เปิดคำวินิจฉัยส่วนตน พบ "ประธานศาลรัฐธรรมนูญ" วินิจฉัยเป็นคุณกับคสช.
อ่าน

เปิดคำวินิจฉัยส่วนตน พบ “ประธานศาลรัฐธรรมนูญ” วินิจฉัยเป็นคุณกับ คสช.

ท่ามกลางกระแสความเห็นที่แตกต่างในข้อเท็จจริงของคดียุบพรรคอนาคตใหม่ จากกรณีกู้เงินธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ว่าศาลสามารถตัดสินอย่างไรได้บ้าง อยากชวนทุกคนสำรวจที่มาและความคิดเห็นของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนในการวินิจฉัยคดีทางการเมือง เพื่อให้เห็นทิศทางของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
เสวนา “ประชาชนอยู่ตรงไหน เมื่อตุลาการเป็นใหญ่ในแผ่นดิน”
อ่าน

นักกฎหมายแนะเพิ่มระบบตรวจสอบศาลรัฐธรรมนูญ ยันประชาชนใหญ่สุด วิจารณ์ศาลได้

19 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ห้องประชุมคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มธ. ท่าพระจันทร์ มีวงเสวนาเรื่องประชาชนอยู่ตรงไหน เมื่อตุลาการเป็นใหญ่ในแผ่นดิน วิทยากรประกอบด้วย ผศ.ธีระ สุธีวรางกูร คณะนิติศาสตร์ มธ., ดร.เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ, รศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาฯ มธ. และสัณหวรรณ สีสด จากคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล
Loan and Income
อ่าน

เปิดข้อกฎหมายคดียุบพรรคอนาคตใหม่: เงินกู้ไม่ใช่รายได้และกฎหมายไม่ได้ห้าม

จากงานวิชาการและมุมมองของนักกฎหมายมีส่วนที่เห็นตรงกันว่า พรรคการเมืองไม่ได้มีสถานะเป็นองค์กรของรัฐ จึงต้องใช้หลักกฎหมายเอกชนกับพรรคการเมือง ซึ่งหมายความว่า ต้องใช้หลักการทำได้ทุกอย่างที่ไม่มีกฎหมายห้าม ในเมื่อไม่มีกฎหมายสั่งห้ามพรรคการเมืองกู้เงิน การกู้เงินก็ต้องสามารถกระทำได้ อีกทั้งในทางการเงินการบัญชี เงินกู้ไม่นับเป็นรายได้หรือเงินบริจาค แต่เป็นหนี้สินที่ต้องชำระคืน
49398337306_c7c26e7d14_b
อ่าน

21 มกราคม คดี “ล้มล้างการปกครองฯ” ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคดีไว้วินิจฉัยหรือไม่?

ในวันที่ 21 มกราคม 2563 ศาลรัฐธรรมนูญนัดฟังคำวินิจฉัยคำร้องขอให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ โดยอ้างว่า พรรคการเมืองนี้กระทําการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือที่เรียกชื่อเล่นว่า คดีอิลลูมินาติ แต่อย่างไรก็ดี คดีดังกล่าวมีประเด็นทางกฎหมายที่จำเป็นจะต้องวินิจฉัยเรื่องอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญก่อนว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจออกคำวินิจฉัยในประเด็นการสั่งยุบพรรคการเมืองได้หรือไม่
อ่าน

