“ไลลา”: การชุมนุมที่มธ. ลำปาง ที่มีการปลดรูป

อัปเดตล่าสุด: 17/01/2566

ผู้ต้องหา

“ไลลา”

สถานะคดี

ชั้นศาลอุทธรณ์

คดีเริ่มในปี

2563

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

เอื้อพร ทองรอด พนักงานอัยการจังหวัดลำปาง

สารบัญ

"ไลลา" และ "เบนซ์" นักศึกษาธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ถูกตั้งข้อหามาตรา 112 และฐานทำลายทรัพย์สินสาธารณะ ตามมาตรา 360 จากการร่วมแฟลชม็อบ 17 ตุลาคม 2563 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง เพื่อประนามการใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุมในวันที่ 16 ตุลาคม 2563 โดยในกิจกรรมได้ปรากฏภาพการปลดพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 และพระราชินี

ภูมิหลังผู้ต้องหา

"ไลลา" ขณะเกิดเหตุเป็นนักศึกษาชั้นปีสี่ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง 
 
"เบนซ์" นามสมมติ เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง

ข้อหา / คำสั่ง

มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา, อื่นๆ

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนสรุปคำฟ้องระบุว่า เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2563 ทั้งสองบังอาจร่วมกันดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาตร้ายต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี และทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งภาพพิมพ์ไวนิลพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 และพระราชินี ที่ติดตั้งไว้บริเวณภายนอกประตูรั้วของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์ลำปาง เนื่องจากมีผู้ปลดพระบรมฉายาลักษณ์ดังกล่าว จนฉีกขาดเป็น 4 ชิ้น 
 
การกระทำของจำเลยทั้งสอง มีลักษณะเป็นการแสดงกิริยาจาบจ้วง ล่วงเกิน มีเจตนา ดูหมิ่นและแสดงความอาฆาตมาดร้าย ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 และพระราชินี และยังเป็นการร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ตามประมวลอาญา มาตรา 112 และมาตรา 360 
 

พฤติการณ์การจับกุม

ไม่มีข้อมูล

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

ไม่มีข้อมูล

ศาล

ศาลจังหวัดลำปาง

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล
16 ตุลาคม 2563 

คณะราษฏรประกาศนัดชุมนุมที่แยกราชประสงค์ ก่อนจะเปลี่ยนสถานที่นัดหมายเป็นแยกปทุมวัน ในเวลา 17.00 น. เนื่องจากมีการตรึงกำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจบริเวณแยกราชประสงค์หลายกองร้อย ในวันนั้นมีการใช้น้ำผสมสารเคมีฉีดไปยังผู้ชุมนุม และมีกาจับกุมผู้ชุมนุม รวมถึงแกนนำราษฏร
 
17 ตุลาคม 2563 

เวลา 18.00 น. หน้าถนนทางเข้าหน้าหอพักนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปางมีการจัดแฟลชม็อบ เพื่อประนามการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐ ในการสลายการชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎร และกลุ่มนักศึกษา ในกรุงเทพมหานคร มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ประมาณ 300 คน นอกเหนือจากการปราศรัยแล้ว มีการชวนกันเปิดแสงไฟจากโทรศัพท์มือถือ โห่ร้อง ชูสามนิ้ว แสดงสัญลักษณ์ รวมถึงร้องเพลงมอญดูดาว ซึ่งเป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  
 
ในช่วงเวลาดังกล่าว หลายจังหวัดก็ได้มีการนัดหมายชุมนุมแสดงออกคัดค้านการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่เช่นกัน
 
18 ตุลาคม 2563

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า ผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้ติดต่อนักศึกษาสองรายให้ไปพบเพื่อพูดคุย และเมื่อนักศึกษาไปถึงพบว่า มีผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 และเจ้าหน้าที่ในจังหวัดลำปางกว่า 30 นาย มาร่วมทั้งในและนอกห้องประชุมด้วย ต่อมาได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360 เรื่องการทำให้ทรัพย์สาธารณะเสื่อมค่า ต่อ “เบนซ์” เพียงข้อหาเดียว โดยมีทนายความของมหาวิทยาลัยร่วมฟังการสอบสวนด้วย
 
19 ตุลาคม 2564 

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ออกแถลงขออภัยและแสดงความเสียใจ กรณีการชุมนุมแฟลชม็อบมีการปลดพระบรมฉายาลักษณ์ของทั้งสองพระองค์ ที่ศูนย์ลำปาง ก่อนจะนำพระบรมฉายาลักษ์ไปติดตั้งใหม่ โดยแถลงการณ์เมื่อเนื้อความว่า 
 
