ก่อตั้งพรรคแนวร่วมปฏิวัติเพื่อประชาธิปไตย

อัปเดตล่าสุด: 15/08/2561

ผู้ต้องหา

ด.ต.ศิริรัตน์

สถานะคดี

อัยการสั่งไม่ฟ้อง

คดีเริ่มในปี

2559

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

ไม่มีข้อมูล

สารบัญ

หลังเหตุการณ์ระเบิดใน 7 จังหวัดภาคใต้ เมื่อวันที่ 10-12 สิงหาคม 2559 มีประชาชนจำนวน 17 คนถูกจับกุม กระแสข่าวระยะแรกออกมาว่าเป็นการจับกุมผู้ต้องหาเกี่ยวกับการวางระเบิด แต่ต่อมาปรากฏว่า ผู้ถูกตั้งข้อกล่าวหาทั้ง 17 คนไม่ได้เกี่ยวข้องกับเหตุระเบิด แต่ถูกจับจากการร่วมกันก่อตั้งพรรคแนวร่วมปฏิวัติเพื่อประชาธิปไตย ที่มีแนวคิดต่อต้านรัฐบาล 
 
หลังถูกจับผู้ต้องหาทั้งหมดถูกควบคุมตัวในค่ายทหาร ไม่เกินเจ็ดวัน และถูกตั้งข้อหาชุมนุมเกิน 5 คน และข้อหาอั้งยี่ ทั้ง 15 คน ต้องถูกคุมขังในเรือนจำ 5 วัน ก่อนได้รับประกันตัว ต่อมาตำรวจได้ดำเนินการถอนหมายจับของสมัยและวิไลวรรณ ก่อนจะตั้งข้อหาใหม่ว่า ให้ที่พักพิงโจรแทน(ศิริฐาโรจน์ หนึ่งในผู้ต้องหาในคดีนี้) ทำให้มีผู้ถูกฟ้องในคดีนี้ 15 คนเท่านั้น
 
ต่อมาวันที่ 24 พฤษภาคม 2560 อัยการศาลทหารมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 15 คนในคดีนี้เนื่องจากว่า พยานหลักฐานที่มีไม่เพียงพอต่อการฟ้อง และมีคำสั่งปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้ง 15 คน โดยคำสั่งไม่ฟ้องในคดีนี้ยังผลถึงคดีให้ที่พักพิงโจรของสมัยและวิไลวรรณที่ยกฟ้องตามไปด้วย

ภูมิหลังผู้ต้องหา

ด.ต.ศิริรัตน์ อายุ 69 ปี ภูมิลำเนาอยู่จังหวัดชลบุรี ผู้ต้องหาที่่หนึ่ง
 
วีระชัฏฐ์ อายุ 62 ปี ภูมิลำเนาอยู่จังหวัดนนทบุรี ผู้ต้องหาที่สอง
 
ประพาส อายุ 67 ปี ภูมิลำเนาอยู่จังหวัดตรัง ผู้ต้องหาที่สาม
 
ปราโมทย์ อายุ 62 ปี ภูมิลำเนาอยู่จังหวัดสตูล ผู้ต้องหาที่สี่
 
สรศักดิ์ อายุ 49 ปี ภูมิลำเนาอยู่จังหวัดกาญจนบุรี ผู้ต้องหาที่ห้า
 
มีนา อายุ 39 ปี ภูมิลำเนาอยู่จังหวัดกรุงเทพ ผู้ต้องหาที่หก
 
ศิริฐาโรจน์ อายุ 57 ปี ภูมิลำเนาอยู่จังหวัดหนองคาย ผู้ต้องหาที่เจ็ด เป็นชาวจังหวัดหนองคาย ประกอบอาชีพค้าขายในไทยและลาว เขารู้จักกับผู้ต้องหาในคดีนี้เป็นบางคนเท่านั้น และไม่เคยเข้าร่วมการก่อตั้งพรรคใดๆทั้งสิ้น ก่อนหน้านี้เคยเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2553 แต่เป็นการเข้าร่วมฟังเท่านั้นไม่เกี่ยวข้องกับเหตุความรุนแรงแต่อย่างใด ภายหลังการประกันตัวศิริฐาโรจน์ประกอบอาชีพลำบากขึ้น อันเนื่องมาจากเงื่อนไขการประกันตัวที่ไม่อนุญาตให้เดินทางไปค้าขายที่ลาวเหมือนเดิมได้
 
