52231112436_73fbca9ee1_o
อ่าน

#ปล่อยเพื่อนเรา มีนักโทษการเมือง 30 คนในเรือนจำ

จนถึงวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 มีนักกิจกรรมทางการเมืองที่ถูกคุมขังระหว่างการสอบสวนและระหว่างที่คดียังไม่ถึงที่สุดอย่างน้อย 30 คน นับจากกระแสเรียกร้องทางการเมืองรอบใหม่ หลังการชุมนุมของเยาวชนปลดแอกในปี 2563 การคุมขังนักเคลื่อนไหวทางการเมืองเกิดขึ้นเป็นระลอกๆ ตามบรรยากาศการชุมนุมเรียกร้องที่ขยายตัวขึ้นและลง ครั้งนี้ถือเป็นระลอกที่สี่แล้ว ไล่เรียงมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563, เดือนกุมภาพันธ์ 2564, เดือนสิงหาคม 2564 และเดือนมีนาคม 2565 ในเดือนเมษายน 2565 มีการไต่สวนเพิกถอนสัญญาประกันของผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 ทั้งสิ้น
52048320997_38561d3692_o
อ่าน

RECAP: ไล่เรียงสถานการณ์ไต่สวนประกันคดีม.112 สะท้อนแนวโน้มส่งผู้ต้องหาเข้าเรือนจำระหว่างพิจารณาคดี

การยื่นเรื่องขอประกันตัวผู้ต้องหาในบางกรณีนอกจากจะต้องวางหลักทรัพย์เป็นจำนวนเงินแล้ว คำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวอาจพ่วงมาด้วย “เงื่อนไข” ภายใต้สัญญาประกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ต้องหาหลบหนี เช่น เงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร, ห้ามออกนอกเคหสถานภายในเวลาที่กำหนด, การติดอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ (กำไล EM) หรือเงื่อนไขการมารายงานตัวต่อศาลเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ หากผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวไม่ปฏิบัติตามก็อาจถูกเพิกถอนสัญญาประกันได้ โดยในทางปฏิบัติ ศาลมีอำนาจในการออกหมายเรียกให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยมาศาลเพื่อสั่งเพิกถอนการประกันตัวเองไ
51367729749_48b47a195d_b
อ่าน

Watchlist: เมื่อรัฐขึ้นบัญชีจับตาประชาชนที่ต่อต้าน

9 สิงหาคม 2564 มีการเผยแพร่เอกสารที่ถูกระบุว่าเป็นข้อมูล "ลับที่สุด" ในโลกออนไลน์ โดยเอกสารดังกล่าวคาดว่าเป็นของกองบังคับการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง และประกอบไปด้วยข้อมูลของประชาชน ได้แก่ บรรดานักกิจกรรมหรือนักเคลื่อนไหวทางการเมือง นักการเมือง สื่อมวลชน นักวิชาการ และภาคประชาชน รวมแล้ว 183 รายชื่อ และข้อมูลบัญชีโซเชียลมีเดียอีก 19 บัญชี ซึ่งรายชื่อเหล่านี้ถูกระบุสถานะในเอกสารว่าเป็นกลุ่ม Watchlist หรือกลุ่มที่รัฐกำลังจับตา 
Military
อ่าน

กองทัพไม่โปร่งใสเพราะกฎหมายไม่เอื้อให้ตรวจสอบ

กองทัพไทยเป็นหน่วยงานที่ถูกตั้งแง่เรื่องความโปร่งใสมาโดยตลอด และผู้เปิดโปงการทุจริตภายในกองทัพต้องถูกลงโทษทางวินัยและให้ออกจากราชการ สะท้อนให้เห็นว่ากลไกและกฎหมายภายในกองทัพเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้กองทัพไทยเป็นหน่วยงานที่ขาดความโปร่งใส-ตรวจสอบไม่ได้
1
อ่าน

7 เรื่องจริง ที่ “ประเทศกูมี”

เพลง “ประเทศกูมี” ถูกเผยแพร่ในโลกออนไลน์และมีการพูดถึงอย่างมากจนผู้มีอำนาจเตรียมดำเนินคดี เนื้อหาเพลงว่าด้วยการนำข้อเท็จจริงของสังคมการเมืองไทยร่วมสมัยมาร้อยเรียงเป็นบทเพลง โดยขับร้องออกมาในสไตล์ Rap  กล่าวได้ว่าเพลง “ประเทศกูมี” นั้นเปิดบาดแผลของสังคมไทยที่พยายามซุกซ่อนมานานกว่าสี่ปี ชวนอ่าน 7 เรื่องจริงของประเทศกู  
140918_ppp_cover
อ่าน

ก่อนเลือกตั้ง 8 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับ ส.ว.

วันที่ 13 ก.ย. 2561 ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. บังคับใช้ มีอย่างน้อยแปดประเด็นที่ควรรู้เกี่ยว ส.ว. เช่น ส.ว.มาจากการแต่งตั้ง ผบ.ทุกเหล่าทัพ เป็น ส.ว.โดยตำแหน่ง และ ส.ว. แต่งตั้งชุดนี้ยังมีบทบาทและอำนาจอีกมากในการเมืองไทยหลังเลือกตั้ง
001
อ่าน

รอบคอบแค่ไหน! เมื่อประกาศ/คำสั่ง ของ คสช. ต้องแก้คำผิดไปแล้ว 9 ครั้ง แก้เนื้อหาไปแล้ว 24 ครั้ง

ความรวดเร็วในการออกประกาศ,คำสั่งคสช.และมาตรา 44 ทำให้เกิดคำถามถึงความละเอียดรอบคอบทั้งในแง่เนื้อหาและกระบวนการ หลักฐานที่ชัดเจนที่สุดของความไม่รอบคอบเพียงพอคือ ข้อผิดพลาดหลายครั้งหรือการออกคำสั่งอย่างไม่คำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชน รวมทั้งคำสั่งบางฉบับมีเนื้อหาล้าสมัย ไม่ตอบสนองสถานการณ์ปัญหาที่เปลี่ยนแปลงเร็ว จนนำไปสู่การแก้ไขในเวลาต่อมา
reseave military bill
อ่าน

รด.ไม่ช่วยอะไร เมื่อเจอกฎหมายกำลังพลสำรอง

สนช.ร่าง พ.ร.บ.กำลังพลสำรอง โดยเนื้อหาให้ทหารกองหนุน กลับมาฝึกวิชาทหารอีกครั้งพื่อการเตรียมความพร้อมในกิจการของกระทรวงกลาโหม โดยหากฝ่าฝืนไม่เข้ารับราชการทหารมีโทษสูงสุดติดคุกสี่ปี ในส่วนของนายจ้างหากไม่จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างซึ่งต้องรับราชการทหารในวันลามีโทษปรับสองหมื่นบาท
อ่าน

หมายศาลก็ยังไม่พอ!: ต่อประเด็นถกเถียง “ชุดกฎหมายความมั่นคงดิจิทัล”

กระแสคัดค้าน "ชุดกฎหมายความมั่นคงดิจิทัล" ทำให้ผู้ร่างกฎหมายยืนยันว่าจะมีการแก้ไข และยังย้ำว่าร่างกฎหมายนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องออกในช่วงเวลานี้ ต่อประเด็นข้างต้น iLaw จึงขอนำประเด็นถกเถียงที่เกิดขึ้นมาตอบ เพื่อสร้างข้อถกเถียงใหม่ที่จะเป็นประโยชน์ต่ออนาคตของ "ชุดกฎหมายความมั่งคงดิจิทัล" ต่อไป