Important Number of Election
อ่าน

เลือกตั้ง66: รู้จักความหมายตัวเลขสำคัญในการเลือกตั้ง 2566

ตัวเลขกับการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่คู่กัน โฉมหน้ารัฐบาลใหม่จะเป็นอย่างไร ใครจะจับมือกับใคร ทิศทางการเมืองจะไปทางไหน อยู่ที่ตัวเลขหลังการเลือกตั้งทั้งสิ้น เราจะชวนทำความรู้จักตัวเลขแต่ละตัว ว่ามีความหมายอย่างไรเพื่อให้เราเข้าใจการเลือกตั้ง 2566 มากยิ่งขึ้น
The Most Illustrious Order of Chula Chom Klao Bill
อ่าน

ร่างพ.ร.บ.เครื่องราชฯ ตกไปแม้เคยผ่านสภา เหตุพระมหากษัตริย์ทรงวีโต้และรัฐสภามีมติไม่ยืนยัน

6 กันยายน 2565 รัฐสภามีมติไม่ยืนยันร่างพ.ร.บ.เครื่องราชฯ ที่พระมหากษัตริย์ทรงวีโต้ด้วยคะแนนเสียงไม่เห็นด้วย (ไม่ยืนยัน) 431 เสียง เห็นด้วย (ยืนยัน) 1 เสียง งดออกเสียง 28 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 1 ด้วย จึงเป็นอันตกไป 
election draft
อ่าน

3 ข้อที่จะหายไป ถ้าพิจารณาร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. ไม่ทัน

พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. ส่อแววพิจารณาไม่เสร็จภายใน 180 วันตามที่กฎหมายกำหนด การปล่อยให้พิจารณาไม่ทันนั้นมีมากกว่าแค่เรื่องของสูตรคำนวณที่นั่ง ส.ส. เพราะยังมีข้อเสนอที่มีประโยชน์ต่อการเข้าถึงการเลือกตั้งของประชาชนที่อาจต้องหายไป
election bill
อ่าน

กฎหมายลูกเลือกตั้งส.ส. ส่อแววช้า วุ่นสืบเนื่องปมแก้สูตรคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อ “หาร 500”

26 กรกฎาคม 2565 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีมติให้กมธ. ร่างพ.ร.ป.การเลือกตั้งส.ส. นำร่างกลับไปทบทวนใหม่ สืบเนื่องจากปมการโหวตพลิกขั้ว แก้ไขร่างจากสูตรคำนวณส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจาก "หาร 100" เป็น "หาร 500"
4-5@2x-100
อ่าน

ส.ว. แต่งตั้ง: ผู้นำเหล่าทัพ รับเงินจากสภาและกองทัพ แต่มาลงมติในสภาไม่ถึง 7%

จากการตรวจสอบการทำงานของ ส.ว. ผู้นำเหล่าทัพ ในสมัยการประชุมสามัญครั้งที่ 2 ปีที่ 3 ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 ถึง กุมภาพันธ์ 2565 พบว่า บรรดาผู้นำเหล่าทัพไม่ได้เข้าร่วมการประชุมเพื่อลงมติจำนวนมาก กล่าวคือ มีการเข้าร่วมการประชุมเพื่อลงมติไม่ถึง 7% ทั้งที่บรรดา ส.ว. ผู้นำเหล่าทัพ ต่างได้รับค่าตอบแทนทั้งจากสภาและกองทัพ รวมแล้วไม่น้อยกว่าสองแสนบาทต่อเดือน
The Most Illustrious Order of Chula Chom Klao Bill
อ่าน

รัฐสภานัดถกร่างพ.ร.บ.เครื่องราชฯ หลังพระมหากษัตริย์ไม่ลงพระปรมาภิไธยภายใน 90 วัน

9-10 มิ.ย. 2565 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีนัดปรึกษาร่างพ.ร.บ.เครื่องราชฯ ซึ่งนายกฯ ได้นำร่างขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อ 31 มกราคม 2565 แต่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงพระปรมาภิไธยภายใน 90 วัน และไม่ได้พระราชทานร่างกฎหมายคืนกลับมา
 Going to 2022
อ่าน

ปี 2022 กับ 4 เรื่องการเมืองที่ต้องจับตา

ในปี 2022 หรือ ปี 2565 นี้ หากรัฐบาลยังทำหน้าที่แก้ปัญหาที่สืบเนื่องมาจากการระบาดของโรคโควิด19 ได้ไม่ดีพอ สถานการณ์ทางการเมืองย่อมมีแนวโน้มที่จะร้อนแรงมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ เราจึงอยากช่วยประชาชนจับจาวาระร้อนทางการเมืองอย่างน้อย 4 เรื่อง ที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ 
Abolish NCPO's Legacy
อ่าน

ล้างมรดก คสช. ล้มเหลว สภาปัดตกทุกช่องทาง

หลังการเลือกตั้ง 2562 มีความพยายามใช้เวทีรัฐสภาในการขจัดมรดก คสชซ หลายครั้งแต่ก็ประสบความล้มเหลว ที่ผ่านมีความพยายามทั้งหมดแปดครั้ง โดยสามวิธีการที่จะใช้เวทีรัฐสภาปลดอาวุธ คสช. แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ          
Senate results
อ่าน

แก้รัฐธรรมนูญ: “ส.ว.สายทหารเห็นชอบ-สายต้านทักษิณคัดค้าน”

รัฐสภาเห็นชอบแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 สำเร็จเป็นครั้งแรก ให้มีบัตรเลือกตั้งสองใบ และให้มี ส.ส.เขต 400 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน โดยกลุ่มของ ส.ว. ที่มาจากการสรรหาคัดเลือกของคสช. เพราะการลงมติในครั้งนี้เป็นไปอย่างอิสระ มีการลงมติในทิศทางที่แตกต่างกัน
28746365861_c11065892a_o
อ่าน

ร่าง พ.ร.บ.ประชามติฯ: ต้องใช้เสียงแค่ไหนจึงจะผ่านประชามติ

ร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ กำหนดว่าการผ่านประชามติร่างรัฐธรรมนูญจะต้องได้เสียงข้างมากสองชั้น ขณะที่หากเป็นประชามติในประเด็นอื่นๆ กำหนดให้ใช้เสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติ ซึ่งการกำหนดเช่นนี้มีความเหมือนและต่างจากกฎหมายประชามติในอดีต