สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: ถ้าร่างผ่านเท่ากับ “ตีเช็คเปล่า” ให้ กรธ.เขียนกฎหมายลูก 10 ฉบับได้ตามใจ
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: ถ้าร่างผ่านเท่ากับ “ตีเช็คเปล่า” ให้ กรธ.เขียนกฎหมายลูก 10 ฉบับได้ตามใจ

รัฐธรรมนูญทุกฉบับต้องอาศัยกฎหมายลูก อย่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมาขยายรายละเอียด ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติต้องมีกฎหมายลูกอีกอย่างน้อย 10 ฉบับ และถ้าร่างผ่านประชามติ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญจะอยู่ยาวอีกแปดเดือนเพื่อร่างกฎหมายลูกเองทั้งหมด เนื้อหาจะเป็นยังไงตอนนี้ยังไม่เห็นทิศทาง
คำถามพ่วง: เห็นชอบให้ ส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้ง ร่วมกับ ส.ส.เลือกนายกฯ หรือไม่?
อ่าน

คำถามพ่วง: เห็นชอบให้ ส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้ง ร่วมกับ ส.ส.เลือกนายกฯ หรือไม่?

การออกเสียงประชามติ 7 ส.ค. มีสองคำถามซึ่งคำถามที่สองแปลให้ง่ายได้ว่า "เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ให้ ส.ว.ร่วมกับ ส.ส.เลือกนายกฯ ในช่วงห้าปีแรก" ซึ่ง ส.ว.ชุดดังกล่าวมี 250 คนมาจากการแต่งตั้งของ คสช.ทั้งหมด ส.ว.ชุดนี้จะมีสิทธิเลือกนายกฯ อย่างน้อยสองครั้ง หรือให้ผลยาวนานอย่างน้อยแปดปี
สรุปร่างรัฐธรรมนูญ และคำถามพ่วง เพื่อเตรียมพร้อมก่อนลงประชามติ
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ และคำถามพ่วง เพื่อเตรียมพร้อมก่อนลงประชามติ

สรุปรวมเนื้อหาสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ ในหลากหลายประเด็น รวมทั้งคำถามพ่วง เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงประชามติ ในวันที่ 7 ส.ค. นี้
สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: สิทธิทางสาธารณสุข เพิ่มสิทธิมารดา คำว่า “สิทธิเสมอกัน” หายไป
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: สิทธิทางสาธารณสุข เพิ่มสิทธิมารดา คำว่า “สิทธิเสมอกัน” หายไป

สิทธิทางด้านสาธารณสุขในร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประเด็นที่กระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกคน ขณะที่คนร่างโปรโมตร่างรัฐธรรมนูญนี้ว่า คุ้มครอง “ตั้งแต่ท้องแม่จนถึงแก่เฒ่า” ข้อกังวลของสังคมคือ ถ้าหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านจะเปิดทางให้ “ยกเลิกบัตรทอง” ในอนาคตหรือไม่
บูรพา เล็กล้วนงาม: ประมวลเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ 2559 ก่อนลงประชามติ
อ่าน

บูรพา เล็กล้วนงาม: ประมวลเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ 2559 ก่อนลงประชามติ

บูรพา เล็กล้วนงาม อดีตนักข่าวผู้คร่ำหวอดในวงการการเมือง ประมวลเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ก่อนนำไปลงประชามติ สรุปทั้งฉบับมาให้เบาๆ ใน 5 หน้า สำหรับคนที่ไม่อยากอ่านเต็มทุกมาตรา
สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: กรธ.ไม่เขียน “พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ” แต่สั่งรัฐสนับสนุนเฉพาะพุทธเถรวาท
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: กรธ.ไม่เขียน “พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ” แต่สั่งรัฐสนับสนุนเฉพาะพุทธเถรวาท

ร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ฉบับลงประชามติ ไม่เขียนให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ตัดเรื่องการเสริมสร้างความสมานฉันท์ระหว่างศาสนาออก และเขียนนวัตกรรมใหม่ให้รัฐต้องส่งเสริมและเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท และเพิ่มข้อยกเว้นเสรีภาพในการนับถือศาสนาต้อง "ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ"
สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: รีวิวระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมของมีชัย
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: รีวิวระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมของมีชัย

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติของมีชัย ฤชุพันธ์ุ ยังยืนยันในรูปแบบที่คิดค้นขึ้นใหม่ คือระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม หรือ MMA โดยเชื่อมั่นว่าจะช่วยให้เสียงทุกเสียงมีความหมาย ขณะที่นักวิชาการพรรคการเมืองสะท้อนว่าจะส่งผลให้พรรคการเมืองอ่อนแอ เกิดรัฐบาลผสมที่ไร้เสถียรภาพ มีโอกาสที่จะซื้อเสียงมากขึ้น และไม่สะท้อนเจตนารมณ์ของผู้ออกเสียง ฯลฯ
สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญมีชัย ง่ายซะที่ไหน
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญมีชัย ง่ายซะที่ไหน

การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีการตั้งเงื่อนไขหลายข้อ เช่น การแก้ไขบททั่วไป หมวดพระมหากษัตริย์ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ อำนาจหน้าที่ของศาลหรือองค์กรอิสระจะต้องผ่านการทำประชามติก่อน ส่วนขั้นตอนในการพิจารณาวาระต่างๆ ก็ต้องใช้เสียงของสมาชิกวุฒิสภา 1 ใน 3 และความเห็นชอบจากพรรคการเมืองไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: ศาลรัฐธรรมนูญกับบทบาท “คนดี” ของมีชัย
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: ศาลรัฐธรรมนูญกับบทบาท “คนดี” ของมีชัย

หนึ่งในประเด็นที่สังคมให้ความสนใจก็คือเรื่องอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะนับตั้งแต่ร่างรัฐธรรมนูญของบวรศักดิ์ อุวรรณโณ จนถึงมีชัย ฤชุพันธ์ุ ทั้งสองร่างให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นกลไกหนึ่งที่มีอำนาจควบคุมการบริหารประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อรัฐบาลต่อไปอย่างแน่นอน
สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: เห็นร่างรัฐธรรมนูญวันนี้ สิ้นปีหน้าได้เลือกตั้ง
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: เห็นร่างรัฐธรรมนูญวันนี้ สิ้นปีหน้าได้เลือกตั้ง

หลังจากที่ได้เห็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติแล้ว คำถามต่อไปสำหรับหลายๆ คนที่อาจมองข้ามการทำประชามติไปเลยก็คือ แล้วเมื่อไหร่จะได้เลือกตั้ง? เรารวบรวมระยะเวลาที่ใช้ในระหว่างเดินไปสู่การเลือกตั้ง จนได้ข้อสรุปว่า กว่าจะได้เลือกตั้งต้องใช้เวลาถึง 480 วัน หรือ 16 เดือน นับจากวันลงประชามติ หรือให้ชัดกว่านั้นคือ ประมาณเดือนธันวาคม 2560