บัญชีแคนดิเดตนายกฯ กลไกรัฐธรรมนูญ’60 บีบการเมืองสู่ทางตัน
อ่าน

บัญชีแคนดิเดตนายกฯ กลไกรัฐธรรมนูญ’60 บีบการเมืองสู่ทางตัน

รัฐธรรมนูญ 2560 นำเสนอเครื่องมือชิ้นหนึ่งเป็นครั้งแรก คือ “บัญชีว่าที่นายกฯ” ที่บังคับให้คนที่จะมีโอกาสเป็นนายกรัฐมนตรีต้องถูกเสนอชื่อไว้ก่อนเลือกตั้ง พร้อมกับขวากหนามจำนวนมากเอาไว้ถอดถอนนายกฯ ที่ไม่ถูกใจ ซึ่งหากถูกถอนกันไปจนหมดจากบัญชีก็จะนำการเมืองเข้าสู่ทางตันโดยที่กฎหมายตั้งใจออกแบบไว้
เช็คเสียงก่อนโหวตเลือกนายกฯ ส.ส.+ส.ว. ครบ 750 คน ต้องการ 376 เสียงเพื่อนายกฯ คนที่ 30
อ่าน

เช็คเสียงก่อนโหวตเลือกนายกฯ ส.ส.+ส.ว. ครบ 750 คน ต้องการ 376 เสียงเพื่อนายกฯ คนที่ 30

หลังเลือกตั้งจนถึงช่วงก่อนเลือกนายกฯ มีส.ส. บางส่วนที่ลาออก ซึ่งส่งผลให้จำนวนเสียงที่ต้องใช้สำหรับเลือกนายกฯ เปลี่ยนไป แต่ก่อนถึงวันเลือกตั้ง ก็มีการเลื่อนบัญชีรายชื่อขึ้นมาแล้ว ทำให้ในวันเลือกนายกฯ ส.ส. ส.ว. จะครบสภา และต้องใช้เสียง 376 เสียงขึ้นไปในการเคาะเลือกนายกฯ
เลือกตั้ง 66: ทำไมพรรคการเมืองจึงควรส่งแคนดิเดตนายกฯ ลงสมัคร ส.ส.
อ่าน

เลือกตั้ง 66: ทำไมพรรคการเมืองจึงควรส่งแคนดิเดตนายกฯ ลงสมัคร ส.ส.

การเลือกตั้ง 2566 เป็นหมุดหมายสำคัญที่จะพาประเทศไทยหลุดพ้นจากอำนาจรัฐประหาร และพาการเมืองไทยกลับสู่ครรลองประชาธิปไตย โดยมีตำแหน่งนายกฯ เป็นเดิมพัน ในแง่ที่มาตำแหน่งนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ยังคงเป็นข้อถกเถียงถึง “ความชอบธรรม” ของการไม่กำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. ให้ชัดเจน
หากสภา “ไม่ไว้วางใจ” ประยุทธ์ ครม. พ้นตำแหน่งยกคณะ รัฐสภาต้องเลือกนายกฯ ใหม่
อ่าน

หากสภา “ไม่ไว้วางใจ” ประยุทธ์ ครม. พ้นตำแหน่งยกคณะ รัฐสภาต้องเลือกนายกฯ ใหม่

การลงมติ “ไม่ไว้วางใจ” นายกฯ นั้นมีความพิเศษกว่ากรณีของรมต. ถ้านายกฯ ถูก “ไม่ไว้วางใจ” จะส่งผลให้ ครม.พ้นจากตำแหน่งด้วยทุกคน หลังจากนั้นให้รัฐสภาเลือกนายกฯ ได้ทั้งจากคนในบัญชีแคนดิเดตนายกฯ และจากนายกฯ คนนอก
4 เงื่อนไขรัฐธรรมนูญสร้าง “นายกคนนอก”
อ่าน

4 เงื่อนไขรัฐธรรมนูญสร้าง “นายกคนนอก”

