อ่าน

เทคนิคใหม่ ‘ยื้อเลือกตั้ง’ ให้ศาลตีความกฎหมาย ส.ว.

แม้ คสช. จะพยายามหาเทคนิคใหม่ๆ มาเลื่อนเลือกตั้งไปแล้วถึง 4 ครั้ง ไล่ตั้งแต่ แก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฯ 2557, คว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับบวรศักดิ์แล้วร่างใหม่, แก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวตามที่พระมหากษัตริย์พระราชทานข้อสังเกต จนมาถึงขยายเวลาบังคับใช้กฎหมาย ส.ส. ออกไปอีก 90 วัน และล่าสุดดูเหมือน คสช. จะพบเทคนิคใหม่ โดยให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความร่างกฎหมายลูก ส.ว.
อ่าน

เปิดสามเหตุผลศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องประชาชน กรณีถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ

หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ตั้งแต่ก่อนลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญคือเรื่อง การร้องตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญของผู้ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ แต่หลังจากประกาศใช้ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่มีคำสั่งรับคำร้องโดยตรงจากผู้ถูกละเมิด จึงชวนมาดูเหตุผลกันว่าเหตุใดบ้างที่ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่รับคำร้องของประชาชน
สรุปคำฟ้อง ‘ทวงคืนเสรีภาพ’ ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 3/2558
อ่าน

สรุปคำฟ้อง ‘ทวงคืนเสรีภาพ’ ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 3/2558

กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตยและภาคประชาชนกลุ่มต่างๆ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ โดยอาศัยสิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 เพื่อขอให้วินิจฉัยว่า คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ข้อ 6 และข้อ 12 มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ รวมถึงคำสั่งควบคุมตัวและการควบคุมตัวผู้ร้องไว้โดยอาศัยอำนาจตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เป็นการกระทำที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
ร่าง พ.ร.ป.ศาลรัฐธรรมนูญ: ห้ามวิจารณ์และให้อำนาจแก้ ‘เดดล็อคทางการเมือง’
อ่าน

ร่าง พ.ร.ป.ศาลรัฐธรรมนูญ: ห้ามวิจารณ์และให้อำนาจแก้ ‘เดดล็อคทางการเมือง’

สาระสำคัญของร่างกฎหมายลูกศาลรัฐธรรมนูญ หลายอย่างก็ยังคงเหมือนเดิม แต่ส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปก็คือ ที่มาของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ​ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการให้คำปรึกษาเพื่อยุติข้อโต้แย้งระหว่างองค์กรตามรัฐธรรมนูญ การยื่นฟ้องร้องต่อศาลได้โดยตรง และเพิ่มบทบัญญัติห้ามละเมิดอำนาจศาล ห้ามวิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญ
ร่างมาตรฐานทางจริยธรรรม: ส.ส.ฝ่าฝืนห้ามลงเลือกตั้ง 10 ปี
อ่าน

ร่างมาตรฐานทางจริยธรรรม: ส.ส.ฝ่าฝืนห้ามลงเลือกตั้ง 10 ปี

รัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ จัดทำ “ร่างมาตรฐานทางจริยธรรม” เพื่อบังคับใช้กับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระ ส.ส. ส.ว.และคณะรัฐมนตรี ขณะนี้ร่างแรกเสร็จและเผยแพร่แล้ว กำลังเข้าสู่ขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็น
สรุปเหตุผลของศาลรัฐธรรมนูญ ทำไม พ.ร.บ.ประชามติฯ ถึงไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
อ่าน

สรุปเหตุผลของศาลรัฐธรรมนูญ ทำไม พ.ร.บ.ประชามติฯ ถึงไม่ขัดรัฐธรรมนูญ

หลังจากเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ พ.ร.บ.ประชามติฯ มาตรา 61 วรรคสอง ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ จนกระทั่งวันที่ 4 กรกฎาคม ศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ร่างคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๔/๒๕๕๙ (อย่างไม่เป็นทางการ) ออกมา ไอลอว์สรุปเหตุผลของศาลรัฐธรรมนูญว่า ทำไม พ.ร.บ.ประชามติฯ ถึงไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
ชำแหละ-แจกแจง-วิเคราะห์ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ กรณีเลือกตั้ง 2 ก.พ.57
อ่าน

ชำแหละ-แจกแจง-วิเคราะห์ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ กรณีเลือกตั้ง 2 ก.พ.57

ชำแหละคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 28/2557 แยกเป็น 6 ประเด็นตามคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดิน แจกแจงความเห็นของกกต.และรัฐบาลประกอบ พร้อมวิเคราะห์สไตล์รัฐศาสตร์+นิติศาสตร์ คำวินิจฉัย ชอบ-ไม่ชอบอย่างไร
ศาลรัฐธรรมนูญ+ผู้ตรวจการแผ่นดิน vs การเลือกตั้ง’57
อ่าน

ศาลรัฐธรรมนูญ+ผู้ตรวจการแผ่นดิน vs การเลือกตั้ง’57

ขบวนการ “ตุลาการภิวัฒน์” ขององค์กรอิสระยังเดินเกมส์อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดการที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ นำมาซึ่งข้อสงสัย ว่าการตัดสินครั้งนี้ตั้งอยู่บนฐานความถูกต้องทางกฎหมายหรือความเชื่อทางการเมือง iLaw ขอทำหน้าที่พลเมืองดีของระบอบประชาธิปไตย เป็นส่วนหนึ่งที่จะตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจต่างๆ อย่างศาลรัฐธรรมนูญและผู้ตรวจการแผ่นดิน
ศาลรธน.มีมติเอกฉันท์ ม. 112 ไม่ขัดรธน.
อ่าน

ศาลรธน.มีมติเอกฉันท์ ม. 112 ไม่ขัดรธน.

ศาลรัฐธรรมนูฐมีมติเอกฉันท์ มาตรา 112 ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ระบุเป็นกฎหมายเพื่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี ตามหลักนิติธรรมที่เป็นศีลธรรมหรือจริยธรรมของกฎหมาย อัตราโทษเหมาะสมได้สัดส่วน และย้ำว่าการกระทำขัดม. 112 ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐได้จริง
เมื่อเสรีภาพ มาเคาะประตูบ้านศาลรัฐธรรมนูญ
อ่าน

เมื่อเสรีภาพ มาเคาะประตูบ้านศาลรัฐธรรมนูญ

อีกวิธีที่ประชาชนอาจใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงกฎหมาย คือการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่ากฎหมายใดละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ และนาทีนี้กฎหมายควบคุมเสรีภาพการแสดงออก 3 ฉบับยังรอคำชี้ขาดของศาลรัฐธรรมนูญอยู่