52503518444_2a7f803855_o
อ่าน

เปิดแนวคำพิพากษาและประมวลความคืบหน้า คดีการแสดงออกต่อ “พระบรมฉายาลักษณ์และซุ้มเฉลิมพระเกียรติ”

การเผา – ทำลาย หรือการแสดงออกในรูปแบบอื่นๆ ต่อซุ้มเฉลิมพระเกียรติ เป็นการแสดงออกทางการเมืองรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นอยู่เป็นระยะในช่วงการชุมนุมตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปี 2564 แม้ว่าก่อนหน้านั้นในยุคคสช.
52300499945_b275eab79c_k
อ่าน

ครบ 1 เดือน คดีสาดสีพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ได้ประกันตัว! 7 (+3) ทะลุฟ้า เตรียมไปศาล ตรวจพยานหลักฐาน 22 ส.ค. 65

22 สิงหาคม 2565 ศาลอาญากำหนดนัดตรวจพยานหลักฐาน ในคดีที่ผู้ชุมนุมกลุ่มทะลุฟ้า 10 คน เป็นจำเลยจากการจัดชุมนุมเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์เลิกสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล เมื่อ 30 กรกฎาคม 2564 บริเวณหน้าที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ เขตพญาไท ซึ่งในคดีนี้ มีจำเลย 7 คนที่ไม่ได้รับการประกันตัวและถูกคุมขังมาเกินหนึ่งเดือนแล้วจะถูกเบิกตัวมาศาลเพื่อเข้าฟังการพิจารณาคดีด้วย เอกสารคำฟ้องในคดีระบุว่า ในวันจัดการชุมนุมดังกล่าว ผู้ชุมนุมทำกิจกรรมปาถุงสีแดงเข้าไปในบริเวณที่ทำการพรรค รวมทั้งมีกา
52296599150_0cd71cd12c_o
อ่าน

นักโทษการเมือง #ระลอก4 ยังคง “เข้า-ออก เรือนจำ” ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5

จนถึงวันที่ 19 สิงหาคม 2565 มีนักกิจกรรมทางการเมืองที่ถูกคุมขังระหว่างการสอบสวนและระหว่างที่คดียังไม่ถึงที่สุดอย่างน้อย 29 คน  นับจากกระแสเรียกร้องทางการเมืองรอบใหม่การคุมขังนักเคลื่อนไหวทางการเมืองเกิดขึ้นเป็นระลอกๆ ตามบรรยากาศการชุมนุมเรียกร้องที่ขยายตัวขึ้นและลง ในช่วงเวลานี้ถือเป็นระลอกที่สี่แล้ว ไล่เรียงมาตั้งแต่ (1) ช่วงเดือนตุลาคม 2563 (2) ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 (3) ช่วงเดือนสิงหาคม 2564  (4) หลังการทยอยปล่อยตัวแกนนำราษฎรเมื่อเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2565 ไม่นานนัก “คำสั่งคุมขัง” ก็กลับมาอ
52278763815_6f6199d9a6_o
อ่าน

แซม ทะลุฟ้า จำเลยคดีเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติไม่ได้รับการประกันตัวเป็นครั้งที่ 4

11 สิงหาคม 2565 ศาลอาญานัดไต่สวนคำร้องคัดค้านฝากขัง พรชัย ยวนยี หรือ “แซม ทะลุฟ้า” พรชัยถูกตั้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยถูกกล่าวหาว่าร่วมกับผู้อื่นเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่สิบเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2564 ระหว่างการชุมนุมคาร์ม็อบในโอกาสครบรอบ 15 ปี การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 พรชัยถูกจับกุมตัวเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 ระหว่างที่เขาไปติดต่อราชการกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อขอให้เพิกถอนหมายจับในคดีการชุมนุมของ 14 นักศึกษา ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ที่เกิดขึ้นในปี 2558 และคดีสิ้นสุดไปแล้วเพื่อเตรียมเดินทางไปต่างประเทศ แต
52260097708_3f2c1e91d9_o
อ่าน

บลูเบอร์รี่ชีสเค้ก ความสุขของ “คิม-ป่าน” ทะลุฟ้า สองผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำ

ทสมา หรือ คิม และกตัญญู หรือ ป่าน เป็นสมาชิกกลุ่มทะลุฟ้าที่เป็นผู้หญิงสองคน ที่วันนี้ถูกคุมขังอยู่ในทัณฑสถานหญิงกลางโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 จากคดีชุมนุมและสาดสีหน้าอาคารพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 ซึ่งอัยการตั้งข้อหาฐานมั่วสุมก่อความวุ่นวาย ตามมาตรา 215, 216 และฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยศาลให้เหตุผลว่าการกระทำเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ใช้ความรุนแรงทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงน่าเชื่อว่าหากให้ประกันตัวจะก่อให้เกิดภ
297371141_10166809536450551_2954540608230428870_n
อ่าน

