NLA seminar
อ่าน

เวที สนช.ยัน ห้ามใช้ พ.ร.บ.คอมฯ ฟ้องหมิ่นประมาท แต่ยืนกราน “ข้อมูลเท็จ” ยังเป็นความผิด

เวทีรับฟังความคิดเห็นร่างพ.ร.บ.คอมฯ ที่รัฐสภาคึกคัก ผู้เข้าร่วมส่งข้อกังวล ม. 14 ใช้ปิดปาก ห้ามวิจารณ์-ห้ามตรวจสอบ ด้าน กมธ.ร่างฯ ย้ำ พ.ร.บ.คอมฯ ไม่ใช่กฎหมายหมิ่นประมาทออนไลน์ แต่ยังมีเงื่อนไข ห้ามเสนอ "ข้อมูลเท็จ"  
Event talk
อ่าน

ร่าง พ.ร.บ.คอมฯ ระบุชัด ให้กรรมการ 5 คน สั่งปิดเว็บขัดศีลธรรมอันดี, การไม่ลบข้อมูลเป็นความผิดเพราะคนมี “สิทธิที่จะถูกลืม”

หลักสิทธิที่จะถูกลืม หรือ right to be forgotten ถูกอ้างขึ้นในการร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ เพื่อเป็นเหตุในการกำหนดความผิดฐานใหม่ ให้ทำลายข้อมูลที่ศาลสั่งว่าผิด ทั้งที่ในทางสากล สิทธิที่จะถูกลืมใช้เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พร้อมประเด็นสำคัญการบล็อกเว็บที่ขัดกับศีลธรรมอันดี ทำโดยคณะกรรมการ 5 คนตัดสินใจ
Computer Head
อ่าน

สรุปร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับ พ.ย.59: พื้นที่ออนไลน์จะมีแต่ดราม่าหมาแมว

ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับที่เห็นในเดือนพฤศจิกายน 2559 ยังมีข้อห่วงกังวลอีกมาก หลักการ "แจ้งเตือนและเอาออก" อาจไม่แก้ปัญหา และอาจสร้างระบบเซ็นเซอร์ตัวเองขนาดใหญ่ เพิ่มความผิดฐานไม่ลบไฟล์ผิดกฎหมาย และฐานโพสต์ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับบริการสาธารณะ
Amnesty Int. on CCA Bill
อ่าน

เนื้อหาเดิม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1) กลับมาแล้ว ซ้ำซ้อนกฎหมายหมิ่นประมาทแต่โทษหนักกว่า

แอมเนสตี้พบเนื้อหาเดิมที่มีปัญหาของมาตรา 14(1) ในร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ กลับมาแล้ว หลังถูกแก้ไขให้ดีขึ้นในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา พร้อมชวนประชาชนจับตาเส้นตายผ่าน พ.ร.บ. สิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้
Kanatip
อ่าน

ประสานเสียงอัด มาตรา 14 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ใช้ผิดเจตนารมณ์ กระทบเสรีภาพออนไลน์

นักกฎหมายชี้ การใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1) ฟ้องคดีหมิ่นประมาทนั้นผิดเจตนารมณ์ สร้างผลกระทบต่อจำเลย เสนอตัดเรื่องนี้ออกจาก พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เลย SEAPA ระบุ การผลักภาระให้จำเลยพิสูจน์ว่าข้อมูลส่วนไหนเท็จหรือจริง ทำให้นักข่าวทำงานยาก
DTAC-True
อ่าน

DTAC-True ย้ำปัญหานิยาม “ผู้ให้บริการ” ชี้ Single Gateway จะกลับมาในรูปแบบใหม่

ฝ่ายกฎหมายของทั้ง True และ Dtac ต่างกังวลมาตรา 15 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เนื่องจากนิยามของผู้ให้บริการกว้างมาก และกำหนดให้ผู้ให้บริการมีความผิดเท่ากับผู้กระทำ ข้อเสนอแก้ไขสร้างปัญหาความทับซ้อนของกฎหมาย พร้อมชี้ Single Gateway ยังไม่ล้มเลิกไปแต่จะกลับมาในรูปแบบใหม่