ตามที่ปรากฏเหตุการณ์จากการนัดชุมนุมแฟลชม็อบของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์ล่าปาง เมื่อช่วงค่่าของวันที่ 17 ต.ค.ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งต่อทุกภาคส่วนในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอันท่าให้เกิดความกังวล และความไม่สบายใจ
 
เหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ควรเกิดขึ้น และเป็นการกระท่าที่ไม่เหมาะสม มหาวิทยาลัยจะดำเนินการป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รู้สึกเสียใจกับความกระทบกระเทือนใจ และขออภัยในเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นอีกครั้ง 
 
20 ตุลาคม 2563

ประชาไทรายงานว่า  นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ออกแถลงการณ์ แสดงความเคลือบแคลงต่อแถลงการณ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ที่ระบุว่าการชุมนุมของนักศึกษาในวันที่ 17 ตุลาคม 2563 “เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม” และ “ไม่สมควรเกิดขึ้น” โดยนักศึกษาจะทำการอารยะขัดขืนโดยการหยุดเรียนในวันที่ 22 ต.ค. นี้ และเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยยืนยันเสรีภาพในการชุมนุม การกล่าวปราศรัยถึงการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ และการไม่ให้เจ้าหน้าที่เข้ามาคุกคามนักศึกษา
 
โดยมีข้อเรียกร้อง ดังนี้
 
1. ให้ทางมหาวิทยาลัย ยืนยันว่า การชุมนุม คือ การแสดงออกซึ่งสิทธิมนุษยชนในรูปแบบหนึ่งและเป็นสิทธิโดยชอบธรรมอันระบุไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
 
2. ให้ทางมหาวิทยาลัยยืนยันว่า การกล่าวปราศรัยในเรื่องของความเหลื่อมล้ำ การปกครองในรูปแบบเผด็จการ และการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นเสรีภาพอย่างหนึ่งที่สามารถกล่าวต่อสาธารณะได้
 
3. ให้ทางมหาวิทยาลัย ยืนยันว่า มหาวิทยาลัย คือ พื้นที่ปลอดภัย และจะมิให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงเข้ามาคุกคามนักศึกษาได้
 
ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดีอาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ได้โพสต์เฟสบุ๊คแสดงความเห็นด้วยต่อแถลงการณ์ดังกล่าว โดยระบุว่า 
 
"สืบเนื่องจากการประกาศ Strike #หยุดเรียน ของนักศึกษา มธ. ศูนย์ลำปาง ในวันที่ 22 ตุลา 63 เพื่อเเสดงความไม่พอใจที่ มหาวิทยาลัยระบุว่า 'การชุมนุมทางการเมือง'ของนักศึกษาวันที่ 17 ตุลา เพื่อต่อต้านการใช้ความรุนแรงต่อประชาชนในวันที่ 16 ตุลา 63 เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม และไม่สมควรเกิดขึ้น ผมขอตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของนักศึกษา โดยการประกาศ #หยุดสอน ในวันที่ 22 ตุลา ที่ มธ. ลำปางเช่นกัน
 
25 ตุลาคม 2563
 
“ไลลา” เล่าว่า เธอถูกแจ้งข้อหาตามกฏหมายอาญามาตรา 360 ฐานทำลายทรัพย์สินสาธารณะ และมีการยืนยันว่าจะไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา ตามมาตรา 112  ”ไลลา”ได้ปฏิเสธกระบวนการแจ้งข้อหาเดิมที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2563 ที่มหาวิทยาลัย พร้อมขอให้การใหม่ โดยยืนยันปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา เนื่องจากในเอกสารมีข้อความหลายข้อความที่เจ้าหน้าที่ใส่เพิ่มโดยที่”ไลลา”ไม่ได้พูดออกไป เช่น ชื่อ และสถานะ
 
4 พฤศจิกายน 2563

พนักงานสอบสวนได้ส่งสำนวนและตัวผู้ต้องหาทั้งสองคนให้กับพนักงานอัยการ ในข้อหามาตรา 360 ข้อหาเดียว
 
13 มกราคม 2564

ตำรวจสภ.ห้างฉัตร ออกหมายเรียกให้ ”ไลลา” และ "เบนซ์" มารับทราบข้อกล่าวหาตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 112 เนื่องจากทางอัยการได้ส่งสำนวนคดีให้อัยการสูงสุดพิจารณา และอัยการสูงสุดมีคำสั่งมาให้ดำเนินการสอบสวนและแจ้งข้อหาเพิ่ม 
 
