referendum
อ่าน

สภาคว่ำข้อเสนอ สส. ฝ่านค้าน ขอให้ทำประชามติเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ

25 ตุลาคม 2566 สภาผู้แทนราษฎรคว่ำญัตติสนอให้จัดทำประชามติเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ซึ่งเสนอโดยสส. พรรคฝ่ายค้าน โดยที่ญัตติเรื่องนี้ก็เคยเสนอมาในสภาชุดก่อนและผ่านสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว
Pheu Thai's position on rewriting the constitution
อ่าน

เช็คจุดยืนเพื่อไทย เขียนรัฐธรรมนูญใหม่

แม้ว่าการร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะเป็นวาระสำคัญ แต่จะร่างอย่างไร และหน้าตาของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) จะเป็นแบบใดยังคงไม่มีความชัดเจน ย้อนดูคำพูดของพรรคเพื่อไทยในประเด็นที่เกี่ยวกับจุดยืนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่
get to know referendum-research comittee
อ่าน

ทำความรู้จัก 34 กรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติ ภายใต้รัฐบาลเศรษฐา

เส้นทางประชามติเพื่อนำไปสู่การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ เริ่มคืบหน้าอยู่บ้าง เมื่อ 3 ตุลาคม 2566 นายกฯ มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติ มีกรรมการ 34 คน ชวนทำความรู้จักกับกรรมการชุดนี้
Government spoke-person denied delaying new constitution
อ่าน

“ไม่ได้ดึงเวลา” ย้อนฟังคำโฆษกสำนักนายก ทำไมต้องตั้งคณะกรรมการฯ ประเด็น รธน. ซ้ำซ้อน

ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ตอบคำถามนักข่าวถามว่า เพราะเหตุใดรัฐบาลจึงเลือกที่จะตั้ง “คณะกรรมการศึกษาการทำประชามติ” หลังจาก “กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ” ส่งการเข้าชื่อแคมเปญ #conforall จำนวน 200,000 กว่ารายชื่อได้ตามกระบวนการแล้ว ทั้งยังเคยมีการตั้งคณะกรรมการศึกษาฯ ลักษณะเดียวกันมาแล้วบ่อยครั้งจากหลายฝ่ายในอดีต
conforall_icon03
อ่าน

ทีม #CONFORALL ยื่นหนังสือต่อพรรคเพื่อไทยให้รับคำถามประชาชนสู่ครม.

#CONFORALL นำรายชื่อเสนอคำถามประชามติของประชาชนยื่นต่อพรรคเพื่อไทย แกนนำจัดตั้งรัฐบาล ขอให้พิจารณาโดยไม่คำนึงขั้นตอนทางธุรการของกกต.
referendum petition can't do online
อ่าน

กกต. เพิ่งบอก เข้าชื่อออนไลน์ไม่ได้ 4 หมื่นชื่อตกน้ำทันที ขอประชาชนเร่งระดมเซ็นในกระดาษ

22 สิงหาคม 2566 รองเลขธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้คำตอบตัวแทนกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญว่า ไม่สามารถใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ในการเข้าชื่อเสนอคำถามตาม พ.ร.ป.ประชามติฯ ทำให้มากกว่า 4 หมื่นชื่ออาจไม่ถูกนับ   จากข้อจำกัดดังกล่าว ประชาชนไทยผู้มีสิทธิเลือกตั้งเหลือเวลาอีก 3 วัน ในการเข้าชื่อในกระดาษ ขอให้ทุกคนตามหาจุดลงชื่อจากเว็บไซต์ conforall.com ส่งรายชื่อให้ทัน และช่วยกันบอกต่อ จนกว่าเราจะได้รายชื่อแบบกระดาษทะลุ 50,000 รายชื่ออีกครั้ง
constituent assembly model
อ่าน

สำรวจจักรวาล สสร. พรรคไหนเคยเสนอที่มาไว้อย่างไรบ้าง

รูปแบบของสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. ที่เคยมีการพยายามนำเสนอเข้าสู่รัฐสภามาหลังการเลือกตั้งในปี 2562 มีทั้งสิ้นสี่รูปแบบ คือ สสร.ฉบับพรรคเพื่อไทย, สสร.ฉบับที่นำโดยพรรคพลังประชารัฐ, สสร.ฉบับพรรคไทยสร้างไทยที่ใช้วิธีรวบรวมรายชื่อประชาชนเสนอร่างรัฐธรรมนูญ และ สสร.ฉบับสงวนคำแปรญัตติของ ส.ส.จำนวนหนึ่ง ในช่วงพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญของ คณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หรือ กมธ.แก้รัฐธรรมนูญฯ     ข้อเสนอการตั้ง สสร. มักอยู่ที่วิธีการได้มา โดยแบ่งออกคร่าวๆ ได้สี่รูปแบบ คือ เลือกตั้งแบบมีจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง เลือกตั้งแบบมีประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง เลือกตั้งผสมกับการแต่งตั้ง และแต่งตั้งทั้งหมด ซึ่งรูปแบบทั้งหมดนี้จะมีความสำคัญมากขึ้นเมื่อสังคมไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ในปี 2567 ที่กำลังมาถึง
Writing new constitution is not a treason
อ่าน

เขียนใหม่ไม่ใช่ล้มล้าง! ตอบคำถาม เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ “ไม่ใช่วิธีล้มล้างการปกครอง”

ข้อถกเถียงว่า “จะเขียนรัฐธรรมนูญใหม่อย่างไรดี” นั้นถูกแบ่งออกเป็นสองความคิดเห็นใหญ่ๆ คือ กลุ่มที่สนับสนุนการเขียนใหม่ทั้งฉบับ ต้องแก้ไขได้ในทุกหมวดทุกมาตรา และกลุ่มที่สนับสนุนให้ละเว้นการเขียนใหม่หรือการแก้ไขในรัฐธรรมนูญหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ไว้ดังเดิม คำกล่าวอ้างสำคัญ คือ กังวลว่าจะเกิดความพยายามในการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองของรัฐไทย ทั้งจากการเป็นรัฐเดี่ยวอันแบ่งแยกมิได้ และการธำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อย่างไรก็ตาม การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดช่องให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นอยู่ภายใต้ มาตรา 255 ซึ่งขวางการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองไว้แล้ว รวมทั้งในอดีตรัฐธรรมนูญทั้งหมวด 1 และหมวด 2 ยังเคยถูกแก้ไขตาม “ข้อสังเกตพระราชทาน” หลังผ่านการทำประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญมาแล้วอีกด้วย
Thailand never have Constituent Assembly elections.
อ่าน

ประเทศไทยเคยมี สสร. สี่ชุด แต่ไม่เคยมีครั้งไหนที่ประชาชนเลือกตั้งมาโดยตรง

ตลอดระยะเวลากว่า 91 ปีในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 20 ฉบับ แต่กลับมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. เพียงสี่ครั้งเท่านั้น    ในจำนวนสี่ครั้ง มี สสร. จำนวนสองครั้งที่ถูกเลือกตั้งโดยสมาชิกรัฐสภา ขณะที่จำนวนอีกสองครั้งนั้นมาจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร ทำให้ไม่เคยมีการเลือกตั้ง สสร. เป็นการทั่วไปโดยประชาชนเลยแม้แต่ครั้งเดียว
People referendum
อ่าน

“เขียนใหม่ทั้งฉบับ เลือกตั้ง 100%” คำถามประชามติโดยประชาชน กระดุมเม็ดแรกสู่การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่

13 สิงหาคม 2566 เวลา 15.15 น. บริเวณลานหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบด้วยหลายองค์กรที่ผลักดันประเด็นเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ จัดเวทีแถลงการณ์เปิดแคมเปญ  “เขียนใหม่ทั้งฉบับ เลือกตั้ง 100%” เชิญชวนประชาชนเข้าชื่อเพื่อเสนอคำถามสำหรับการทำประชามติต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น