Thailand Post Election: เมื่อตุลาการเริ่มตอบโต้การวิพากษ์วิจารณ์ด้วยกฎหมาย

สถาบันตุลาการหรือศาลได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งทางการเมือง เมื่อต้องทำหน้าที่ตีความกฎหมาย พิจารณาตัดสินคดี ปัญหาเกิดขึ้นเพราะหลังการรัฐประหาร ผู้มีอำนาจซึ่งไม่มีความชอบธรรมในทางการเมืองมักออกกฎหมายกดปราบผู้ต่อต้าน จึงเป็นการผลักให้ศาลต้องเผชิญหน้ากับประชาชนโดยตรง และเสียงวิพากษ์วิจารณ์ก็ย่อมดังขึ้นกว่าเดิม   วิธีการที่ศาลหรือหน่วยงานภาครัฐเลือกใช้ในการจัดการกับหรือตอบโต้คำวิพากษ์วิจารณ์ของประชาชนกลับเป็นมาตรการทางกฎหมาย ทำให้หลังการรัฐประหารคดีความเกี่ยวกับการ “ดูหมิ่นศาล” หรือ “ละเมิดอำนาจศาล” เพิ่มขึ้น ยิ่งหลังการเลือกตั้ง ศาลฎีกาและศาลรั
126570
อ่าน

วงเสวนาชี้ ยุบพรรคการเมืองคือการทำลายเสียงประชาชน

8 มกราคม 2563 ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) มีวงเสวนาในหัวข้อพรรคการเมืองกับอนาคตประชาธิปไตยที่ว่าด้วยความสำคัญของสถาบันพรรคการเมือง ปมปัญหาของรัฐธรรมนูญ และบทบาทขององค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการ ซึ่งส่งผลต่ออนาคตประชาธิปไตยไทย
การยุบพรรค
อ่าน

เลือกตั้ง 62: โทษตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรคการเมือง มรดกรัฐประหาร 2549

ย้อนดูพัฒนาการของโทษการยุบพรรคนับตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2549 เดิมทีหากพรรคการเมืองกระทำผิดตามกฎหมายระบุมีโทษยุบพรรคและห้ามจัดตั้งพรรคขึ้นใหม่ภายในห้าปี รัฐประหาร 2549 ได้เพิ่มเงื่อนไขตัดสิทธิทางการเมืองห้าปีเพิ่มเข้ามา จนกระทั่งรัฐประหาร 2557 ที่กฎหมายเปิดช่องให้ศาลรัฐธรรมนูญใช้ดุลพินิจกำหนดเวลาการตัดสิทธิทางการเมือง
Cast Vote by Post
อ่าน

คนไทยในต่างแดนทยอยใช้สิทธิทางไปรษณีย์แต่หากกา “ทษช” ถือเป็นบัตรเสีย

การเลือกตั้งทั่วไปจะเกิดขึ้นวันที่ 24 มี.ค. 2562 ส่วนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตคือ วันที่ 17 มี.ค. 2562 สำหรับการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร กกต. เพียงแต่กำหนดกรอบเวลากว้างๆ ระหว่างวันที่ 4 – 16 มี.คง 2562 เท่านั้นส่วนวัน เวลา วิธีการ และสถานที่การใช้สิทธิขึ้นอยู่กับแต่ละสถานที่จะกำหนด  
-วีระ-ทษช
อ่าน

ยุบพรรคไทยรักษาชาติ: อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต ของพรรคการเมืองในมุมนักรัฐศาสตร์

7 มีนาคม 2562 ศาลรัฐธรรมนูญนัดฟังคำวินิจฉัย กรณี กกต. ยื่นยุบพรรคไทยรักษาชาติ ท่างกลางเสียงกองเชียร์และกองแช่งที่แข็งขัน แต่ทั้งนี้ ในสายตานักรัฐศาสตร์ อย่าง ดร.วีระ หวังสัจจะโชค มองว่า การยุบพรรคดังกล่าวเป็นการทำลายสิทธิของประชาชนที่จะมีตัวแทนทางการเมือง
4 things after dissolve Thai Save the Nation Party
อ่าน

เลือกตั้ง 62: 4 สิ่งที่จะเกิดขึ้นหากศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติ

ในวันที่ 7 มีนาคม 2562 ศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำพิพากษาคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) ซึ่งในวันดังกล่าวคำสั่งของศาลจะมีผลบังคับทันทีเมื่อศาลอ่านคำพากษาเสร็จ จึงเป็นที่สงสัยกันว่าหากศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติออกมาจะส่งผลต่อพรรค กรรมการบริหารพรรคและสมาชิกพรรคทั้งหมดอย่างไร