ชินวร อายุ 70 ปี ภูมิลำเนาอยู่จังหวัดเชียงราย ผู้ต้องหาที่แปด
 
ณรงค์ อายุ 60 ปี ภูมิลำเนาอยู่จังหวัดปทุมธานี ผู้ต้องหาที่เก้า
 
ศรวัชษ์ อายุ 60 ปี ภูมิลำเนาอยู่จังหวัดมหาสารคาม ผู้ต้องหาที่สิบ ประกอบอาชีพค้าขาย เคยเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2553 ปัจจุบันมีภาระเลี้ยงดูมารดาและครอบครัว
 
เหนือไพร อายุ 41 ปี ภูมิลำเนาอยู่จังหวัดสกลนคร ผู้ต้องหาที่ 11
 
วิเชียร อายุ 58 ปี ภูมิลำเนาอยู่จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้ต้องหาที่ 12
 
บุญภพ อายุ 62 ปี ภูมิลำเนาอยู่จังหวัดเชียงราย ผู้ต้องหาที่ 13 บุญภพ  ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว และเป็นประธานโครงการราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) ไม่สนใจการเมืองและไม่เคยเข้าร่วมการชุมนุมทางการเมือง มีโรคประจำตัวคือ โรคเกาต์ และโรคที่เกี่ยวกับตา จากทั้งหมดของผู้ต้องหาคดีนี้ เขารู้จักชิณวรณ์เพียงคนเดียว
 
รุจิยา อายุ 53 ปี ภูมิลำเนาอยู่จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้ต้องหาที่ 14 มีอาชีพทำเกษตรกรรม รุจิราเป็นน้องสาวของวิไลวรรณ ไม่มีความสนใจเรื่องการเมือง
 
วิโรจน์ อายุ 67 ปี ภูมิลำเนาอยู่จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้ต้องหาที่ 15

ข้อหา / คำสั่ง

อื่นๆ, ฝ่าฝืนประกาศคสช. 7/2557
กฎหมายมาตรา 209 กระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

วิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความโพสต์เฟซบุ๊กอธิบายถึงรายละเอียดการกระทำตามข้อกล่าวหาว่า ก่อนเกิดเหตุในคดีนี้เจ้าหน้าที่หน่วยเฉพาะกิจ ฝ่ายข่าวของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สืบทราบว่า มีกลุ่มแกนนำนปช. ได้ร่วมกันจัดตั้ง พรรคแนวร่วมปฏิวัติประชาธิปไตย โดยมีวัตถุประสงค์ ร่วมมือกับมวลชนในพื้นที่ต่างๆ ที่มีแนวคิดเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยจงใจสนับสนุนการต่อสู้ทุกรูปแบบ เจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย จึงอาศัยอำนาจของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2558 ลงวันที่ 1 เมษายน 2558 ทำการควบคุมตัวผู้ต้องหาจำนวนมากเนื่องจากได้ร่วมกันชุมนุมทางการเมืองและเคลื่อนไหวแบบปิดลับ เพื่อจัดตั้งพรรคแนวร่วมปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยมิชอบ

เริ่มจากเดือนธันวาคม 2558 ด.ต.ศิริรัตน์ มโนรัตน์ เป็นหัวหน้าฝ่ายความมั่น, วีระชัฏฐ์ จันทร์สอาด เป็นหัวหน้าฝ่ายต่างประเทศ ส่วนประพาส โรจนพิทักษ์ และปราโมทย์ สังหาญ มีฐานะเป็นหัวหน้าผู้จัดการหรือแกนนำ ได้ร่วมกันกับพวก จัดการชุมนุมทางการเมือง ที่จังหวัดนนทบุรี มีหัวข้อในการชุมนุมคือ เพื่อการจัดตั้งพรรคแนวร่วมปฏิวัติประชาธิปไตย แสวงหาแนวร่วมและแบ่งมวลชนออกเป็น 11 เขตงาน ตามพื้นที่ภูมิภาค ร่วมเป็นสมาชิกพรรคฯ ตลอดมา
 
ต่อมาระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2559 ด.ต.ศิริรัตน์ และวีระชัฏฐ์ ได้ไปพบเหนือไพร เพื่อพูดคุยแนวทางในการดำเนินงานของพรรคฯ เมื่อตกลงกันได้แล้วก็ได้ไปพบศิริฐาโรจน์เพื่อกำหนดเงื่อนไขในการเคลื่อนไหวและการหาทุน ที่จะมาใช้ในการดำเนินงานของพรรคฯ  ขณะที่มีนา ผู้ต้องหาอีกคนได้ร่วมกิจกรรมดำเนินการกับสมาชิกของพรรคฯ ตลอดมา
 
