52591124909_fe30abe0d5_o
อ่าน

แนวโน้มคำพิพากษาคดีมาตรา 112 ในปี 2565

*ข้อมูล ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2565 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นกฎหมายอาญาที่มีบทลงโทษหนักคือจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี มักจะถูกนำมาบังคับใช้ในทางจำกัดเสรีภาพการแสดงออกและใช้ในการจัดการขั้วตรงข้ามทางการเมือง ระหว่างการรัฐประหาร 2557 เป็นอีกช่วงเวลาที่มาตรา 112 ถูกนำมาใช้ปราบปรามประชาชน การบังคับใช้ในช่วงเวลาดังกล่าวเห็นถึงปัญหาของตัวบทกฎหมายที่เปิดโอกาสให้ตีความกว้างขวาง การลงโทษหนักหน่วงและจำเลยบางคนไม่สามารถอุทธรณ์หรือฎีกาได้เนื่องจากคดีอยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลทหารและเหตุแห่งคดีเกิดระหว่างมีการประกาศกฎอัยการศึก แต
52278763815_6f6199d9a6_o
อ่าน

แซม ทะลุฟ้า จำเลยคดีเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติไม่ได้รับการประกันตัวเป็นครั้งที่ 4

11 สิงหาคม 2565 ศาลอาญานัดไต่สวนคำร้องคัดค้านฝากขัง พรชัย ยวนยี หรือ “แซม ทะลุฟ้า” พรชัยถูกตั้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยถูกกล่าวหาว่าร่วมกับผู้อื่นเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่สิบเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2564 ระหว่างการชุมนุมคาร์ม็อบในโอกาสครบรอบ 15 ปี การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 พรชัยถูกจับกุมตัวเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 ระหว่างที่เขาไปติดต่อราชการกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อขอให้เพิกถอนหมายจับในคดีการชุมนุมของ 14 นักศึกษา ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ที่เกิดขึ้นในปี 2558 และคดีสิ้นสุดไปแล้วเพื่อเตรียมเดินทางไปต่างประเทศ แต
297371141_10166809536450551_2954540608230428870_n
อ่าน

27 วันของ “แซม ทะลุฟ้า” ในเรือนจำ

พรชัย ยวนยี หรือ “แซม ทะลุฟ้า” ถูกฝากขังในเรือนจำในคดีมาตรา 112 จากการเข้าร่วมการชุมนุม เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2564 โดยตำรวจกล่าวหาว่า แซมร่วมกันวางแผนเพื่อปาระเบิดเพลิงใส่พระบรมฉายาลักษณ์ที่อยู่บนสะพานลอยหน้าโรงเรียนราชวินิตแต่ไม่ลุกไหม้ เพราะก่อนเกิดเหตุมีฝนตกหนักทำให้ซุ้มเปียกชื้น แซมมีแผนการเดินทางไปต่างประเทศ จึงไปรายงานตัวเพื่อ “เคลียร์” หมายจับสำหรับการเดินทาง และถูกแจ้งว่า มีหมายจับในคดีนี้ เขาถูกฝากขังในเรือนจำตั้งแต่วันที่ 7 กรก
294172336_10166767490680551_5948239796951449394_n
อ่าน

ว่าด้วยรักและอุดมการณ์ของ “แซม ทะลุฟ้า” ในสายตาคู่ชีวิต

“เอาจริงๆ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เราเจอเรื่องแบบนี้ เราเคยผ่านมันมาแล้ว กำลังใจเรายังดี ..” เสียงจากปลายสายโทรศัพท์ตอบกลับด้วยน้ำเสียงที่ยังคงสดใสเมื่อถูกถามถึงสภาพจิตใจ ในยามที่ต้องรับมือกับสารพัดปัญหาหลังคู่ชีวิตถูกคุมขังในเรือนจำแบบไม่มีใครทันตั้งตัว และศาลยังไม่ให้สิทธิในการประกันตัว แม้ว่าการต้องเข้าเรือนจำของ พรชัย ยวนยี หรือ แซม นักเคลื่อนไหวทางการเมืองในนามกลุ่มทะลุฟ้าและอดีตเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย จะไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับ ‘เอ’ คู่ชีวิตของแซม แต่ภายใต้รัฐบาลที่สืบทอดอำนาจต่อมาจา
52231112436_73fbca9ee1_o
อ่าน

#ปล่อยเพื่อนเรา มีนักโทษการเมือง 30 คนในเรือนจำ

จนถึงวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 มีนักกิจกรรมทางการเมืองที่ถูกคุมขังระหว่างการสอบสวนและระหว่างที่คดียังไม่ถึงที่สุดอย่างน้อย 30 คน นับจากกระแสเรียกร้องทางการเมืองรอบใหม่ หลังการชุมนุมของเยาวชนปลดแอกในปี 2563 การคุมขังนักเคลื่อนไหวทางการเมืองเกิดขึ้นเป็นระลอกๆ ตามบรรยากาศการชุมนุมเรียกร้องที่ขยายตัวขึ้นและลง ครั้งนี้ถือเป็นระลอกที่สี่แล้ว ไล่เรียงมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563, เดือนกุมภาพันธ์ 2564, เดือนสิงหาคม 2564 และเดือนมีนาคม 2565 ในเดือนเมษายน 2565 มีการไต่สวนเพิกถอนสัญญาประกันของผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 ทั้งสิ้น
52220022956_1e91c5ba57_k
อ่าน

บ้านทะลุฟ้าในคืนนี้ ไม่มีเสียงกวีของพี่แซม

“หมดจิตหมดใจจะใฝ่ฝัน การสร้างสรรค์ย่อมสิ้นแผ่นดินหมอง กลัวน้ำตาไหลหลั่งดั่งน้ำนอง ก็จะต้องเห็นแก่ตัวชั่วนิรันดร์…”    
286971245_10166668512500551_8033748900561487505_n
อ่าน

ตี้ ผู้อาสาขึ้นอ่านแถลงการณ์หน้าสถานทูตเยอรมนี

26 ตุลาคม 2563 ผู้ชุมนุมราษฎรในสภาพ “ไร้แกนนำ” รวมตัวกันที่หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์เพื่อเดินขบวนไปยังสถานทูตเยอรมนี เพื่อยื่นหนังสือให้ทางการเยอรมนีตรวจสอบว่า พระมหากษัตริย์ไทยได้ใช้พระราชอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินระหว่างทรงประทับในเขตอำนาจอธิปไตยของเยอรมนีหรือไม่ การชุมนุมครั้งนี้เกิดขึ้นในสภาวะที่ผู้มีบทบาทนำในการชุมนุม เช่น ทนายอานนท์ นำภา, รุ้ง ปนัสยา และเพนกวิน พริษฐ์ กำลังถูกคุมขังในเรือนจำหลังถูกจับกุมตั้งแต่ 15 ตุลาคม 2563 เมื่อผู้มีบทบาทนำในการปราศรัยถูกคุมขังไปหลายคน ผู้ชุมนุมราษฎรจึงปรับขบวนใหม่นัดหมายชุมนุมแบบไม่เน้นการปราศรัย เน้นการเติบโตพร้อมกั