อ่าน

4 เรื่องต้องรู้ ก่อน สนช. เห็นชอบ กกต. ชุดใหม่ (ครั้งที่สอง)

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นัดประชุมให้ความเห็นชอบผู้ที่จะเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ หลัง กกต. ชุดเก่าถูกเซ็ตซีโร่ หรือถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2560 แต่ตลอดกระบวนการสรรหา คสช. พยายามเข้ามามีบทบาทกับองค์กรอิสระ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมอยู่หลายครั้ง
อ่าน

ม.44 ทำพรรคเก่าสมาชิกลดฮวบ พรรคกลาง-เล็ก-ใหม่ ไม่ง่ายหาสมาชิกเพื่อลงเลือกตั้ง

หลังสิ้นสุดการกำหนดให้สมาชิกพรรคการเมืองเดิมยืนยันความเป็นสมาชิกต่อหัวหน้าพรรคการเมืองแต่ละพรรคภายพรรคการเมืองที่เคยมีอดีต ส.ส. ปรากฎว่า ทุกพรรคการเมืองต่างมีสมาชิกมายืนยันความเป็นสมาชิกน้อยกว่ายอดจำนวนสมาชิกเดิมอย่างมาก และในการเลือกตั้งพรรคการเมืองแต่ละพรรคต้องหาสมาชิกให้เพียงพอสำหรับการทำไพรมารี่โหวตด้วย
อ่าน

สนช. ออกกฎหมายพลาดไม่เป็นไร ใช้ ม.44 แก้ตัวได้เสมอ

สนช. เป็นสภาที่ออกกฎหมายกันอย่างรวดเร็วโดยไม่มีฝ่ายค้าน มีกฎหมายอย่างน้อยสองฉบับ คือ พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ.2558 และ พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำฯ พ.ศ.2560 ที่เมื่อออกมาแล้วมีเสียงค้านมากมาย แต่ไม่เป็นไร เพราะ คสช. ใช้ 'มาตรา44' แก้ไขให้ภายหลังได้
Shadow of Section 44
อ่าน

“มาตรา 44” ไม่โดดเดี่ยว : เผด็จการในอดีตมีทั้งมาตรา 17, 21, 27 ส่วนใหญ่ใช้อำนาจแทนศาล

ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ไม่ได้มีแค่ "มาตรา44" ของ คสช. เท่านั้นที่เป็นอำนาจเบ็ดเสร็จ ยังมี "มาตรา17" ของจอมพลสฤษดิ์ จอมพลถนอม มี "มาตรา 27" ของพลเอกเกรียงศักดิ์ และอื่นๆ อีก แต่การใช้อำนาจนี้ส่วนใหญ่ในอดีตจะเป็นการตัดสินลงโทษบุคคล ต่างกับ คสช. ที่ใช้ออกกฎหมายและโยกย้ายตำแหน่ง
Migrant Workers
อ่าน

ลัดขั้นตอนรีบออก พ.ร.ก.การทำงานคนต่างด้าวฯ สุดท้ายต้องใช้ม.44 มา “ปะผุ”

กลายเป็นบทเรียนครั้งใหญ่ใหญ่ที่ส่อจะซ้ำเติมปัญหาเศรษฐกิจ เมื่อคณะรัฐมนตรีลัดขั้นตอนออกกฎหมายเป็นพระราชกำหนด มาสร้างระบบควบคุมแรงงานต่างชาติเสียใหม่ เพิ่มโทษผู้ฝ่าฝืนขึ้นหลายเท่า พอแรงงานกลัวหนีกลับบ้านกัน สุดท้ายต้องใช้ ม.44 มาแก้ขัดไปก่อน