ช่วงเวลาเดียวกัน ด.ต.ศิริรัตน์, วีระชัฏฐ์, ประพาส, ชินวร และณรงค์ กับพวกได้จัดประชุมพรรคเพื่อกำหนดการดำเนินงานของพรรคที่ร้านแห่งหนึ่งในจังหวัดอ่างทอง และยังไปจัดประชุมกันที่ศาลาวัดแห่งหนึ่งในจังหวัดพัทลุงและสุพรรณบุรี เพื่อจัดประชุมบุคคลต่างๆ ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ด้าน ร.ต.ต.หญิงวิไลวรรณ, ร.ต.ท.สมัย, บุญภพ และรุจิยา มีแนวคิดทางการเมืองสนับสนุนและเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองกับกลุ่มคนเสื้อแดงหลายครั้ง
 
ต่อมาวันที่ 13 สิงหาคม 2559 เจ้าหน้าที่รักษาความสงบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงเริ่มใช้อำนาจตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 เข้าควบคุมตัว ด.ต.ศิริรัตน์ กับพวกรวม 17 คน มาทำการซักถามปากคำ ผลการซักถามปรากฏตามบันทึกการซักถาม โดยคสช.พิจารณาแล้วเห็นว่าพฤติการณ์การกระทำของ ด.ต.ศิริรัตน์กับพวกมีลักษณะเป็นสมาชิกของคณะบุคคล ซึ่งคณะบุคคลในคดีนี้ก็คือพรรคแนวร่วมประชาธิปไตย ซึ่งรู้กันเฉพาะกลุ่มสมาชิก เมื่อมีการจัดประชุมในลักษณะปกปิด จึงเป็นการปกปิดวิธีดำเนินการโดยมีวัตถุประสงค์ว่าจะล้มล้างเปลี่ยนแปลงการปกครองด้วยวิถีที่ไม่ชอบตามรัฐธรรมนูญ
 
ดังนั้นการกระทำของผู้ต้องหาทั้งหมดจึงมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย อันมีความผิดฐาน "ร่วมกันเป็นอั้งยี่และร่วมกันมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป โดยไม่ได้รับอานุญาตจากหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ" เป็นความผิดตามมาตรา 209 ของประมวลกฎหมายอาญาและตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 ข้อ 12
 
 

พฤติการณ์การจับกุม

กรณีของประพาส
ผู้จัดการออนไลน์รายงานว่า วันที่ 13 สิงหาคม 2559  ทหารจากกองทัพภาคที่ 4 นำกำลังเข้าควบคุมตัวประพาส ขณะกำลังดูทีวีอยู่ที่บ้านใน อำเภอเมือง จังหวัดตรัง โดยแจ้งให้ทราบว่าใช้อำนาจควบคุมตัวตามมาตรา 44 เพื่อไปสอบสวนที่ค่ายเทพสตรีศรสุนทร จังหวัดนครศรีธรรมราช
 
กรณีของณรงค์
ไทยรัฐออนไลน์รายงานว่า วันที่ 13 มีนาคม 2559 เวลา 06.00 น. ระหว่างที่ณรงค์ หรือเฮียสี่ อ่างทอง กำลังจะเปิดร้านขายของอยู่ในตลาดสุวพันธ์ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง มีชายแต่งกายคล้ายทหารนับ 10 คนบุกเข้าค้นบ้านก่อนควบคุมตัวไปโดยไม่แจ้งข้อหาอ้างเพียงว่าผู้ใหญ่สั่งมา เจ้าหน้าที่ยึดโทรศัพท์ของคนในบ้านและแผ่นซีดีจำนวนหนึ่งไป
 
กรณีของมีนา
น้องสาวของมีนาเล่าว่า เจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบใช้อำนาจตามมาตรา 44 เข้าควบคุมตัวมีนา แม่ค้าขายพริกแกงที่ตลาดแห่งหนึ่งย่านศรีนครินทร์ กรุงเทพมหานคร ก่อนจะนำตัวจากตลาดไปค้นที่บ้านพักเพื่อค้นหาสิ่งผิดกฎหมายแต่ไม่พบ จากนั้นจึงได้นำตัวไปที่มทบ.11
 
