สภาปัดตกสองร่างพ.ร.บ. #ปลดอาวุธคสช ไม่รับข้อเสนอรื้อมรดกจากคณะรัฐประหาร
อ่าน

สภาปัดตกสองร่างพ.ร.บ. #ปลดอาวุธคสช ไม่รับข้อเสนอรื้อมรดกจากคณะรัฐประหาร

15 ธันวาคม 2564 สภาผู้แทนราษฎร มีมติ “ไม่รับหลักการ” ร่างพ.ร.บ. #ปลดอาวุธคสช. จากภาคประชาชน ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 162 เสียง ไม่เห็นด้วย 234 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 1 
ระเบียบสภาทนายความบังคับแต่งกายตามเพศกำเนิด นักศึกษานิติศาสตร์ ร้อง วลพ.​ เลือกปฏิบัติทางเพศ
อ่าน

ระเบียบสภาทนายความบังคับแต่งกายตามเพศกำเนิด นักศึกษานิติศาสตร์ ร้อง วลพ.​ เลือกปฏิบัติทางเพศ

ระเบียบของสภาทนายความ ยังคงกำหนดการแต่งกายของผู้ที่จะสอบใบอนุญาตว่าความต้องแต่งกายยึดตามเพศกำเนิด สำหรับผู้ที่มีเพศสภาพต่างจากเพศกำเนิด ยังต้องใช้ระบบขออนุญาตเพื่อให้สามารถแต่งกายตามเพศสภาพได้ หากฝ่าฝืนจะถูกตัดคะแนนสอบ
“บุญลือ” : ชีวิตที่ไม่อาจเดินตามความฝันเพราะคดี 112
อ่าน

“บุญลือ” : ชีวิตที่ไม่อาจเดินตามความฝันเพราะคดี 112

บุญลือ (นามสมมติ) เป็นบัณฑิตจบใหม่จากคณะนิติศาสตร์ เขามีความฝันที่อยากจะทำงานเป็นข้าราชการเพราะต้องการที่จะทำให้คนในครอบครัวของเขามีชีวิตที่สบาย แต่แล้วทุกสิ่งก็เปลี่ยนไปเมื่อเขาถูกแจ้งความดำเนินคดีหมิ่นพระมหากษัตริย์ เขาได้รับหมายเรียกให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาจากการคอมเมนต์ในเพจเฟสบุ๊กเกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์การเมืองและสถาบันกษัตริย์ เขาถูกกล่าวหาแจ้งความดำเนินคดีที่จังหวัดพังงา โดยเขาต้องเดินทางจากจังหวัดสุโขทัยเพื่อไปรับทราบข้อกล่าวหาเป็นระยะทางกว่า 1,185 กิโลเมตร จากนี้ไปคือความเป็นมาของตน, ที่มาของการดำเนินคดี รวมไปถึงชีวิตความเป็นอยู่หลังจากตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาคดีหมิ่นพระมหากษัตริย์
บาส มงคล: สองคดี 27 ข้อความ หลังเปิดตัวอดอาหารหน้าศาล
อ่าน

บาส มงคล: สองคดี 27 ข้อความ หลังเปิดตัวอดอาหารหน้าศาล

ในเดือนเมษายน 2564 ระหว่างที่ผู้ต้องหาและจำเลยที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น เพนกวิน พริษฐ์ ชิวารักษ์, ทนายอานนท์ นำภา, ไผ่ จตุภัทร์ ฯลฯ ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำด้วยคดีมาตรา 112 ชายหนุ่มวัย 28 ปี เดินทางจากบ้านที่จังหวัดเชียงรายมาที่หน้าศาลอาญาด้วยตัวคนเดียวและกระเป๋าเป้หนึ่งใบ เพื่อมาปักหลักเรียกร้องสิทธิการประกันตัวให้ผู้ต้องขังคดีการเมืองทุกคนโดยการ “อดอาหาร” เดินตามพริษฐ์ที่กำลังอดอาหารอยู่ในเรือนจำเช่นกัน บาสมาปักหลักอยู่หน้าศาลอาญา และวางแผนจะอยู่ยาว โดยไม่มีเพื่อนมาด้วย ไม่มีเครื่องนอน ไม่มีเต้นท์หรือมุ้ง ไม่มีป้ายบอกว่าเขากำลังประท้วงอะไร เขานั่งอยู่ที่ป้ายรถเม
“นคร” : “เราไม่เคยสนใจการเมือง แต่หลังจากโดน 112 เราจึงหันมาสนใจการเมืองมากขึ้น”
อ่าน

“นคร” : “เราไม่เคยสนใจการเมือง แต่หลังจากโดน 112 เราจึงหันมาสนใจการเมืองมากขึ้น”

“นคร” เป็น LGBTQ+ ประกอบอาชีพเป็นช่างรับจ้างแต่งหน้า อยู่ที่จังหวัดเชียงราย และยังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย เดิมทีนครไม่ได้มีความสนใจเกี่ยวกับการเมือง เขาเล่าว่าเขามีหน้าที่ใช้ชีวิตไปเรื่อย ๆ ตามที่สังคมเป็น แต่เมื่อปี 2563 นครทราบข่าวว่าเขาจะถูกดำเนินคดีมาตรา 112 จากสำนักข่าวทีวีช่องหนึ่งซึ่งได้รายงานข่าวว่า นครได้แชร์เนื้อหาเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ พร้อมระบุวันที่แชร์เนื้อหาอย่างชัดเจน แต่นครปฏิเสธเพราะเมื่อย้อนกลับดูไม่พบว่าเขาแชร์เนื้อหาเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในวันดังกล่าวเลย ต่อมา ในช่วงปลายปี 2563 นครได้รับหมา
บีม: “เรื่องนี้ทำให้เราไม่มีความสุขไปแล้วกับการแค่โพสต์ข้อความที่เป็นความจริง”
อ่าน