โดยเวลา 11.00 น. ได้มีเจ้าหน้าที่โทรหา”ไลลา”เพื่อสอบถามที่อยู่และแจ้งว่าจะออกหมายรียกเพื่อสอบปากคำเพิ่มเติม เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และทั้งสองคนอยู่ต่างจังหวัด ยังไม่สะดวกในการเดิทาง ทำให้ทั้งสองขอเลื่อนการเข้าพบพนักงานสอบสวนไปเป็นวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564
 
13 กุมภาพันธ์ 2564 

กลุ่มพิราบขาวเพื่อมวลชนโพสเชิญชวนในเฟสบุ๊ค “ร่วมให้กำลังใจเพื่อนของเรา ในการเข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติม” ที่สถานีตำรวจภูธรห้างฉัตร อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ในวันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป 

15 กุมภาพันธ์ 2564 

ที่สถานีตำรวจภูธรห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เวลาประมาณ 9.00 น. “ไลลา” และ "เบนซ์" เดินทางมารับทราบข้อกล่าวหาตามนัด โดยมีพ่อและแม่ของ”ไลลา” กับอาจารย์ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินทางมาด้วยในกรณีที่ต้องยื่นหลักทรัพย์เพื่อขอประกันตัว หลังรับทราบข้อกล่าวหาแล้ว ผู้ต้องหาทั้งสองคนให้การปฏิเสธ และขอให้การเป็นรายละเอียดเป็นหนังสือภายใน 30 วัน แต่ตำรวจบอกว่า ต้องเร่งส่งสำนวนฟ้องต่ออัยการเลย ไม่อาจรอ 30 วันได้ จึงจะส่งฟ้องไปก่อน หากผู้ต้องหาจะส่งคำให้การก็ให้ส่งตามมาภายหลัง
 
ประมาณ 10.50 หลังจาก”ไลลา”และเบนซ์ เดินเข้าไปในสถานีตำรวจแล้ว ตำรวจเดินออกมาพร้อมเครื่องเสียง และตำรวจอีกสี่นายออกมาถือป้าย เขียนว่า “มั่วสุม ชุมนุม !?! เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 จำคุกไม่เกิน 2 ปี”, “ชักธงอื่นแทนธงชาติไทยขึ้นเสา จำคุกไม่เกิน 2 ปี”, “ติดป้าย ชูป้าย พูดปราศรัย ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน จำคุกไม่เกิน 1 ปี”, “ติดป้าย รก เลอะเทอะ สถานที่ราชการ ปรับไม่เกิน 2,000 บาท” อีกทั้งประกาศแจ้งให้ทุกคนอยู่ในความสงบ โดยตำรวจระบุว่า ผู้ต้องหาที่มารายงานตัวทั้งสองคนวันนี้จะไม่ถูกควบคุมตัว เมื่อกระบวนการสอบสวนเสร็จแล้วจะได้กลับไปเรียนหนังสือต่อ ตำรวจไม่มีอำนาจชี้ขาดว่า ผู้ต้องหากระทำความผิดหรือไม่ มีหน้าที่เพียงทำตามกระบวนการเท่านั้น
 
26 เมษายน 2564

ในโลกโซเชียลมีเดียทั้ง ทวิตเตอร์ และเฟสบุ๊ค มีการใส่ #save”ไลลา” เพื่อร่วมกันจับตามองอัยการนัดฟ้องรวมถึงการฝากขังที่อาจจะสามารถกิดขึ้นได้ ในวันที่ 28 เมษายน 2564 
 
28 เมษายน 2564 

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า เวลา 10.00 น. ที่ศาลจังหวัดลำปาง พนักงานอัยการจังหวัดลำปางมีความเห็นสั่งฟ้องคดีนี้ 
 
ก่อนเข้าตัวอาคารศาล เจ้าหน้าที่ได้ให้”ไลลา”และทนายความ ซึ่งเดินทางมาจากจังหวัดอื่น เข้ามาในจังหวัดลำปาง ต้องเข้ากระบวนการขั้นกรองโรคตามมาตรการของศาล ซึ่งจุดคัดกรองโรคตั้งอยู่บริเวณหลังอาคารศาล จากนั้น นักศึกษาทั้งสองถูกนำตัวไปยังห้องเวรชี้ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณใต้ถุนศาลใกล้ห้องควบคุมตัว เพื่อรอผู้พิพากษา
 
เวลาประมาณ 11.40 น. ผู้พิพากษาได้เข้าพิจารณาที่ห้องเวรชี้ ระบุว่า วันนี้กระบวนการมีเพียงศาลจะรับคำฟ้องจากพนักงานอัยการไว้ และพิจารณาการปล่อยตัวชั่วคราวเท่านั้น ส่วนกระบวนการอ่านคำฟ้อง ถามคำให้การ นัดคุ้มครองสิทธิ และนัดตรวจพยานหลักฐาน ไม่สามารถดำเนินการในวันนี้ได้เนื่องจากสถานการณ์โควิด จึงนัดหมายเลื่อนกระบวนการทั้งหมดไปเป็นวันที่ 24 มิถุนายน 2564 เวลา 9.00 น.
 
จากนั้น ทนายความได้ยื่นขอประกันตัวจำเลยทั้งสอง โดยใช้ตำแหน่งของอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง จำนวน 2 คน เป็นหลักประกัน จนกระทั่งเวลาประมาณ 12.10 น. ศาลจังหวัดลำปางได้มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้งสองระหว่างพิจารณา โดยให้ใช้ตำแหน่งอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่หากผิดสัญญาประกันตัวให้ปรับคนละ 100,000 บาท และวางเงื่อนไขห้ามทั้งสองไปกระทำการใดอันมีลักษณะเดียวกันกับที่ถูกกล่าวหาตามฟ้อง
 
17 มกราคม 2566 
นัดพิพากษา
 
ก่อนหน้านี้ ศาลจังหวัดลำปางเลื่อนนัดฟังคำพิพากษาคดีของ "ไลลา" ออกไปจากวันที่ 20 ธันวาคม 2565 เป็น 17 มกราคม 2566 เพราะยังไม่ได้รับร่างคำพิพากษาคืนมาจากอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 
 
เวลา 9.40 น. ศาลนั่งบัลลังก์อ่านคำพากษา โดยพิพากษายกฟ้อง “ไลลา” เนื่องจากพยานหลักฐานไม่มีการบ่งชี้ว่าจำเลยกระทำความผิดจริง ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยและผู้ที่ปลดป้ายพระบรมฉายาลักษณ์มีความสนิทสนมกันมาก่อน รวมทั้งการชุมนุมไม่ได้มีการกล่าวถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ 

คำพิพากษา

 
คำพากษาศาลชั้นต้น สามารถสรุปได้ว่า จากสืบพยานโจทก์ ตำรวจประจำสถานีตำรวจภูธรอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ได้เข้าติดตามการจัดกิจกรรมแฟลชม็อบบริเวณหน้าหอพักมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง และมีการบันทึกถ่ายภาพไว้ จนขบวนนักศึกษามาจนถึงบริเวณประตูหน้ามหาวิทยาลัย ซึ่งบริเวณดังกล่าวมีรูปพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 และพระราชินี ต่อมาจำเลยมีการขึ้นปราศรัยมีการแสดงลักษณะท่าทางเป็นการชี้นิ้วไปที่พระบรมฉายาลักษณ์แล้วมีเสียงสั่งการว่าให้มีการปลดรูปลงมา จากนั้นจึงคนดำเนินการปลดรูปดังกล่าว
 
ขณะที่พยานฝ่ายโจทก์อีกคนซึ่งเป็นผู้สื่อข่าว กล่าวว่ามีการบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและต่อมาพบเห็นชายคนหนึ่งขึ้นไปปลดรูปพระบรมฉายาลักษณ์ซึ่งมีการถ่ายคลิปวีดิโอไว้ แต่ไม่ได้ยินเสียงผู้หญิงตะโกนสั่งการให้มีการปลดรูป ด้านเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ซึ่งเป็นพยานฝ่ายโจทก์ คือ ผู้อำนวยการบริหารมหาวิทยาฯ ให้การว่า ทราบว่า มาถึงสถานที่เกิดเหตุภายหลังจากการปลดรูปแล้วจากนั้นเห็นจำเลยถือรูปภาพที่ฉีกขาด ขณะที่พนักงานรักษาความปลอดภัยให้การว่า มีการปลดรูปจริงแต่ไม่พบเห็นจำเลยพูดคุยกับคนที่กระทำการดังกล่าว
 
พิพากษายกฟ้อง “ไลลา” เนื่องจากพยานหลักฐานไม่มีการบ่งชี้ว่าจำเลยกระทำความผิดจริง ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยและผู้ที่ปลดป้ายพระบรมฉายาลักษณ์มีความสนิทสนมกันมาก่อน รวมทั้งการชุมนุมไม่ได้มีการกล่าวถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ 

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา