เปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ หนองบัวลำภู

อัปเดตล่าสุด: 02/12/2559

ผู้ต้องหา

สนิท, สุวาจิตร และจิตตรา

สถานะคดี

ชั้นศาลชั้นต้น

คดีเริ่มในปี

2559

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

พนักงานอัยการศาลทหาร มณฑลทหารบกที่ 23 จังหวัดอุดรธานี

สารบัญ

ก่อนลงประชามติ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2559 แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หลายจังหวัดทั่วประเทศจัดกิจกรรมเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ ซึ่งในอำเภอเมืองหนองบัวลำภูมีกิจกรรมในลักษณะดังกล่าวที่วัดอุทุมพรพิชัย แต่ผู้ต้องหาปฏิเสธว่ามีเฉพาะป้ายและไม่ได้มีกิจกรรมเช่นว่านั้น แต่เป็นการประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนที่มาทำบุญก่อนไปลงประชามติเท่านั้น
 
วันดังกล่าว มีเฉพาะจิตตราไปร่วมกิจกรรมนั้น ส่วนสนิทกับสุวาจิตรไม่ได้เข้าร่วม แต่ต่อมาทั้งสามกลับถูกเรียกไปสอบสวนพร้อมกับพวกรวม 15 คน และแจ้งข้อหาขัดคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่3/2558 มั่วสุมทางการเมืองห้าคนขึ้นไป โดย 12 คนรับสารภาพและถูกนำไปปรับทัศนคติในค่ายทหารแทนการถูกดำเนินคดีตามข้อเสนอของเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ผู้ต้องหาสามรายนี้ปฏิเสธและอยู่ระหว่างได้รับอนุญาตให้ประกันตัวระว่างรอนัดสอบคำให้การ
 

ภูมิหลังผู้ต้องหา

จิตตรา อายุ 61 ปี อาชีพค้าขายในตลาดนัด 
 
สุวาจิตร อายุ 68 ปี อดีตผู้ใหญ่บ้านและหมอดินอาสา บ้านนามะเฟือง ตำบลนามะเฟือง อำเภอเมืองหนองบัวลำภู ปัจจุบันประกอบอาชีพเกษตรกรสวนยางพารา
 
สนิท อายุ 73 ปี อาชีพเกษตรกร
ทั้งสามต่างเคยร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับกลุ่มคนเสื้อแดง
 

ข้อหา / คำสั่ง

อื่นๆ
คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

19 มิถุนายน 2559  ผู้ต้องหาทั้ง 3 กับพวกรวม 15 คนร่วมชุมนุมกับบุคคลอื่นอีกหลายคน บริเวณวัดอุทุมพรพิชัย จังหวัดหนองบัวลำภู จัดตั้งและเปิดป้ายศูนย์ปราบโกงประชามติ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
 

พฤติการณ์การจับกุม

19 มิถุนายน 2559 ร.ต.ท.ถาวร แสงพา ไปพบสุวาจิตรที่บ้านและต่อโทรศัพท์ให้คุยกับ พ.ต.ท.อำนาจ ฉิมมา ซึ่งสุวาจิตร ยืนยันไปว่าจะไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่วัดอุทุมพรในวันดังกล่าว ต่อมา (20 มิถุนายน 2559) ร.ต.ท.ถาวรนำหมายเรียกมาให้เขาไปพบที่ สภ.เมืองหนองบัวลำภู เพื่อสอบสวน
 
แต่เมื่อไปตามหมายเรียกและนั่งรอทั้งวันกลับไม่มีการสอบปากคำจนถึงตอนเย็นจึงได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน กระทั่ง วันที่ 21 มิถุนายน 2559 ร.ต.ท.ถาวรนำหมายมาให้เขากลับไปที่สถานีตำรวจอีกครั้ง จากนั้นจึงได้รับแจ้งข้อกล่าวหาว่าขัดคำสั่งหัวหน้า คสช. จากการกระทำอันถือว่าเป็นการมั่วสุมทางการเมืองห้าคนขึ้นไป
 
ต่อมา 4 กรกฎาคม 2559 ผู้ต้องหาและพวกรวมทั้งหมด 15 คน ถูกเรียกไปสอบปากคำที่สภ.เมืองหนองบัวลำภู มีเฉพาะสามคนเท่านั้นที่ปฏิเสธไม่รับสารภาพตามข้อเสนอของตำรวจที่ให้รับสารภาพและไปปรับทัศนคติแทนการถูกดำเนินคดี
 

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

ไม่มีข้อมูล

ศาล

ศาลมณฑลทหารบกที่ 23 จังหวัดอุดรธานี

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล
17 มิถุนายน 2559
 
กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย จังหวัดหนองบัวลำภูเรียกสนิท, สุวาจิตรและจิตตราเข้าพบ เพื่อขอให้ยุติกิจกรรมเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ จังหวัดหนองบัวลำภูในวันที่ 19 มิถุนายน 2559 โดยให้ลงลายมือชื่อในเอกสารข้อตกลงห้ามเคลื่อนไหวทางการเมือง 
 
