Bunjongsak Wongprachaya Judge of constitutional court
อ่าน

ส.ว.เห็นชอบ ‘บรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์’ เป็นศาลรัฐธรรมนูญ

13 กรกฎาคม 2563 ที่ประชุมวุฒิสภา มีมติเห็นชอบให้ บรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ ตัวแทนจากศาลปกครองสูงสุด ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ ทำให้ขณะนี้ตุลากาลศาลรัฐธรรมนูญของประเทศไทยมีครบองค์คณะ 9 คนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดแล้ว
n20150907113909_150086
อ่าน

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย “สิระ เจนจาคะ” ไม่สิ้นสภาพ ส.ส. กรณีปะทะตำรวจ ขณะลงพื้นที่ภูเก็ต

1 กรกฎาคม 2563 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ สิระ เจนจาคะ ไม่พ้นจากตำแหน่ง ส.ส. จากกรณีปะทะตำรวจขณะลงพื้นที่ภูเก็ต โดยศาลเห็นว่าการกระทำเป็นไปเพื่อให้เจ้าหน้าที่มีการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด แต่หากใครเห็นว่าพฤติการณ์ของสิระไม่สุภาพให้ไปว่ากันตามข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของ ส.ส. 
Pitipong submitted three requests for removal the ex-NIA.
อ่าน

‘ปิติพงษ์’ ยื่นสามเรื่อง ขอถอดถอนอดีต สนช. ที่นั่งยาวเป็น ส.ว.

ปิติพงษ์ เต็มเจริญ อดีตโฆษกพรรคเสรีรวมไทย ยื่นหนังสือต่อประธาน กกต. ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน และประธานรัฐสภา เพื่อให้สามองค์กรส่งเรื่องต่อไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยความเป็นสมาชิกภาพของอดีต สนช.ที่ขณะนี้ดำรงตำแหน่ง ส.ว.และกรรมการ ป.ป.ช. ว่า ขาดคุณสมบัติตามกฎหมายและให้สิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่
Thammanat and CONSTITUTIONAL COURT
อ่าน

จับตาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่พิจารณาคดีถอดถอน ร.อ.ธรรมนัส

17 มิถุนายน 2563 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องขอให้วินิจฉัยสมาชิกภาพความเป็น ส.ส. และรัฐมนตรีของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เนื่องจากขัดกับรัฐธรรมนูญที่ห้ามผู้เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดมาดำรงตำแหน่ง ส.ส.และรัฐมนตรี ทั้งนี้ถือว่าเป็นคดีเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณสมบัตินักการเมืองคดีแรกของศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่ 4 คนที่เข้ารับตำแหน่งเมื่อ 1 เมษายน 2563  
sira
อ่าน

ลุ้น! ‘สิระ เจนจาคะ’ พ้นตำแหน่ง ฐานก้าวก่ายข้าราชการ

10 มิถุนายน 2563 ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยกรณี ‘สิระ เจนจาคะ’ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ ที่มีปากเสียงกับตำรวจเรื่องการอารักขาดูแลความปลอดภัยระหว่างการลงพื้นที่ว่าจะเข้าข่ายเป็นการก้าวก่ายการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการหรือไม่ แต่อย่างไรก็ดี ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ยังไม่พบว่ามีคดีที่ศาลวินิจฉัยว่ามีเป็นการกระทำความผิด
Comparison of Constitutional Courts
อ่าน

เปรียบเทียบที่มาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหลายประเทศ ไทยยัง ‘พิเศษ’ ที่ให้โควต้าข้าราชการ

ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่หลักเป็นองค์กร ‘พิทักษ์รัฐธรรมนูญ’ คอยตรวจสอบว่า กฎหมายขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ ด้วยบทบาทที่กำหนดความเป็นไปทางการเมือง ทำให้สังคมตั้งคำถามถึงอำนาจที่ล้นเหลือของศาลรัฐธรรมนูญ และ “ที่มา” ของคนที่จะมาดำรงตำแหน่ง ตุลาการที่มาจากสายข้าราชการของไทยนั้นเป็นระบบเฉพาะตัวมากที่ไม่เหมือนระบบของประเทศอื่น 
1
อ่าน

6 ปี คสช.: มอง ‘ระบอบ คสช.’ ผ่าน 6 เสาค้ำจุนอำนาจ

22 พฤษภาคม 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นำโดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยึดอำนาจรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสถาปนาอำนาจ “ระบอบ คสช.” ที่พยายามเปลี่ยนผ่านอำนาจแบบเผด็จการเต็มใบไปสู่ระบอบเผด็จการซ่อนรูป ในวาระครบรอบ 6 ปี เราขอทบทวนโครงสร้างอำนาจที่ คสช. ถูกออกแบบไว้ให้คณะรัฐประหารสามารถอยู่กับสังคมไทยได้ไปอีกหลายปี
Constitutional court
อ่าน

สรุปรัฐธรรมนูญ 2560: เปิดที่มาศาลรัฐธรรมนูญในรอบ 20 ปี ลดจำนวนตุลาการสายวิชาการ เพิ่มข้าราชการ

ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเกี่ยวพันกับการเมือง จึงเกิดคำถามถึงความยึดโยงกับประชาชน รัฐธรรมนูญ 2560 ให้มีตุลาการเก้าคน แบ่งเป็นผู้พิพากษาห้าคน ผู้ทรงคุณวุฒิสายวิชาการและสายราชการอย่างละสองคน ทั้งนี้ ที่มาของศาลรัฐธรรมนูญเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาตั้งแต่จัดตั้งครั้งแรกในรัฐธรรมนูญ 2540 โดยสัดส่วนผู้ทรงคุณวุฒิสายวิชาการลดลงจากห้าคนเหลือสองคนในรัฐธรรมนูญ 2560