spending policy
อ่าน

“นโยบายก็ดีนะ แต่มีตังเท่าไหร่?” ชวนรู้จัก พ.ร.ป.พรรคการเมืองฯ ม.57 เจ้าปัญหา

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 หรือ พ.ร.ป.พรรคการเมืองฯ มาตรา 57 ระบุว่า ทุกนโยบายที่มีการใช้จ่ายเงิน ต้องทำเป็นรายการมาชี้แจงยัง กกต. ดังนี้:  
party law
อ่าน

เลือกตั้ง 66: กฎหมายเลือกตั้งคลุมเครือ “คนนอกครอบงำ” เสี่ยงพรรคถูกยุบ

“คนนอกครอบงำพรรค” เป็นอีกหนึ่งข้อหาที่หลายพรรคการเมืองต้องเฝ้าระวังเป็นอย่างยิ่ง และมักถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นข้อโจมตีทางการเมืองที่ปรากฎตามสื่ออยู่บ่อยครั้ง เพราะประเด็นนี้ยังคงมีช่องโหว่ในการตีความอยู่มาก แต่มีโทษหนักถึงขั้นยุบพรรค
1-1@2x-100 (3)
อ่าน

เลือกตั้ง 66: เปิดกฎหมายดูอนาคต “พรรค 3 ป.” หลังถูกกล่าวหาเกี่ยวข้องกับทุนสีเทา

ก่อนการเลือกตั้งในปี 2566 อุณหภูมิทางการเมืองเริ่มสูงขึ้น หลัง รังสิมันต์ โรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรคก้าวไกล ได้เปิดอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ว่า พรรครวมไทยสร้างชาติที่ประกาศสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ตั้งที่ทำการพรรคอยู่บนที่ดินของบุคคลที่ใกล้ชิดกับขบวนการค้ายาเสพติดและฟอกเงินของกลุ่มทุนมินลัต ในขณะที่พรรคพลังประชารัฐที่นำโดย พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มทุนจีนสีเทาอย่าง 'ตู้ห่าว' หรือ ชัยณัฐร์ กรณ์ชายานันท์ ที่ได้บริจาคเงินให้กับพรรค ซึ่งทั้งสองกรณีเข่าข่ายจะถูกยุบพรรคได้ทั้งคู่
Party Bill
อ่าน

ศาลรธน. เคาะ ร่างพ.ร.ป.พรรคการเมืองไม่ขัดรธน. นัดชี้ชะตากฎหมายเลือกตั้ง 30 พ.ย. 65

23 พ.ย. 2565 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ “เอกฉันท์” ร่างพ.ร.ป.พรรคการเมือง ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ จาหเหตุที่ 77 ส.ว. ส่งเรื่องมา หลังจากนี้นายกฯ นำร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
parliament meeting
อ่าน

จับตา #ประชุมสภา พิจารณากฎหมายน่าสนใจหลายฉบับ

 6-10 มิ.ย. 2565 ฝ่ายนิติบัญญัติมีกำหนดนัดพิจารณาร่างกฎหมายที่น่าจับตาหลายฉบับ อาทิ ร่างพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต #สุราก้าวหน้า ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ #สมรสเท่าเทียม และร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งแก้ไขให้สอดคล้องกับการแก้รัฐธรรมนูญเรื่องระบบเลือกตั้ง  
political parties bill
อ่าน

รัฐสภารับหลักการร่างพ.ร.ป.พรรคการเมืองจากครม.-พรรคร่วมรัฐบาล คว่ำร่างพรรคฝ่ายค้านเรียบทุกฉบับ

25 ก.พ. 2565 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภามีมติ “รับหลักการ” ร่างพ.ร.ป.พรรคการเมืองเพียงสามฉบับ คือร่างที่เสนอโดยครม. และร่างที่เสนอโดยส.ส.พรรคพลังประชารัฐสองฉบับ ขณะที่ร่างที่เสนอโดยส.ส.พรรคฝ่ายค้านสามฉบับ รัฐสภามีมติ “ไม่รับหลักการ” ทั้งหมด 
parliament pass bill on election of MP
อ่าน

ผ่านฉลุย! รัฐสภารับหลักการร่างพ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส. 4 ฉบับ แก้กติกาใหม่สู่การเลือกตั้งครั้งหน้า

24 กุมภาพันธ์ 2565 รัฐสภามีมติ "รับหลักการ" ร่างพ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส. สี่ฉบับ ซึ่งแก้ไขให้สอดคล้องกับการ #แก้รัฐธรรมนูญ ระบบเลือกตั้ง
organic laws on election
อ่าน

จับตาวาระหนึ่งการแก้ไขร่างพ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส. และ ร่างพ.ร.ป.พรรคการเมือง ปี 2565

24-25 ก.พ. 2565 ที่ประชุมร่วมรัฐสภามีนัดพิจารณาร่า ร่างพ.ร.ป.การเลือกตั้ง ส.ส. และ ร่างพ.ร.ป.พรรคการเมืองทั้งคู่จะเป็นกติกาสำคัญในการเลือกตั้งครั้งถัดไป                                
Loan and Income
อ่าน

เปิดข้อกฎหมายคดียุบพรรคอนาคตใหม่: เงินกู้ไม่ใช่รายได้และกฎหมายไม่ได้ห้าม

จากงานวิชาการและมุมมองของนักกฎหมายมีส่วนที่เห็นตรงกันว่า พรรคการเมืองไม่ได้มีสถานะเป็นองค์กรของรัฐ จึงต้องใช้หลักกฎหมายเอกชนกับพรรคการเมือง ซึ่งหมายความว่า ต้องใช้หลักการทำได้ทุกอย่างที่ไม่มีกฎหมายห้าม ในเมื่อไม่มีกฎหมายสั่งห้ามพรรคการเมืองกู้เงิน การกู้เงินก็ต้องสามารถกระทำได้ อีกทั้งในทางการเงินการบัญชี เงินกู้ไม่นับเป็นรายได้หรือเงินบริจาค แต่เป็นหนี้สินที่ต้องชำระคืน
49398337306_c7c26e7d14_b
อ่าน

21 มกราคม คดี “ล้มล้างการปกครองฯ” ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคดีไว้วินิจฉัยหรือไม่?

ในวันที่ 21 มกราคม 2563 ศาลรัฐธรรมนูญนัดฟังคำวินิจฉัยคำร้องขอให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ โดยอ้างว่า พรรคการเมืองนี้กระทําการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือที่เรียกชื่อเล่นว่า คดีอิลลูมินาติ แต่อย่างไรก็ดี คดีดังกล่าวมีประเด็นทางกฎหมายที่จำเป็นจะต้องวินิจฉัยเรื่องอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญก่อนว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจออกคำวินิจฉัยในประเด็นการสั่งยุบพรรคการเมืองได้หรือไม่