การ์ตูน: 2 ปี ยุค คสช. มีผลงานอะไรบ้าง?
อ่าน

การ์ตูน: 2 ปี ยุค คสช. มีผลงานอะไรบ้าง?

เราคิดอยู่นานว่า เราจะทำข้อมูลอย่างไรให้คนเข้าถึงได้ง่ายที่สุดภายใต้ข้อมูลที่มีมหาศาล แต่สุดท้ายเราเลือกใช้ "การ์ตูน" เพื่อเล่าเรื่อง 2 ปี ยุค คสช. ว่ามีผลงานอะไรบ้าง? และเนื่องด้วยกระแสตอบรับที่ล้นหลามทำให้เราเลือกทำมันในรูปแบบหนังสือพร้อมกับคอมเมนต์เด็ดๆ จากแฟนเพจให้ทุกคนได้สำรวจดู
มาตรา 44 กับอำนาจถอดถอน แต่งตั้ง โยกย้าย ระงับการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
อ่าน

มาตรา 44 กับอำนาจถอดถอน แต่งตั้ง โยกย้าย ระงับการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

iLaw ได้ทบทวนเกี่ยวกับคำสั่งหัวหน้า คสช. โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ในเรื่องของการถอดถอน โยกย้าย แต่งตั้ง และตรวจสอบการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐ พบว่ามีการใช้คำสั่งหัวหน้า คสช. เกี่ยวกับเรื่องการโยกย้ายเจ้าหน้ารัฐอย่างน้อย 6 ฉบับ การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รัฐอย่างน้อย 10 ฉบับ และคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการสั่งพักงาน โยกย้าย หรือถอดถอนเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตอีกอย่างน้อย 6 ฉบับ
ปัญหาชาวบ้านกับการต่อต้านรัฐประหาร
อ่าน

ปัญหาชาวบ้านกับการต่อต้านรัฐประหาร

อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้ขบวนประชาชนทำการสนับสนุนรัฐประหาร? ทำไมขบวนประชาชนถึงไม่ต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่ไปกับขบวนการประชาธิปไตย  หรือต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย  ขับไล่รัฐประหาร  แต่กลับต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่ไปกับขบวนการชาตินิยม  นิยมอำนาจทหารและอนุรักษ์นิยมเพื่อขับไล่ประชาธิปไตยแทน?
คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 กับ 13/2559: บทเรียนปัญหาอำนาจนอกระบบที่ตรวจสอบถ่วงดุลไม่ได้
อ่าน

คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 กับ 13/2559: บทเรียนปัญหาอำนาจนอกระบบที่ตรวจสอบถ่วงดุลไม่ได้

คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 13/2559 คือยาแรงตัวใหม่ที่ คสช.ใช้เพื่อจัดการคนทำความผิด โดยให้ทหารเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่จับกุม สอบสวน ดำเนินคดี แต่ทว่าผลลัพธ์ของการใช้ยาแรงที่ผ่านมา อาทิ กฎอัยการศึก หรือคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 ก็ดี สิ่งเหล่านี้กลับไม่ได้ให้ผลลัพธ์ดีอย่างที่คิดเสมอไป
ลักษณะกฎหมายในยุคเผด็จการทหาร คสช.
อ่าน

ลักษณะกฎหมายในยุคเผด็จการทหาร คสช.

ในสังคมอารยะ รัฐจะต้องไม่ทำลายอุดมคติเพื่อมวลมนุษยชาติและการใช้อำนาจจะต้องยึดโยงกับประชาชน ไม่ใช่เพื่อสร้างระบบราชการอันเข้มแข็งที่ทำลายความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยในการใช้ชีวิตของประชาชน
ก่อนท้องฟ้าจะสดใส: แม้จะใช้กฎหมายสั่งห้ามชุมนุมกันแบบผิดๆ แต่ก็ห้ามเราเคลื่อนไหว-พูด-คิด ไม่ได้
อ่าน

ก่อนท้องฟ้าจะสดใส: แม้จะใช้กฎหมายสั่งห้ามชุมนุมกันแบบผิดๆ แต่ก็ห้ามเราเคลื่อนไหว-พูด-คิด ไม่ได้

เดือนกุมภาพันธ์ 2559 ตำรวจและทหารอ้างและใช้กฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุมสามฉบับอย่างผิดเพี้ยน ทับซ้อนกัน จนสับสนวุ่นวายไปหมด หวังหยุดการเคลื่อนไหวภาคประชาชน แต่วิธีการนี้ไม่อาจบรรลุผลตราบที่ภาคประชาชนไทยยังเข้มแข็งพอ และสังคมพร้อมสนับสนุนไปด้วยกัน
902 คนเป็นอย่างน้อยที่ถูกเรียกปรับทัศนคติและเยี่ยมถึงบ้าน ในยุครัฐบาล คสช.
อ่าน

902 คนเป็นอย่างน้อยที่ถูกเรียกปรับทัศนคติและเยี่ยมถึงบ้าน ในยุครัฐบาล คสช.

การเรียกบุคคลเพื่อไปปรับทัศนคติของรัฐบาล คสช.ยังคงเป็นเครื่องมือที่ถูกใช้อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่หลังรัฐประหารในเดือนพฤษภาคม 2557 ซึ่งผู้ที่ตกเป็นเป้าหมายหลักคือคนหรือกลุ่มที่ คสช. และเจ้าหน้าที่รัฐโดยเฉพาะทหารต้องการควบคุมเมื่อถูกมองว่าออกมาเคลื่อนไหวตรงข้าม คสช.
สิทธิชุมชนในร่าง รธน.หาย ภาคประชาชนหวั่นอนาคตไร้ช่องทางเรียกร้องสิทธิ
อ่าน

สิทธิชุมชนในร่าง รธน.หาย ภาคประชาชนหวั่นอนาคตไร้ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

ภาคประชาชนระบุในงานเสวนา “เมื่อสิทธิชุมชนในร่างรัฐธรรมนูญหายไป ชาวบ้านจะพึ่งพาใคร?” เมื่อร่างรัฐธรรมนูญ 2559 ไม่เขียนเรื่องสิทธิชุมชน ชาวบ้านไร้สิทธิปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หวั่นหลังรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ คำสั่งหัวหน้า คสช. ทั้งหมดกลายเป็นกฎหมาย ทั้งที่มีเนื้อหาละเมิดสิทธิชัดเจนและปิดกั้นเสียงประชาชน