#ส่องประชามติ: เมื่อการอำนวยความสะดวกของรัฐไปไม่ถึงคนทุกกลุ่ม
อ่าน

#ส่องประชามติ: เมื่อการอำนวยความสะดวกของรัฐไปไม่ถึงคนทุกกลุ่ม

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในการออกเสียงประชามติวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ที่มีผู้มาใช้สิทธิจำนวน 27,623,126 คน จากจำนวนทั้งหมด 50,585,118 คนนั้น มีคนจำนวนหนึ่งที่เข้าไม่ถึงการอำนวยความสะดวกของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการขอใช้สิทธิลงประชามตินอกเขต หรือการเข้าถึงเอกสารเนื้อหาเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะกลุ่มคนพิการ ผู้สูงอายุ กลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ ปกาเกอะญอ และกลุ่มคนมลายู จังหวัดยะลา เป็นต้น
สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: ตัด ‘สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี’ โบกมือลาองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: ตัด ‘สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี’ โบกมือลาองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม

ยังมีความเห็นที่แตกต่างกันในสังคมว่า ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ จะช่วยคุ้มครองและทำให้สิทธิของชุมชนใช้ได้จริงในทางปฏิบัติมากขึ้นหรือน้อยลง เนื่องจากร่างนี้ ‘ตัดสิทธิ’ การแสดงความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการของรัฐ และตัดขั้นตอนการขอความเห็นชอบจากองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมก่อนดำเนินโครงการต่างๆ
สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: เมื่อ “สิทธิเสรีภาพ” เขียนใหม่เป็น “หน้าที่ของรัฐ”
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: เมื่อ “สิทธิเสรีภาพ” เขียนใหม่เป็น “หน้าที่ของรัฐ”

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2559 เขียนหมวดหน้าที่ของรัฐขึ้นมาเป็นครั้งแรก และเขียนสิทธิหลายประการใหม่ไว้ในหน้าที่ของรัฐแทน หลายฝ่ายกังวลว่าจะเป็นการตัดสิทธิของประชาชน ด้าน กรธ.มองว่า เขียนแบบนี้คุ้มครองได้มากกว่า
สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: ประชาชนมีสิทธิถ้ากฎหมายไม่ห้าม และไม่กระทบความมั่นคง
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: ประชาชนมีสิทธิถ้ากฎหมายไม่ห้าม และไม่กระทบความมั่นคง

ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ เขียนชัดเจนว่า อะไรที่ไม่ได้ห้ามไว้ในกฎหมายประชาชนมีสิทธิเสรีภาพที่จะทำได้ เท่าที่ไม่กระทบ "ความมั่นคง" เงื่อนไขจำกัดสิทธิข้อนี้ไม่เคยมีในฉบับปี 2540 และ 2550 ส่วนสถานะ "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์" ก็ถูกจัดวางใหม่
ยื่น 40,000 รายชื่อผู้ใช้เน็ตหยุด Single Gateway หยุดกฎหมายล้วงข้อมูลส่วนบุคคล
อ่าน

ยื่น 40,000 รายชื่อผู้ใช้เน็ตหยุด Single Gateway หยุดกฎหมายล้วงข้อมูลส่วนบุคคล

วันที่ 7 กรกฎาคม 2559 ตัวแทนเครือข่ายพลเมืองเน็ตยื่น 40,000 รายชื่อ (ตัวเลข ณ วันที่ 6 กรกฎาคม 2559) ที่ร่วมกันรณรงค์ออนไลน์ผ่าน change.org “หยุด Single Gateway หยุดกฎหมายล้วงข้อมูลส่วนบุคคล” ต่อ นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่สอง เพื่อเรียกร้องให้ชะลอการพิจารณาร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่มีปัญหาในแง่การจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะเสรีภาพในการแสดงออกและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร อีกทั้งจะรบกวนการทำงานของระบบอินเทอร์เน็ต ทำให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่ปลอดภัย
ทางสองแพร่งในมือศาล: “มาตรา 61 วรรค 2” ของ พ.ร.บ.ประชามติฯ จะอยู่หรือจะไป
อ่าน

ทางสองแพร่งในมือศาล: “มาตรา 61 วรรค 2” ของ พ.ร.บ.ประชามติฯ จะอยู่หรือจะไป

29 มิ.ย. 2559 คือวันที่ศาลนัดชี้ชะตา มาตรา 61 วรรค 2 ของ พ.ร.บ.ประชามติฯ ว่าจะอยู่หรือจะไป ทั้งนี้ หากพิจารณาจากทิศทางคำวินิจฉัยที่ผ่านมา การจะดูว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับกฎหมายนั้นเป็นไปตามเงื่อนในการจำกัดสิทธิเสรีภาพหรือไม่ และเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพ “เท่าที่จำเป็นและใช้บังคับเป็นการทั่วไป” หรือเปล่า