19 มิถุนายน 2559
 
สนิท หนึ่งในผู้ต้องหาให้ข้อมูลกับศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนว่า กลุ่มสตรีศรีหนองบัวจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนที่มาทำบุญในวัดอุทุมพรพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู และถ่ายภาพกับป้ายศูนย์ปราบโกงประชามติ  สนิทและสุวาจิตรไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวเนื่องจากถูกขอให้ยุติการจัดกิจกรรมไปแล้วก่อนหน้านี้
 
4 กรกฎาคม 2559
 
ตำรวจเรียกคนในภาพถ่ายที่ถ่ายกับป้ายศูนย์ปราบโกงประชามติมาสอบปากคำที่สถานีตำรวจภูธรเมืองหนองบัวลำภู รวมถึงจิตตราซึ่งไม่ได้อยู่ในภาพ แต่เธอรับว่าไปร่วมกิจกรรมวันดังกล่าวจริง ส่วนสนิทและสุวาจิตรยืนยันว่าไม่ได้เข้าร่วมกิจรรม บางคนถูกกันตัวเป็นพยาน ในที่สุดมีผู้ถูกแจ้งข้อกล่าวหารวม 15 คน
 
ซึ่งตำรวจเกลี้ยกล่อมให้ 12 คนรับสารภาพโดยอ้างว่าให้ไปอบรมปรับทัศนคติเพียงหนึ่งวันแทนการถูกดำเนินคดี อย่างไรก็ตามผู้ต้องหาทั้งสามปฏิเสธ ส่วนที่เหลือรับสารภาพจึงถูกส่งไปอบรมที่กองร้อยอาสารักษาดินแดงที่หนึ่ง จังหวัดหนองบัวลำภู
 
โดยให้ลงลายมือชื่อในข้อตกลงไม่เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่ขัดต่อคำสั่งหัวหน้า คสช.อีก และถือว่าคดีเลิกแล้วต่อกัน นอกจากนี้ยังนัดให้ทั้งสามมาพบอีกครั้งในวันที่ 14 กรกฎาคม 2559
 
5 กรกฎาคม 2559
 
สนิท ให้ข้อมูลกับศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนว่า เวลาประมาณ 21.00 น. ตำรวจโทรศัพท์มาแจ้งให้ไปพบในวันรุ่งขึ้น
 
6 กรกฎาคม 2559
 
เวลา 11.00 น. พนักงานสอบสวน สภ.เมืองหนองบัวลำภูเรียกผู้ต้องหาทั้งสามเข้าพบกะทันหัน และนำตัวส่งอัยการศาลมณฑลทหารบกที่ 24 โดยแจ้งผู้ต้องหาว่าทหารเร่งรัดมา แต่ทั้งหมดเดินทางไปถึงศาลในเวลาเกือบ 15.00 น. อัยการทหารจึงแจ้งว่าส่งฟ้องไม่ทันและให้ทั้งสามมาพบเพื่อนำตัวส่งฟ้องในวันที่ 21 กรกฎาคม 2559 ก่อนปล่อยตัวโดยไม่ต้องวางหลักทรัพย์ค้ำประกัน
 
21 กรกฎาคม 2559
 
อัยการทหารนัดผู้ต้องหาทั้งสามมาฟังผลการพิจารณาคดีที่ศาลมณฑลทหารบกที่ 24 จังหวัดอุดรธานี ประชาไท รายงานว่า อัยการทหารขอเลื่อนฟังผลการพิจารณาคดีเป็นวันที่ 11 สิงหาคม 2559 เวลา 08.30 น. เนื่องจากยังพิจารณาสำนวนคดีไม่แล้วเสร็จ
 
11 สิงหาคม 2559
 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน  รายงานว่า อัยการศาลมณฑลทหารบกที่ 24 (มทบ.24) จังหวัดอุดรธานี  เป็นโจทก์ยื่นฟ้องสนิท, สุวาจิตร, จิตตรา กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามกับพวกรวม 15 คนร่วมชุมนุมกับคนอื่นๆ อีกหลายคนในบริเวณวัดอุทุมพรพิชัยเพื่อทำพิธีเปิดป้ายศูนย์ปราบโกงประชามติ
 
ในวันเดียวกันนี้ ผู้ต้องหาทั้งสามยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวโดยวางหลักทรัพย์ค้ำประกันคนละ 10,000 บาท โดยระหว่างรอคำสั่งอนุญาตจากศาล เจ้าหน้าที่ควบคุมตัวจำเลยไปขังที่เรือนจำกลางอุดรธานี
 
เวลา 13.00 น. ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว พร้อมเงื่อนไขห้ามชุมนุมหรือแสดงความคิดเห็นทางการเมืองทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ก่อนได้รับปล่อยตัวที่เรือนจำฯ ในเวลา 20.30 น.โดยประมาณ
 
14 ตุลาคม 2559
 
ศาลนัดสอบคำให้การ

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา