49682457551_582f6e4883_o
อ่าน

เปิดเหตุผลตุลาการเสียงข้างน้อย เมื่อยุบพรรคแล้วให้ตัดสิทธิตลอดชีวิต

การที่กฎหมายไม่กำหนดระยะเวลาให้ชัดเจนว่า จะตัดสิทธิเลือกตั้งได้นานเท่าใด ทำให้เกิดการตีความ จนกระทั่งกรรมการบริหารพรรคการเมืองถูกเพิกถอนสิทธิรับสมัครเลือกตั้งตลอดชีวิตก็เป็นได้
เปิดคำวินิจฉัยส่วนตน พบ "ประธานศาลรัฐธรรมนูญ" วินิจฉัยเป็นคุณกับคสช.
อ่าน

เปิดคำวินิจฉัยส่วนตน พบ “ประธานศาลรัฐธรรมนูญ” วินิจฉัยเป็นคุณกับ คสช.

ท่ามกลางกระแสความเห็นที่แตกต่างในข้อเท็จจริงของคดียุบพรรคอนาคตใหม่ จากกรณีกู้เงินธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ว่าศาลสามารถตัดสินอย่างไรได้บ้าง อยากชวนทุกคนสำรวจที่มาและความคิดเห็นของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนในการวินิจฉัยคดีทางการเมือง เพื่อให้เห็นทิศทางของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
เสวนา “ประชาชนอยู่ตรงไหน เมื่อตุลาการเป็นใหญ่ในแผ่นดิน”
อ่าน

นักกฎหมายแนะเพิ่มระบบตรวจสอบศาลรัฐธรรมนูญ ยันประชาชนใหญ่สุด วิจารณ์ศาลได้

19 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ห้องประชุมคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มธ. ท่าพระจันทร์ มีวงเสวนาเรื่องประชาชนอยู่ตรงไหน เมื่อตุลาการเป็นใหญ่ในแผ่นดิน วิทยากรประกอบด้วย ผศ.ธีระ สุธีวรางกูร คณะนิติศาสตร์ มธ., ดร.เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ, รศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาฯ มธ. และสัณหวรรณ สีสด จากคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่ 4 คน
อ่าน

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่ 4 คน อาจมาไม่ทันอ่านคดียุบพรรคอนาคตใหม่

วุฒิสภาได้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 4 จาก 5 คน ในวันที่ 11 ก.พ. 63 ส่วน 21 ก.พ. 63 เป็นวันนัดฟังคำวินิจฉัยคดีพรรคอนาคตใหม่กู้เงินธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ชวนดูว่าแล้วว่าที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 4 คน จะมาทันคดียุบพรรคอนาคตใหม่หรือไม่
ส.ว. ประชุมลับ เห็นชอบตุลาการศาลรัฐธรรมนูญใหม่ 4 คน ไม่เห็นชอบ 1 คน
อ่าน

ส.ว.ประชุมลับ เห็นชอบตุลาการศาลรัฐธรรมนูญใหม่ 4 คน ไม่เห็นชอบ 1 คนตัวแทนศาลปกครองสูงสุด

11 กุมภาพันธ์ 2563 วุฒิสภามีมติเห็นชอบบุคคลผู้ได้รับเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หลังจาก กมธ.ตรวจสอบประวัติฯ ได้ขอเลื่อนการพิจารณาคุณสมบัติมากถึง 4 ครั้ง นับจนถึงวันนี้เป็นระยะเวลากว่า 163 วัน สุดท้ายแล้ววุฒิสภามีมติเห็นชอบว่าที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมด 4 จาก 5 คน
Constitutional Court calls Kovit
อ่าน

เชิญ รศ.โกวิท เข้าพบเหตุทวีตวิจารณ์ “เกินคำว่า ด้าน” เป็นการใช้อำนาจครั้งแรก หลังมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ

27 สิงหาคม 2562 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้ออกจดหมายเชิญ รศ.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์  เข้าชี้แจงข้อเท็จจริงจากการโพสต์ข้อความในทวิตเตอร์วิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญอย่างไม่เหมาะสม เป็นการออกหนังสือเชิญต่อบุคคลภายนอกให้เข้าชี้แจงเกี่ยวกับการวิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรกของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ หลัง พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรับธรรมนูญ ฉบับใหม่ประกาศใช้  
ปมเจ้าหน้าที่รัฐ-1
อ่าน

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคุณสมบัติประยุทธ์ ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ เป็นนายกฯ ต่อได้

วันนี้ (18 กันยายน 2562) ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยเรื่องความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ เนื่องจากดำรงตำแหน่งหัวหน้า คสช. ซึ่งถือเป็นเจ้าหน้ารัฐ ศาลวินิจฉัยว่า พล.อ. ประยุทธ์ ในฐานะหัวหน้า คสช. ไม่ใช่เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ทำให้ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญและไม่ขาดคุณสมบัติ “ความเป็นนายกรัฐมนตรี”   
ชะตากรรมเพื่อไทย หากไร้ไทยรักษาชาติ
อ่าน

เลือกตั้ง 62: ชะตากรรมเพื่อไทย หากไร้ไทยรักษาชาติ

หากยังจำกันได้ในช่วงปลายปี 2561 พรรคการเมืองหน้าใหม่ชื่อ “ไทยรักษาชาติ” มีตัวย่อ “ทษช.” ถูกกล่าวขวัญถึงในสังคมว่าตัวย่อนี้มาจากชื่อของ “ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรี ตามมาด้วยการตบเท้าเดินเข้าพรรคของอดีตสมาชิก และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จากพรรคเพื่อไทย ทั้งรุ่นเล็ก รุ่นใหญ่ อาทิ จาตุรนต์ ฉายแสง, ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ และ ขัตติยา สวัสดิผล ก็เข้ามาอยู่ในมุ้งไทยรักษาชาติ ภายใต้ยุทธศาสตร์ “แยกกันเดิน ร่วมกันตี” ซึ่งเกิดขึ้นจากผลกระทบของระบบเลือกตั้งแบบใหม่ ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ทำให้พรรคเพื่อไทยได้เก้าอี้ ส.ส. น้อยลง
อ่าน

สี่ปี คสช. ใช้มาตรา44 + สนช. เข้ายึดองค์กรอิสระได้เบ็ดเสร็จตามใจ

ระหว่างที่วุฒิสภาไม่มีอยู่ สนช. ที่ คสช. แต่งตั้งใช้อำนาจแทน รวมไปถึงการเห็นชอบคนเข้าไปอยู่ในองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ตรวจสอบทุจริต คสช. ยังใช้มาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. อีก 14 ฉบับเพื่อเข้าไปออกแบบการสรรหาองค์กรอิสระโดยตรง และมีไม้ตายสุดท้าย คือ ใช้การเซ็ตซีโรให้เริ่มการสรรหาใหม่ทั้งหมด
Jarun and Udom
อ่าน

ห้ามวิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญ โทษจำคุก มาได้ยังไง? : ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ขอ – กรธ. ไม่ได้ให้เอง

ข้อค้นพบจากงานเสวนาชี้ให้เห็นความสับสนในที่มา เมื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ บอกว่า ไม่ต้องการโทษจำคุกสำหรับความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล แต่กรรมการร่างรัฐธรรมนูญกลับบอกว่า ไม่ได้เป็นคนใส่เพิ่มขึ้นมา ขณะกฎหมายที่ประกาศใช้กำหนดให้การวิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญโดยไม่สุจริตมีโทษจำคุก 1 เดือน