the role of the National Strategic Plan Committee under NCPO
อ่าน

เช็คเกียรติประวัติ กรรมการยุทธศาสตร์ชาติ หลังรัฐประหารทำอะไรบ้าง?

วันที่ยุทธศาสตร์ คสช. บังคับใช้ มีกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ จำนวน 29 คน เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง  17 คน และเป็นกรรมการที่รัฐบาล คสช. แต่งตั้ง 12 คน จากการสำรวจพบว่า นับตั้งแต่ คสช. เข้ามาบริหารประเทศ กรรรมการยุทธศาสตร์ชาติส่วนใหญ่เคยผ่านการทำงานสนับสนุนรับใช้ คสช. มาด้วยตำแหน่งต่าง ดังนี้
Court's Allowance
อ่าน

ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม: แก้ไขกฎหมายชัดขึ้นให้ “ผู้พิพากษาบริหาร” กำหนดเบี้ยประชุม

วันที่ 25 ตุลาคม 2561 ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ….) ด้วยคะแนนเห็นชอบ 181 เสียง ไม่เห็นชอบ 0 เสียง เหตุผลของการเสนอ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ คือ การเพิ่มอำนาจหน้าที่ให้คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) ให้สามารถออกระเบียบกำหนดเบี้ยประชุมสำหรับข้าราชการตุลาการซึ่งเข้าร่วมการประชุมใหญ่ในศาลชั้นอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 193 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติให้ศาลยุติธรรมมีระบบเงินเดือนและค่าตอบแทนเป็นการเฉพาะตามความเหมาะสม
-รัฐวิสาหกิจ
อ่าน

ร่าง พ.ร.บ.พัฒนารัฐวิสาหกิจฯ เสนอปฎิรูปเชิงองค์กร นำรัฐวิสาหกิจเข้าสู่บรรษัท

วันที่ 1 ก.ย. 2560 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ  รับหลักการร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ โดยจะมีการนำรัฐวิสาหกิจเข้ามาอยู่รวมกันภายใต้บรรษัทวิสาหกิจ ซึ่งจะมีรัฐวิสาหกิจจำนวน 11 แห่ง รวมทั้งมีการจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ 
อ่าน

สนช. แก้ที่มาคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ผู้พิพากษาเลือกกันเองหมด เลิกระบบ ส.ว. ช่วยเลือก

การยื่นถอดถอน ชำนาญ รวิวรรณพงษ์ “กรรมการตุลาการศาลยุติธรรม” ทำให้สังคมได้รู้จักชื่อของ "คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม"  หรือ ก.ต. มากขึ้น ก.ต. เป็นหนึ่งในสามองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่บริหารงานของศาลยุติธรรม และ สนช. กำลังพิจารณาแก้ไขที่มาของ ก.ต. ซึ่งจะทำให้ผู้พิพากษาเป็นผู้เลือกเองทั้งหมด
อ่าน

ผลงานสภาปฏิรูป? เสนอร่างพ.ร.บ. 105 ฉบับ สี่ปีผ่านเป็นกฎหมายได้จริง 6 ฉบับ

สภาปฏิรูปทั้งสองแห่ง ใช้งบประมาณไปกว่าพันเจ็ดร้อยล้านบาท ผลิตข้อเสนอมากว่าพันข้อ โดยเป็นการเสนอร่างพ.ร.บ. อย่างน้อย 105 ฉบับ แต่ตลอดสี่ปีในการออกกฎหมายอย่างรวดเร็วของ สนช. ก็หยิบข้อเสนอเหล่านี้มาผ่านเป็นกฎหมายไปแล้วเพียง 6 ฉบับเท่านั้น
อ่าน

สี่ปี สนช.: ผ่านกฎหมายแปดฉบับอนุมัติงบประมาณ 14 ล้านล้านบาท ให้ คสช.

สนช. เห็นชอบ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ รวมแล้วสี่ฉบับ และร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ ฉบับที่ห้า กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณานอกจากนี้ สนช. ยังมีมติเห็นชอบ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำฯ รวมทั้งหมดสามฉบับด้วยกัน ตลอดสี่ปี สนช. ไฟเขียวงบประมาณให้ คสช. เป็นวงเงินทั้งสิ้น 14 ล้านล้านบาท โดยอนุมัติผ่านกฎหมายจำนวนแปดฉบับ
อ่าน

สี่ปี สนช.: เลือก 60 คนนั่ง 13 องค์กรตรวจสอบ ช่วย คสช. ยึดประเทศอย่างช้าๆ

สมาชิก สนช. มาจากการแต่งตั้งโดย คสช. ดังนั้นจึงเป็นตัวแทนของฝ่ายบริหารที่มาทำหน้าที่คัดเลือกคนเข้าไปอยู่ในองค์กรอิสระที่ควรจะต้องทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจของ คสช. สี่ปีที่ผ่านมา สนช. ได้ลงมติเห็นชอบเพื่อคัดเลือกคนที่ คสช. ไว้ใจเข้าไปดำรงตำแหน่งสำคัญๆ 60 ตำแหน่ง
อ่าน

สี่ปี สนช.: “เตะถ่วง” ไม่ผ่านยืดเวลากฎหมายกระทบนายทุนและตัวเอง

ลักษณะที่โดดเด่นของ สนช. คือเป็นเครื่องจักรผลิตกฎหมายจำนวนมากให้กับ คสช. ภายในระยะเวลาสี่ปีที่ผ่านมา สนช. เห็นชอบกฎหมายไปแล้วไม่ต่ำกว่า 298 ฉบับ จนเป็นผลงานที่ภาคภูมิใจของบรรดาสมาชิก สนช. และรัฐบาล คสช. ซึ่งตลอดระยะเวลาการทำงานของ สนช. ยังไม่พบว่ามีร่างกฎหมายฉบับใดที่จะถูกปัดตกไป
Screenshot (44)
อ่าน

สี่ปี สนช.: “สภาตามสั่ง” ผ่านกฎหมายเพิ่มอำนาจ-ปูทาง คสช. อยู่ยาว

สนช. เป็นสภาที่มาจากการแต่งตั้งของ คสช. หน้าที่สำคัญคือ การออกกฎหมายให้กับรัฐบาล คสช. สี่ปีที่ผ่าน สนช. เห็นชอบกฎหมายไปแล้วอย่างน้อย 298 ฉบับ ซึ่งกฎหมายจำนวนหนึ่งมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ คสช. ใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาอำนาจทางการเมือง
Protect International Organizations
อ่าน

ร่างพ.ร.บ.เอกสิทธิ์และความคุ้มกันองค์การระหว่างประเทศฯ: องค์การระหว่างประเทศห้ามกระทบความมั่นคง และแทรกแซงกิจการภายใน

สนช. รับหลักการร่าง พ.ร.บ.เอกสิทธิ์และความคุ้มกันสำหรับองค์การระหว่างประเทศฯ ซึ่งจะกำหนดเอกสิทธิ์และความคุ้มกันอย่างเป็นทางการให้กับองค์การระหว่างประเทศที่จะมาตั้งสำนักงานในไทย และบุคลากรของหน่วยงานดังกล่าว รวมถึงการประชุม และผู้เข้าร่วมการประชุมประหว่างประเทศด้วย