อ่าน

ข้อดี – ข้อเสีย ไพรมารี่โหวต ของ คสช.

ระบบไพรมารี่โหวต ถูกกำหนดให้พรรคการเมืองทุกพรรคต้องดำเนินการก่อนจะส่งตัวแทนพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นว่าที่ ส.ส. พรรคการเมืองหลายพรรคทั้งเก่าและใหม่ต่างเห็นว่าระบบไพรมารี่โหวตจะเป็นอุปสรรคในการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นข้างหน้า ซึ่งข้อดีและข้อเสียของระบบไพรมารี่โหวตแบบไทยๆ มีดังนี้
อ่าน

นับถอยหลัง ‘ภารกิจหนีตาย’ ที่ คสช. เขียน พรรคการเมืองเล่น

ท่ามกลางการลงพื้นที่ (หาเสียง) ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันโอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แต่พรรคการเมืองทั้งใหม่และเก่ายังไม่สามารถขยับตัวได้ เนื่องจากติดเงื่อนไขห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมืองตามประกาศคสช. ที่ 57/2557 และ คำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 3/2558 ทั้งนี้ หากไม่ปฏิบัติตามจะต้องได้รับโทษ ไม่ว่าจะเป็นโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ
อ่าน

18 ข้อต้องห้าม ถ้าฝ่าฝืนให้องค์กรอิสระยุบพรรคการเมือง

การตั้งพรรคการเมืองตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง ค่อนข้างที่จะเป็นเรื่องยาก ไม่ว่าจะเป็นการต้องใช้ผู้ร่วมจัดตั้งพรรคถึง 500 คน แล้วภายใน 1 ปียังต้องมีสมาชิกพรรคไม่น้อยกว่า 5,000 คน รวมถึงต้องตั้งสาขาพรรคการเมืองในแต่ละภาคอย่างน้อย 1 สาขา และมีทุนประเดิมการตั้งพรรคอย่างน้อย 1,000,000 บาท โดยผู้ร่วมจัดตั้งพรรคทุกคนต้องร่วมจ่ายคนละอย่างน้อย 1,000 บาทแต่ไม่เกิน 50,000 บาท แต่ทว่า การสิ้นสุดของพรรคการเมืองกลับมีเหตุผลและเงื่อนไขจำนวนมากที่จะทำให้ยุบพรรคได้ง่ายๆ ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 18 ข้อ ตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง
อ่าน

เส้นทางพรรคการเมืองไม่เอาทหาร ยังไม่ง่าย! คสช. วางกลไกขวางไว้เพียบ

เส้นทางของพรรคการเมืองหน้าใหม่ที่ประกาศตัวเป็นปฏิปักษ์กับ คสช. นั้นไม่ง่าย เพราะกลไกการเข้าสู่อำนาจผ่านการเลือกตั้งนั้น ยังต้องเป็นไปตามกติกาในรัฐธรรมนูญ 2560 และกฎหมายลูกอีกหลายฉบับ รวมทั้งประกาศ และคำสั่งของ คสช. ที่ยังมีผลบังคับใช้ซึ่ง คสช. วางกลไกกับดักเอาไว้มากมาย
์NCPO amend political party bill
อ่าน

คสช. ใช้ ม.44 แก้ พ.ร.ป.พรรคการเมืองฯ ระบุปลดล็อคเมื่อประกาศกฎหมายลูก ส.ว.-ส.ส.

หัวหน้าคสช. ออก คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 53/2560 แก้ไขพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 เพื่อเพิ่มเติมเงื่อนไขกับสมาชิกพรรคการเมืองเก่าให้ต้องดำเนินการแจ้งแสดงตัวเป็นสมาชิกต่อหัวหน้าพรรค และขยายกรอบเวลาให้พรรคการเมืองดำเนินงานธุรการโดยการต้องขออนุญาตจาก คสช. และกำหนดเงื่อนไขปลดล็อคพรรคการเมือง เมื่อพ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งส.ว. และการเลือกตั้งส.ส. ประกาศใช้
prayuth
อ่าน

ปลดล็อคพรรคการเมืองคืออะไร ถ้าไม่ปลดล็อคแล้วจะทำไม

คำว่า 'ปลดล็อคพรรคการเมือง' เกิดขึ้นหลังพรรคการเมืองหลายต่อหลายพรรคร่วมกันจี้ รัฐบาล คสช. ให้ยกเลิกคำสั่ง-ประกาศ คสช. บางฉบับ ที่ขัดขวางการดำเนินการตามกฎหมายพรรคการเมืองฉบับใหม่ ส่วนสำคัญอย่างไร ถ้าไม่ปลดล็อคจะเกิดอะไรขึ้น คำตอบก็คือ เพื่อให้พรรคการเมืองได้ดำเนินการตามกฎหมาย ไม่ต้องเสี่ยงหมดสิทธิส่ง ส.ส. ลงสมัคร หรือไม่ได้รับเงินสนับสนุนในการแข่งขันทางการเมือง