RECAP2022: รวมไฮไลท์ความเคลื่อนไหวทางการเมืองแห่งปี
อ่าน

RECAP2022: รวมไฮไลท์ความเคลื่อนไหวทางการเมืองแห่งปี

ในปี 2565 มีเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองเกิดขึ้นหลายอย่าง แต่มีอย่างน้อยแปดเรื่องที่เราอยากจะไฮไลท์เพื่อให้ทุกคนมองเห็นความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เกิดขึ้นตลอดปี และสิ่งเหล่านี้อาจจะส่งผลต่อการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ในอนาคต
ประชุมสภา: สภาล่มครั้งที่ 19 ร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. มีแนวโน้มพลิกกลับไปสูตรหาร 100
อ่าน

ประชุมสภา: สภาล่มครั้งที่ 19 ร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. มีแนวโน้มพลิกกลับไปสูตรหาร 100

10 สิงหาคม 2565 ที่ประชุมรัฐสภามีนัดพิจารณา ร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. ในวาระสอง โดยในวันดังกล่าว สภาได้พิจารณาไปถึงมาตรา 24/1 แต่ทว่า ผลการลงมติในมาตราดังกล่าวมีไม่ถึงจำนวนกึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา ทำให้ พลเพชร วิชิตชลชัย ที่ทำหน้าที่เป็นประธานรัฐสภาสั่งปิดการประชุม และมีแนวโน้มที่รัฐสภาจะพิจารณากฎหมายไม่ทัน 180 วัน และถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบ ร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. ฉบับ ครม. ที่ใช้สูตรคำนวณที่นั่ง ส.ส. แบบสูตรหาร 100
สภาล่ม: จากความบกพร่องสู่ความตั้งใจของฝ่ายรัฐบาล
อ่าน

สภาล่ม: จากความบกพร่องสู่ความตั้งใจของฝ่ายรัฐบาล

นับตั้งแต่เปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภาตั้งแต่ปี 2562 มีเหตุการณ์สภาล่มเกิดขึ้นรวมกัน อย่างน้อย 18 ครั้ง โดยจากสถิติการเข้าประชุมสภาสะท้อนว่า ฝ่ายรัฐบาลซึ่งไปด้วยไปด้วยพรรครัฐบาลและสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งไม่สามารถรักษาองค์ประชุมได้ อีกทั้ง ในช่วงหลังฝ่ายรัฐบาลพยายามใช้เหตุการณ์สภาล่มเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของตนเอง
อนาคตคราฟท์เบียร์ไทย ภายใต้ พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า
อ่าน

อนาคตคราฟท์เบียร์ไทย ภายใต้ พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า

9 กุมภาพันธ์ 2565 สภาผู้แทนราษฎรมติให้ส่งร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า ไปให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อน 60 วัน ก่อนจะส่งกลับมาให้สภาพิจารณาอีกครั้ง โดยร่างกฎหมายดังกล่าว พยายามจะเปิดทางให้ผู้ประกอบการรายย่อยที่ต้องการผลิตสุราสามารถแข่งขันในตลาดได้ รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคที่ต้องการต้มเบียร์กินเองสามารถทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย
เปิดสถิติ “สภาอับปาง” ล่ม 15 ครั้งภายใน 3 ปี ยิ่งรัฐบาลขัดแย้ง ยิ่งล่มบ่อย
อ่าน

เปิดสถิติ “สภาอับปาง” ล่ม 15 ครั้งภายใน 3 ปี ยิ่งรัฐบาลขัดแย้ง ยิ่งล่มบ่อย

สภาที่มาจากการเลือกตั้งชุดแรกภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 ประสบปัญหา "สภาล่ม" อยู่บ่อยครั้ง นับตั้งแต่การเลือกตั้งในเดือนมีนาคม 2562 จนถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 การประชุมสภาผู้แทนราษฎรและการประชุมรัฐสภา "ล่ม" ไปแล้วรวมกันถึง 15 ครั้ง ย้อนดูสถิติสภาล่มที่แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดยเฉพาะในขั้วรัฐบาล
สภาล่มคืออะไร? ตอบคำถามคาใจสภาอับปาง
อ่าน

สภาล่มคืออะไร? ตอบคำถามคาใจสภาอับปาง

นับตั้งแต่สภาชุดปัจจุบันที่มาจากการเลือกตั้งเข้าทำหน้าที่ในช่วงต้นปี 2562 เกิดเหตุการณ์ “สภาล่ม” ไปแล้วถึง 15 ครั้ง และยิ่งในช่วงที่รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคพลังประชารัฐกำลังสั่นคลอนจากปัญหาความขัดแย้งภายในพรรค เหตุการณ์สภาล่มก็ยิ่งเกิดถี่ขึ้นเรื่อย ๆ ชวนทำความรู้จักว่าสภาล่มคืออะไร การไม่แสดงตนคืออะไร ฝ่ายค้านใช้สภาล่มได้อย่างไร และผลของสภาล่มคืออะไร
เช็คเรียงพรรคปมสภาล่ม ก่อนลงมติ #สุราก้าวหน้า เพื่อไทยเทร่วมร้อย ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลหาย 76 คน
อ่าน

เช็คเรียงพรรคปมสภาล่ม ก่อนลงมติ #สุราก้าวหน้า เพื่อไทยเทร่วมร้อย ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลหาย 76 คน

2 ก.พ. 2565 สภาผู้แทนราษฎรมีนัดพิจารณาร่างกฎหมาย #สุราก้าวหน้า ก่อนจะลงมติว่าสภาฯ จะให้ครม. นำร่างกฎหมายดังกล่าวไปพิจารณาก่อนรับหลักการหรือไม่ ปรากฏว่าองค์ประชุมไม่ครบ #สภาล่ม ส.ส. พรรคเพื่อไทยไม่แสดงตนร่วมร้อย ขณะที่ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลไม่แสดงตน 76 คน
พล.อ.ประยุทธ์ เสี่ยง “แพ้โหวตในสภา” หลังก๊วนธรรมนัสย้ายค่าย
อ่าน

พล.อ.ประยุทธ์ เสี่ยง “แพ้โหวตในสภา” หลังก๊วนธรรมนัสย้ายค่าย

จากกรณีที่กรรมการบริหารพรรคพลังพลังประชารัฐ รวมทั้ง ส.ส.พรรค ทั้งหมด 78 เสียง มีมติขับ ร.อ.ธรรมนัส และพวกรวมทั้งหมด 21 คน ออกจากพรรค ผลที่จะตามมา คือ จำนวน ส.ส. ในพรรคพลังประชารัฐจะลดลงครั้งใหญ่ ถ้าหากทั้ง 21 คนยังคงสนับสนุนรัฐบาลเพียงแต่ย้ายไปอยู่พรรคใหม่ในชื่ออื่น ก็อาจกระทบต่อความอยู่รอดไม่มาก แต่ถ้าหาก 21 เสียงนี้พร้อมต่อรอง โดยการลงมติสวนรัฐบาลบ้าง เสียงฝ่ายรัฐบาลอาจจะมีสภาวะ "ปริ่มน้ำ" หรือมีเสียงสนับสนุนในสภาเกินกึ่งหนึ่งมาเพียงเล็กน้อย