approval independent organization and public servant
อ่าน

8 ปี คสช. สภาแต่งตั้งเลือกสรรคนไปเป็น “องค์กรตรวจสอบ”

ยุคคสช. สภาที่มาจากประชาชนก็กลายเป็นสภาแต่งตั้ง หลังปี 2562 มีสภาผู้แทนราษฎร แต่วุฒิสภา ที่ให้ความเห็นชอบบุคคลมาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระและหน่วยงานของรัฐ มีที่มาไม่ยึดโยงกับประชาชน โครงสร้างที่เป็นมากว่าแปดปี ทำให้บุคคลที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรสำคัญล้วนต้องผ่านตะแกรงคัดกรองจากสภาแต่งตั้ง
The role of the Senate in expanding Royal prerogative
อ่าน

7 ปี แห่งความถดถอย : “สภาแต่งตั้ง” เล่นใหญ่เพื่อปกป้องพระมหากษัตริย์ และขยายพระราชอำนาจ

ทบทวนบทบาทของ สนช. ที่แก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายหลายครั้งอย่างลับๆ เกี่ยวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ เมื่อถึงยุคของ ส.ว. ก็ยังตั้งกมธ.พิทักษ์สถาบันฯ รวมทั้งขวางการ #แก้รัฐธรรมนูญ หมวดพระมหากษัตริย์ และอีก 38 มาตรา 
(ไข่มุก)-สนช-Thumbnail
อ่าน

9 เหตุผลที่ สนช. ควรหยุดพิจารณากฎหมายได้แล้ว

เหลือเวลาอีก 24 วัน จะถึงวันเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม 2562 แต่ทว่า สนช. สภาแต่งตั้งของ คสช. ยังคงปฏิบัติหน้าที่อย่างแข็งขันในการเห็นชอบกฎหมาย ในขณะที่ภาคประชาชนเรียกร้องให้ สนช. ยุติการพิจารณากฎหมายเพื่อรอให้มีสภาที่มาจากการเลือกตั้ง รวมถึงรอให้บรรยากาศทางกาศเมืองอยู่ในสภาวะปกติเสียก่อน
People Go Statement
อ่าน

แถลงการณ์เครือข่าย People GO เรียกร้องให้ สนช. ยุติการพิจารณาร่างกฎหมายทุกฉบับ

เครือข่าย People Go ออกแถลงการณ์ จากการที่ช่วงโค้งสุดท้ายของ สนช. กฎหมายผ่านรวดเร็วมาก ชี้การพิจารณากฎหมายที่รวดเร็วและเร่งรีบเช่นนี้ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเมื่อเทียบกับกระบวนการนิติบัญญัติในสภาวะปกติ ขอหยุดพิจารณาทันที รอรัฐบาลเลือกตั้ง
Rice Act
อ่าน

ร่าง พ.ร.บ.ข้าว: เพิ่มอำนาจหน้าที่กรมการข้าว ให้สามารถควบคุม และรับรองการจำหน่ายเมล็ดข้าวของชาวนา

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เตรียมเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติข้าว ท่ามกลางเสียงค้านประชาชนที่กังวลว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้ มีเนื้อหาให้อำนาจหน้าที่เจ้าหน้าที่รัฐในการควบคุม และบังคับใช้กฎหมายมากเกินไป กลับกลายเป็นชาวนา โรงสี และผู้ส่งออกข้าวที่ได้รับผลกระทบแทน อีกทั้งยังอาจจะกระทบกับวิถีชีวิต และพันธุ์ข้าวดั้งเดิมของไทยด้วย
-คมั่นคง-edit-thumbnail
อ่าน

ร่าง พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ฯ 62: เปิดช่องเจ้าหน้าที่รัฐ “สอดส่อง” คนเห็นต่างได้

26 กุมภาพันธ์ 2562 นี้ ร่าง พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ฯ ถูกบรรจุอยู่ในวาระการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อีกครั้ง แต่ครั้งนี้เป็นการพิจารณาในวาระ 2 และ 3 หาก สนช. เห็นชอบในวาระดังกล่าวกฎหมายฉบับนี้จะถูกประกาศใช้เป็นกฎหมาย แม้ร่างฉบับนี้จะถูกปรับแก้ไปแล้วหลายต่อหลายรอบ แต่ก็ยังคงมีปัญหาที่เสี่ยงจะถูกนำมาใช้ละเมิดสิทธิของประชาชนอยู่เหมือนเดิม
NLA Watch
อ่าน

กฎหมายคุ้มครองสิทธิ ทำไมต้องรีบผ่านในช่วงโค้งสุดท้ายของ สนช.

ช่วงโค้งสุดท้าย ก่อนที่ สนช. จะหมดอายุไปภายหลังการเลือกตั้ง มีกฎหมายที่เป็นประโยชน์กับประชาชนถูกเสนอหรือเตรียมที่จะเสนอเข้าสู่การพิจารณาจำนวนไม่น้อย ตัวอย่างเช่น ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต ร่างพ.ร.บ.ป้องกันการทรมานฯ วิเคราะห์เหตุจูงใจทางการเมืองทำไมถึงมากันเยอะในช่วงนี้  
General Income
อ่าน

สนช. เตรียมพิจารณา ขึ้นเงินเดือนทหารยศ “พลเอก” เทียบเท่า “พลเอกพิเศษ”

สนช. พิจารณาแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร ในประเด็นยกเลิกอัตราเงินเดือนข้าราชการทหารของนายทหารยศจอมพล แก้ไขเป็นให้นายทหารยศพลเอกพิเศษ และให้นายทหารยศพลเอก ได้รับเงินเดือนเท่ากับนายทหารยศพลเอกพิเศษ ซึ่งจะได้รับเงินเดือน ต่ำสุดอยู่ที่ 56,117 และสูงสุดอยู่ที่ 76,604 บาท
Eazy to amend NCPO law
อ่าน

อภินิหารยุคทหาร แก้กฎหมายง่ายๆ สไตล์ คสช.

ในยุค คสช. กระบวนการออกกฎหมายที่ไร้การตรวจสอบ ส่งผลให้กฎหมายจำนวนหนึ่งผ่านไปแล้วต้องมีการกลับมาแก้ไขใหม่ โดยอาศัยอำนาจ ม. 44 ในการออกคำสั่งหัวหน้า คสช. หรือการส่งต่อให้ สนช. แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายต่างๆ ที่ผ่านมามีอย่างน้อย 6 ครั้งที่ คสช. และ สนช. พยายามแก้ไขกฎหมายที่ตัวเองออก