บีม: “เรื่องนี้ทำให้เราไม่มีความสุขไปแล้วกับการแค่โพสต์ข้อความที่เป็นความจริง”

พุทธศักราช 2563-2564 เป็นห้วงเวลาที่ประเทศไทยมีผู้ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 มากที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยการกระทำที่ส่งผลให้มีคนถูกฟ้องเป็นจำนวนมากที่สุด ไม่ใช่การปราศรัยหรือการเผาทำลายพระบรมฉายาลักษณ์ หากแต่เป็นเพียงการ “โพสต์แสดงความคิดเห็น” ในช่องทางออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ นับถึงปลายเดือนพฤศจิกายน 2564 มีจำนวนคดีมากถึง 82 คดี ซึ่งคิดเป็นเกือบ 50% จากทั้งหมด 166 คดี หนึ่งในตัวเลขจำนวนคดีดังกล่าว คือคดีของอรรฆพล (สงวนนามสกุล) หรือบีม กราฟิกดีไซน์เนอร์จากกรุงเทพฯ อายุ 25 ปี ผู้ถูกฟ้องด้วยมาตรา 112 จากการโพสต์ข้อความที่ใครหลายคนอาจเคยเห็นผ่านตาว่า..
รวม “ครั้งแรก” ของการชุมนุมเพื่อประชาธิปไตยปี 2564
อ่าน

รวม “ครั้งแรก” ของการชุมนุมเพื่อประชาธิปไตยปี 2564

    2564 นับเป็นปีที่สองของการเคลื่อนไหวชุมนุมที่นำโดยคนรุ่นใหม่ ต่อต้านระบอบการปกครองของ คสช.​ การต่อสู้มีความท้าทายมากขึ้นจากข้อจำกัดในเรื่องสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 อันทำให้การขยับขยายฐานผู้ชุมนุมบนท้องถนนพบอุปสรรคมากขึ้น และการยกระดับการปราบปรามของรัฐตั้งแต่เริ่มการชุมนุมไปจนหลังการชุมนุม แต่ผู้ชุมนุมก็ยังคงเดินหน้าหาวิธีการและรูปแบบเพื่อแสดงออกต่อไป โดยปรับตัวไปตามสถานการณ์ ตามข้อจำกัดและความรุนแรงทางการเมืองที่เสี่ยงต่อช
แรงงานข้ามชาติยื่นฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ  กรณีจ่ายประกันสังคมแต่ไม่ได้เงินเยียวยา เพราะติดเงื่อนไข “สัญชาติ”
อ่าน

แรงงานข้ามชาติยื่นฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ กรณีจ่ายประกันสังคมแต่ไม่ได้เงินเยียวยา เพราะติดเงื่อนไข “สัญชาติ”

มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (HRDF) พร้อมตัวแทนแรงงาน ยื่นฟ้องศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยความเป็นธรรม จากกรณีที่กระทรวงแรงงานได้กำหนดเงื่อนไขของโครงการ “ม.33 เรารักกัน” ไว้เฉพาะผู้ประกันตนที่มี “สัญชาติไทย”
ส.ส. ฝ่ายค้านประสานเสียง หนุนร่างพ.ร.บ. #ปลดอาวุธคสช
อ่าน

ส.ส. ฝ่ายค้านประสานเสียง หนุนร่างพ.ร.บ. #ปลดอาวุธคสช

8 ธ.ค. 2564 ร่างพ.ร.บ. #ปลดอาวุธคสช ซึ่งเสนอโดยประชาชนเข้าชื่อกัน 13,409 คน โดยส.ส. ส่วนใหญ่ที่อภิปรายร่างกฎหมายเป็นส.ส. จากพรรคฝ่ายค้าน มีส.ส. จากพรรคร่วมรัฐบาลเพียงหนึ่งคนเท่านั้นที่อภิปรายร่างกฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าว คือ สาทิตย์ วงศ์หนองเตย จากพรรคประชาธิปัตย์
เลือกปฏิบัติด้วยเหตุ ‘สัญชาติ’?? เปิดคำวินิจฉัยผู้ตรวจการฯ ชี้ “เยียวยา ม.33 ไม่ให้คนต่างชาติ” ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
อ่าน

เลือกปฏิบัติด้วยเหตุ ‘สัญชาติ’?? เปิดคำวินิจฉัยผู้ตรวจการฯ ชี้ “เยียวยา ม.33 ไม่ให้คนต่างชาติ” ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ

ผู้ตรวจการแผ่นดินระบุ โครงการ “ม.33เรารักกัน” ที่กำหนดคุณสมบัติผู้ได้รับสิทธิเป็นบุคคลสัญชาติไทย มิได้เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมจากความแตกต่างเรื่องเชื้อชาติ พร้อมยกเหตุผล “สัญชาติ” คนละความหมายกับ “เชื้อชาติ”