อ่าน

ชวนอ่าน! ตะวัน – แฟรงค์ พูดอะไรบ้างก่อนถูกกล่าวหา มาตรา 116 + ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน

13 กุมภาพันธ์ 2567…
Hacker draw
อ่าน

Attitude adjusted?: “เหมือนจะทำให้เราบ้า” เจ็ดวันในค่ายทหาร ของวัยรุ่นที่ถูกกล่าวหาเป็น “แฮกเกอร์”

16 ธันวาคม 2559 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ผ่านร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) ท่ามกลางเสียงคัดค้านอย่างกว้างขวางบนโลกออนไลน์ สร้างความไม่พอใจให้แก่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก และเกิดเป็นกิจกรรมชักชวนกันโจมตีเว็บไซต์ราชการหลายแห่ง เพื่อแสดงออกถึงความไม่เห็นด้วยดังกล่าว กิจกรรมนี้นำโดยเพจเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า พลเมืองต่อต้านซิงเกิ้ลเกตเวย์ และวันที่ 19 ธันวาคม 2559 ผู้ต้องสงสัยรายแรกก็ถูกจับได้ เป็นนักศึกษา ปวส. ด้านคอมพิวเตอร์ ขณะถูกจับอายุ 19 ปี เราจะเรียกเขาด้วยนามสมมติว่า “นัท”
silence
อ่าน

#พรบคอม แก้ไขใหม่แล้ว คดี “ปิดปาก” มีแต่แนวโน้มจะเพิ่มขึ้น

ข้อเรียกร้องให้แก้ไขมาตรา 14(1) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ได้รับการตอบสนองโดยสนช. แต่การแก้ไขกฎหมาย ในปี 2559 กลับดูเหมือนยังแก้ปัญหาที่กฎหมายถูกใช้เป็นเครื่องมือ “ปิดปาก” การตรวจสอบ ไม่ได้มากนัก แถมยังอาจสร้างปัญหาให้หนักขึ้นกว่าเก่าก็เป็นได้ พอจะเรียกได้ว่า การแก้ไขมาตรา 14(1) ในครั้งนี้ ดีขึ้น 3 ประเด็น แย่ลง 1 ประเด็น และ “เล่นลิเก” อีก 1 ประเด็น
comact000
อ่าน

ตารางคดี “ปิดปาก” นักเคลื่อนไหว ด้วยพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1)

ตารางคดี “ปิดปาก” นักเคลื่อนไหว ด้วย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1)
image001
อ่าน

สถิติการปิดกั้นเว็บไซต์ในประเทศไทย นับตั้งแต่ปี 2550-2556

นับแต่ปี 2550-2556 สถิติการระงับการเผยแพร่เนื้อหา หรือการปิดเว็บไซต์โดยอาศัยมาตรา 20 พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ 2550 ผ่านคำสั่งศาลจำนวน 380 ฉบับ จำนวนทั้งสิ้น 107,830 ยูอาร์แอล ทั้งนี้ เนื้อหาที่ถูกปิดกั้นเป็นอันดับหนึ่ง คือ เนื้อหาและภาพดูหมิ่น หมิ่นประมาท พระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท ซึ่งมีคำสั่งศาล จำนวน 267 ฉบับให้ระงับการเข้าถึง 82,418 ยูอาร์แอล หรือคิดเป็นร้อยละ 76.4 ของจำนวนยูอาร์แอลที่ถูกปิดกั้นทั้งหมด อันดับสอง คือ เนื้อหาและภาพลามกอนาจาร มีคำสั่งศาล 84 ฉบับ ให้ระงับการเข้าถึง 24,139 ยูอาร์แอล หรือคิดเป็นร้อยละ 22.38 ของจำนวนยูอาร์แอลที่ถูกปิดกั้นทั้งหมด