อ่าน

ภาคประชาชนเสนอกฎหมาย “เพิ่มโทษ-สร้างกลไก” ป้องกันการอุ้มหายซ้อมทรมาน

คำสั่งไม่ฟ้องของอัยการต่อหกผู้ต้องหาในคดีฆาตกรรม 'บิลลี่' พอละจี รักจงเจริญ แกนนำกะเหรี่ยงแก่งกระจานที่หายตัวไปตั้งแต่ปี 2557 ที่ต่อมาถูกพบเป็นศพ ท่ามกลางความเห็นที่แตกต่างของกรมสอบสวนคดีพิเศษเกี่ยวกับพยานหลักฐาน ทำให้ปัญหาช่องโหว่ในกระบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับการบังคับให้บุคคลสูญหาย หรือ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า 'การอุ้มหาย' ถูกนำมาพูดถึงอีกครั้ง   ปัญหาสำคัญของคดีอุ้มหายที่สำคัญ คือ กระบวนการยุติธรรมที่ขาดความสม่ำเสมอและมีหลายมาตรฐาน รวมถึงขาดกลไกและผู้รับผิดชอบโดยตรง ซึ่งเป็นปัญหาเดียวกันกับคดีซ้อมทรมานผู้ต้องหาที่ขาดกฎหมายที่สามารถบังคับใช้ได้เป็
Amnesty Report
อ่าน

ยกย่องบทบาทคนรุ่นใหม่ที่ลุกขึ้นสู้ ภายใต้การกดขี่เสรีภาพทั้งภูมิภาค

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลแถลงเปิดตัวรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประจำปีในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยระบุว่า กระแสการประท้วงทั่วเอเชียที่มีเยาวชนเป็นแกนนำ ถือเป็นความพยายามในการต่อต้านการปราบปรามที่เพิ่มขึ้นและการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบทั่วภูมิภาค
DuiJai Report
อ่าน

รายงาน สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยกลุ่มด้วยใจ

กลุ่มด้วยใจนำเสนอรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2561 ประกอบด้วยสรุปย่อเนื้อหาและรายงานฉบับเต็ม
Statement on Torture
อ่าน

แถลงการณ์ร่วม ประเทศไทย: ต้องให้ความสำคัญกับการแก้ไขเพิ่มเติมและการออกกฎหมายเกี่ยวกับการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย

แอมเนสตี้แถลงร่วม ICJ ผิดหวังต่อข่าวที่ระบุว่า "ร่าง พ.ร.บ.ทรมานและอุ้มหาย" ต้องล่าช้าออกไปอีก พร้อมเรียกร้องทางการไทยให้เร่งออกกฎหมายนี้โดยเร็ว
อ่าน

เน้นสภาพเรือนจำ การส่งกลับผู้ลี้ภัย การใช้กฎหมายพิเศษ ในรายงานคู่ขนานสถานการณ์การทรมาน

ภาครัฐส่งรายงานสถาการณ์การทรมานในประเทศไทยต่อกรรมการสากลแล้ว ภาคประชาสังคมมีเวลาถึงต้นปีหน้า เตรียมจัดทำรายงานคู่ขนานระบุประเด็นสำคัญ คำนิยามของ"ทรมาน" การป้องกันเหตุ การบังคับใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคง สภาพในเรือนจำ การผลักดันผู้ลี้ภัย และการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่
อ่าน

กรมคุ้มครองสิทธิฯ เผยสามร่างกฎหมายคุ้มครองเสรีภาพประชาชน ร่างเสร็จพร้อมเสนอ

ร่างพ.ร.บ.จดทะเบียนคู่ชีวิต ร่างพ.ร.บ.ข้อสัญญาไม่เป็นธรรม กรณีเกษตรพันธะสัญญา และร่างพ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายอาญาและวิธีพิจารณาความอาญา ประเด็นต่อต้านการทรมาน กรมคุ้มครองสิทธิร่างเสร็จแล้ว แต่ยังไม่ได้เสนอ เพราะรอ10,000 ชื่อจากประชาชน
Torture
อ่าน

สถานการณ์ซ้อมทรมานปี 2555: ยังเลวร้าย ไม่เปลี่ยนแปลง

การซ้อมทรมานเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศไทย แม้ว่าในปี2550 รัฐไทยจะเข้าเป็นภาคีกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี แต่ระบบกฎหมายไทยกลับไม่มีนิยามหรือกำหนดบทลงโทษที่ชัดเจนสำหรับความผิดฐานทรมาน ทำให้การซ้อมทรมานยังเกิดขึ้นต่อเนื่องโดยไม่มีทีท่าว่าจะเบาบางลงไป 
อ่าน

การทรมาน: ชดเชย แต่ไม่ป้องกัน

ประเทศไทยยังไม่มีฐานความผิดตามกฎหมายที่มารองรับการกระทำ "ทรมาน" ซึ่งหลายองค์กรอยู่ระหว่างการผลักดันให้แก้ไขกฎหมาย แต่สิ่งที่ท้าทายคือ แม้มีความผิดฐานทรมานเพื่อเอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐแล้ว จะทำอย่างไรให้ใช้ได้จริงในทางปฎิบัติ และจะป้องกันไม่ให้เกิดการทรมานได้หรือไม่
อ่าน

ภาครัฐเห็นค้าน ประชาชนขอตั้งองค์กรอิสระป้องกันการทรมาน

อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้ มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี หรือเรียกสั้นๆ ว่าอนุสัญญา CAT มีผลใช้บังคับในไทยตั้งแต่ปี 2550 ประเทศไทยจึงมีหน้าที่หรือพันธกรณีต้องปฏิบัติตามหลักการในอนุสัญญา แต่กฎหมายไทยยังมีข้อจำกัดทั้งในแง่เนื้อหาและวิธีปฏิบัติ  ทุกฝ่ายจึงเห็นตรงกันว่าประเทศไทยมีภาระหน้าที่ต้องแก้ไขกฎหมายที่เกียวข้อง อีกหลายประเด็น