ไม่อยู่ใต้ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ
อ่าน

ที่เอกชน ที่ทำงาน, บ้าน, ที่พัก จัดกิจกรรมได้ ไม่อยู่ใต้ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ

ที่เอกชนหรือที่ดินของเอกชนไม่มีลักษณะเป็นที่สาธารณะ ถ้าหากจัดกิจกรรมรวมตัวกันแสดงออกในที่ดินของเอกชน จะไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของพ.ร.บ.ชุมนุมฯ แต่อยู่ใต้อำนาจของเจ้าของที่ดินนั้นๆ ว่า อนุญาตให้ใช้พื้นที่รวมตัวกันได้หรือไม่
ตร.เตือนสหภาพนักเรียนนักศึกษาฯ ระวังขัด พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ทั้งที่ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ไม่ใช้กับพื้นที่สถานศึกษา
อ่าน

ตร.เตือนสหภาพนักเรียนนักศึกษาฯ ระวังขัด พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ทั้งที่ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ไม่ใช้กับพื้นที่สถานศึกษา

ตำรวจขอให้นักศึกษา มธ.ที่จัดการชุมนุมในมหาวิทยาลัยคำนึงถึง พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ทั้งที่พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่ใช้บังคับกับการชุมนุมในสถานศึกษา
เปิดใจผู้จัดหน้าใหม่ “วิ่งไล่ลุงเชียงราย” ให้ความร่วมมือแค่ไหนก็โดนคดี (และยังสู้ต่อ)
อ่าน

เปิดใจผู้จัดหน้าใหม่ “วิ่งไล่ลุงเชียงราย” ให้ความร่วมมือแค่ไหนก็โดนคดี (และยังสู้ต่อ)

ตำรวจเจรจาให้ทางผู้จัดวิ่งไล่ลุงยอมจ่ายค่าปรับและจบเรื่องแบบเงียบๆ แต่ผู้จัดบางส่วนตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม โดยหวังว่าคดีของตัวเองจะช่วยวางบรรทัดฐานให้กับการใช้เสรีภาพของประชาชนและขอบเขตการใช้ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ต่อไป