รัฐธรรมนูญไทยส่วนใหญ่มักไม่กำหนดที่มานายกฯ จึงเปิดโอกาสให้มีนายกฯ คนนอก ที่ไม่ผ่านความเห็นชอบของประชาชนจากการเลือกตั้ง หรือไม่ได้เป็น ส.ส. เข้ามาบริหารประเทศได้ ซึ่งที่ผ่านรัฐธรรมนูญไทยได้ออกแบบกติกาเปิดทางนายกฯ คนนอกด้วยวิธีการต่างๆ
ประยุทธ์ลาออกอย่าเพิ่งเฮ รัฐธรรมนูญ 60 เตรียมล่วงหน้า ‘นายกฯ คนนอก’ จากขั้วเดิม
อ่าน

ประยุทธ์ลาออกอย่าเพิ่งเฮ รัฐธรรมนูญ 60 เตรียมล่วงหน้า ‘นายกฯ คนนอก’ จากขั้วเดิม

แม้ พล.อ.ประยุทธ์ถอดใจลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็ใช่ว่าอนาคตการเมืองของไทยจะสดใสขึ้น เพราะรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ คสช.ร่างขึ้นนั้นได้วางกลไกเอาไว้ ไม่ให้ประเทศเดินหน้าตามระบอบประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งได้โดยง่าย
เปิดคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคไทยรักษาชาติ
อ่าน

เปิดคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคไทยรักษาชาติ

ศาลรัฐธรรมนูญออกนั่งพิจารณาเพื่ออ่านคำวินิจฉัย คดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติ กรณีที่พรรคไทยรักษาชาติยื่น “ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ” เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค ซึ่งอาจเข้าข่ายเป็นกระทําการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
เลือกตั้ง 62: บทบาทหัวหน้าพรรคการเมืองจางหายไป?
อ่าน

เลือกตั้ง 62: บทบาทหัวหน้าพรรคการเมืองจางหายไป?

ภายใต้กติกาการเลือกตั้งยุค คสช. ที่นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส. ยุทธศาสตร์ “วิ่งผลัด” เพื่อลดแรงกดดันจึงเกิดกับพรรคฝั่งเพื่อไทยและฝั่งสนับสนุน คสช. โดยหัวหน้าพรรคการเมืองกลายเป็นคนที่มารับตำแหน่งเหมือน “หุ่นเชิด” ส่วนว่าที่นายกฯ ของพรรค และผู้มีอำนาจตัวจริงในพรรคยังเป็นคนอื่น
เลือกตั้ง 62: ไม่มี ส.ส. เขต ของพรรคที่เราชอบ หมดสิทธิ์เลือก “พรรคที่ชอบ” ให้เป็น “นายกฯ ที่ใช่”
อ่าน

เลือกตั้ง 62: ไม่มี ส.ส. เขต ของพรรคที่เราชอบ หมดสิทธิ์เลือก “พรรคที่ชอบ” ให้เป็น “นายกฯ ที่ใช่”

รายชื่อว่าที่นายกฯ ของแต่ละพรรคจะเป็นส่วนในการตัดสินใจของประชาชนว่าจะเลือกพรรคใด ด้วยเหตุนี้พรรคต่างๆ จึงพยายามเสนอว่าที่นายกฯ ที่คิดว่าดีที่สุดเพื่อดึงดูดให้ประชาชนลงคะแนนให้กับพรรคและผู้สมัคร ส.ส. แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ประชาชนอาจจะไม่ได้เลือกพรรคการเมืองหรือว่าที่นายกฯ ที่ตัวเองชื่นชอบได้ 
เลือกตั้ง 62: เปิดดูช่องทางกฎหมาย ‘ถอนแคนดิเดตนายกฯ’ พรรคไทยรักษาชาติ
อ่าน

เลือกตั้ง 62: เปิดดูช่องทางกฎหมาย ‘ถอนแคนดิเดตนายกฯ’ พรรคไทยรักษาชาติ

11 กุมภาพันธ์ 2562 กกต. มีมติรับรองการเสนอชื่อว่าที่นายกรัฐมนตรีจาก 45 พรรค แต่ยังไม่ประกาศรับรองรายชื่อของพรรคไทยรักษาชาติ  ทั้งนี้ หากดูตามกฎหมาย พ.ร.ป.การเลือกตั้งฯ กกต. มีอำนาจในการวินิจฉัยคุณสมบัติเพื่อถอนรายชื่อแคนดิเดตนายกฯ ได้ แต่ก็มีภาระในการอธิบายเหตุผลทางกฎหมายต่อสังคม