51686097748_75b428debb_b
อ่าน

เปิดรายชื่อ ส.ว. ที่ลงมติ “ไม่รับหลักการ” ร่างรัฐธรรมนูญเพื่อยกเลิกกลไกสืบทอดอำนาจ คสช.

ภายใต้รัฐธรรมนูญ ปี 2560 มีเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งว่า ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ผ่านความเห็นชอบจากสภา จะต้องได้รับเสียงเห็นชอบจากสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ทั้งในวาระที่หนึ่งชั้นรับหลักการ และในวาระที่สามชั้นเห็นชอบประกาศใช้เป็นกฎหมาย ดังนั้น การลงมติของ ส.ว. จึงเป็นจุดชี้ชะตาของร่างแก้รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ ซึ่งจากการดูผลการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระที่หนึ่งตลอดทั้งสามครั้ง พบว่า มี ส.ว. บางคน ที่เป็นองค์รักษ์พิทักษ์กลไกสืบทอดอำนาจของคสช. อย่างสุดลิ่มทิ่มประตู
51681551223_835d68b096_o
อ่าน

แก้รัฐธรรมนูญภาคสาม: เปิดสามเหตุผล “ยกเลิก ส.ว.-เดินหน้า สภาเดี่ยว”

16-17 พฤศจิกายน 2564 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภามีนัดพิจารณาและลงมติร่างรัฐธรรมนูญฉบับ "รื้อระบอบประยุทธ์" ที่นำโดยกลุ่ม Resolution โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีสาระสำคัญ คือ การยกเลิกวุฒิสภาแล้วกลับไปใช้ระบบ "สภาเดี่ยว" หรือ ให้เหลือแต่สภาผู้แทนราษฎรทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ
Draft Constitutional by Resolution
อ่าน

แก้รัฐธรรมนูญภาคสาม: 16-17 พ.ย. 64 ชวนติดตาม ร่าง Resolution ขอยกเลิก ส.ว.

ข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับ "รื้อระบอบประยุทธ์" จากกลุ่ม Resolution ที่มาจากการเข้าชื่อของประชาชนเตรียมเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา อีกครั้งหนึ่ง ถือเป็นภาคสามของการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 และเป็นครั้งที่สองที่ร่างจากประชาชนได้เข้าสู่สภา เนื้อหาสำคัญคือเสนอให้ยกเลิกวุฒิสภา แต่ยังคงต้องการเสียงสนับสนุนจาก ส.ว. ด้วย
50327805427_f981e88891_c
อ่าน

ผ่าทางตันรัฐธรรมนูญไทยในมุมมอง “สิริพรรณ นกสวน สวัสดี”

รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ มองว่า ข้อเสนอเกี่ยวกับ สสร. ของทั้งพรรคฝ่ายค้านและรัฐบาลยังไม่เพียงพอต่อการสะท้อนกลุ่มก้อนทางสังคมเพราะใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง รวมถึงการแก้รัฐธรรมนูญจำเป็นต้องพิจารณาควบคู่กับสถานการณ์ทางการเมือง ซึ่งจากข้อเสนอเพื่อปิตสวิตช์ ส.ว. อาจต้องพิจารณาเรื่องการแก้ระบบเลือกตั้งควบคู่ไปด้วย
Seminar : Election Commission of Thailand
อ่าน

แก้ปัญหาการทำงานที่บกพร่องของ กกต. ต้องแก้รัฐธรรมนูญ

18 กรกฎาคม 2563 กลุ่ม New Consensus Thailand ได้จัดเวทีสาธารณะในหัวข้อ “กกต. ไทย อย่างไรต่อดี” วงเสวนาได้กล่าวถึงสภาพปัญหาเชิงโครงสร้างของ กกต. อำนาจนิยมที่แอบแฝงอยู่ในโครงสร้าง การทำงานของ กกต. ที่ขาดมาตรฐานชัดเจน และหนทางแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว
49018785843_96681282d3_o
อ่าน

แก้รัฐธรรมนูญ: เปิดข้อเสนอยกเลิก “ส.ว.แต่งตั้ง” ของคสช.

ข้อเสนอของภาคประชาชน นักวิชาการ และพรรคการเมือง มีจุดร่วม คือ การยกเลิก ส.ว. แต่งตั้ง แต่จุดที่ต่างกัน คือ มีกลุ่มภาคประชาชนเสนอให้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองไปใช้ระบบ "สภาเดี่ยว" หรือ ให้มีแต่สภาผู้แทนราษฎรและยกเลิก ส.ว. เป็นการถาวร ในขณะที่ข้อเสนอของพรรคการเมือง เสนอให้ยกเลิก ส.ว. แต่งตั้งที่มาจากการคัดเลือกของ คสช. และให้ดำเนินการสรรหา ส.ว. ชุดใหม่ที่มาจากการแบ่งกลุ่มอาชีพเพื่อทำหน้าที่ไปพลางก่อน