27 วันของ “แซม ทะลุฟ้า” ในเรือนจำ

พรชัย ยวนยี หรือ “แซม ทะลุฟ้า” ถูกฝากขังในเรือนจำในคดีมาตรา 112 จากการเข้าร่วมการชุมนุม เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2564 โดยตำรวจกล่าวหาว่า แซมร่วมกันวางแผนเพื่อปาระเบิดเพลิงใส่พระบรมฉายาลักษณ์ที่อยู่บนสะพานลอยหน้าโรงเรียนราชวินิตแต่ไม่ลุกไหม้ เพราะก่อนเกิดเหตุมีฝนตกหนักทำให้ซุ้มเปียกชื้น แซมมีแผนการเดินทางไปต่างประเทศ จึงไปรายงานตัวเพื่อ “เคลียร์” หมายจับสำหรับการเดินทาง และถูกแจ้งว่า มีหมายจับในคดีนี้ เขาถูกฝากขังในเรือนจำตั้งแต่วันที่ 7 กรก
52246699276_4fe35233fe_o
อ่าน

“ก็แค่มาตรวจให้นายเท่านั้นแหละ” ตำรวจเยี่ยมบ้าน 2 สมาชิก #ทะลุฟ้า ก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษา

27 กรกฎาคม 2565 นักกิจกรรมทะลุฟ้าสองคนแจ้งว่า เมื่อช่วงเช้าตำรวจเข้า “เยี่ยมบ้าน” และพูดคุยกับผู้ปกครองของทั้งสองในลักษณะคล้ายคลึงกัน การคุกคามครั้งนี้อาจเกี่ยวเนื่องกับกรณีที่โลกออนไลน์นัดทำกิจกรรมสวมใส่เสื้อดำในวันที่ 28 กรกฎาคม 2565 ซึ่งตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษารัชกาลที่สิบ อย่างไรก็ตาม ทะลุฟ้าไม่ได้มีการประกาศทำกิจกรรมในวันนี้หรือเกี่ยวเนื่องกับการสวมเสื้อดำแต่อย่างใด   เขาบอกว่า “โดนสั่งมาให้มาดูที่อยู่น้อง” แล้วก็ขอถ่ายรูปกับแม่เรา  ออ นักกิจกรรมอายุ 20 ปี หนึ่งในสมาชิกที่ถู
294172336_10166767490680551_5948239796951449394_n
อ่าน

ว่าด้วยรักและอุดมการณ์ของ “แซม ทะลุฟ้า” ในสายตาคู่ชีวิต

“เอาจริงๆ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เราเจอเรื่องแบบนี้ เราเคยผ่านมันมาแล้ว กำลังใจเรายังดี ..” เสียงจากปลายสายโทรศัพท์ตอบกลับด้วยน้ำเสียงที่ยังคงสดใสเมื่อถูกถามถึงสภาพจิตใจ ในยามที่ต้องรับมือกับสารพัดปัญหาหลังคู่ชีวิตถูกคุมขังในเรือนจำแบบไม่มีใครทันตั้งตัว และศาลยังไม่ให้สิทธิในการประกันตัว แม้ว่าการต้องเข้าเรือนจำของ พรชัย ยวนยี หรือ แซม นักเคลื่อนไหวทางการเมืองในนามกลุ่มทะลุฟ้าและอดีตเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย จะไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับ ‘เอ’ คู่ชีวิตของแซม แต่ภายใต้รัฐบาลที่สืบทอดอำนาจต่อมาจา
52231112436_73fbca9ee1_o
อ่าน

#ปล่อยเพื่อนเรา มีนักโทษการเมือง 30 คนในเรือนจำ

จนถึงวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 มีนักกิจกรรมทางการเมืองที่ถูกคุมขังระหว่างการสอบสวนและระหว่างที่คดียังไม่ถึงที่สุดอย่างน้อย 30 คน นับจากกระแสเรียกร้องทางการเมืองรอบใหม่ หลังการชุมนุมของเยาวชนปลดแอกในปี 2563 การคุมขังนักเคลื่อนไหวทางการเมืองเกิดขึ้นเป็นระลอกๆ ตามบรรยากาศการชุมนุมเรียกร้องที่ขยายตัวขึ้นและลง ครั้งนี้ถือเป็นระลอกที่สี่แล้ว ไล่เรียงมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563, เดือนกุมภาพันธ์ 2564, เดือนสิงหาคม 2564 และเดือนมีนาคม 2565 ในเดือนเมษายน 2565 มีการไต่สวนเพิกถอนสัญญาประกันของผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 ทั้งสิ้น
52220022956_1e91c5ba57_k
อ่าน

บ้านทะลุฟ้าในคืนนี้ ไม่มีเสียงกวีของพี่แซม

“หมดจิตหมดใจจะใฝ่ฝัน การสร้างสรรค์ย่อมสิ้นแผ่นดินหมอง กลัวน้ำตาไหลหลั่งดั่งน้ำนอง ก็จะต้องเห็นแก่ตัวชั่วนิรันดร์…”