กรณีของศิริฐาโรจน์
ศิริฐาโรจน์เล่าว่า วันที่ 13 สิงหาคม 2559 เวลาประมาณ 15.00 น. ทหารและตำรวจพร้อมอาวุธปืนพก เข้าไปควบคุมตัวศิริฐาโรจน์ที่บ้านพัก ก่อนจะนำตัวไปพูดคุยที่ที่ทำการตรวจคนเข้าเมือง จังหวัดหนองคาย ถามว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับระเบิดภาคใต้หรือไม่ และถามถึงกรณีที่ศิริฐาโรจน์เดินทางไปค้าขายที่ลาวอยู่บ่อยๆว่า การเดินทางแต่ละครั้งได้พาคนเข้าไปฝึกอาวุธ หรือ เอาคนเข้ามาก่อการหรือไม่ แต่เขาให้การปฏิเสธ
 
กรณีของวิไลวรรณ (ต่อมาเจ้าหน้าที่ถอนหมายจับวิไลวรรณ)
วิไลวรรณเล่าว่า วันที่ 13 สิงหาคม 2559 เวลาประมาณ 05.00 น. ทหารและตำรวจนอกเครื่องแบบจำนวนกว่า 30 นาย พร้อมอาวุธครบมือได้เข้ามาที่บ้านสวนที่ไม่ใช่ที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของวิไลวรรณ จากการสัมภาษณ์วิไลวรรรณ สมัย และ รุจิรา ทั้งหมดเล่าตรงกันว่า ระหว่างที่เจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจค้นที่บ้านสวนมีการใช้ปืนจ่อที่บริเวณศีรษะของทั้งสาม และพยายามถามว่า ศิริฐาโรจน์อยู่ที่นี่หรือไม่ วิไลวรรณตอบว่า ไม่อยู่และไม่มีความเกี่ยวข้องกัน  เจ้าหน้าที่ตอบกลับว่า วิไลวรรณ สมัย และรุจิรา ไม่ให้ความร่วมมือ จึงพาตัวไปที่มทบ.24 จังหวัดอุดรธานี ก่อนจะนำตัวทั้งสามเดินทางมาที่ มทบ.11 กรุงเทพมหานคร (วิไลวรรณระบุสถานที่จากข้อความที่สกรีนบนผ้าปูที่นอนในห้องคุมขัง)
 
ระหว่างการควบคุมตัวที่มทบ.11 เจ้าหน้าที่พยายามสอบถามวิไลวรรณว่า มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไร วิไลวรรณตอบว่า ตนไม่ทราบที่มีความเกี่ยวข้องกับศิริฐาโรจน์เนื่องจากว่า รู้จักกับภรรยาของศิริฐาโรจน์จากการที่ไปทำผมร้านทำผมของภรรยาศิริฐาโรจน์มาระยะเวลาหนึ่ง ต่อมาภรรยาของศิริฐาโรจน์อยากให้ลูกเข้าเรียนที่โรงเรียนในเทศบาล ด้วยความเห็นใจจึงให้ลูกสาวของศิริฐาโรจน์และศิริฐาโรจน์ย้ายเข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้านของตน แต่ไม่เคยมีความสัมพันธ์ในเชิงการเมืองร่วมกันเลย ขณะที่เจ้าหน้าที่บางคนยังกล่าวกับวิไลวรรณด้วยว่า ป้าจะโวยวายทำไม เขาตามสืบกันมาตั้งหกเดือนแล้ว  หลังจากนั้นจึงควบคุมตัววิไลวรรณเป็นเวลาเจ็ดวันและปล่อยตัวกลับบ้าน  ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ถอนหมายจับวิไลวรรณ แต่ฟ้องในข้อหาให้ที่พักพิงแก่ศิริฐาโรจน์แทน
 
กรณีของสมัย (ต่อมาเจ้าหน้าที่ถอนหมายจับสมัย)
สมัยเล่าว่า วันที่ 13 สิงหาคม 2559 เวลาประมาณ 05.00 น. ทหารและตำรวจนอกเครื่องแบบจำนวนกว่า 30 นาย พร้อมอาวุธครบมือได้เข้ามาที่บ้านสวนที่ไม่ใช่ที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของวิไลวรรณ ก่อนจะพาตัวไปที่มทบ.24 จังหวัดอุดรธานี และนำตัวทั้งสามเดินทางมาที่ มทบ.11 กรุงเทพมหานครหลังจากนั้นจึงควบคุมตัวสมัยเป็นเวลาเจ็ดวันและปล่อยตัวกลับบ้าน หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ถอนหมายจับสมัย
 
กรณีของรุจิยา
รุจิยาเล่าว่า วันที่ 13 สิงหาคม 2559 เวลาประมาณ 05.00 น.  ทหารและตำรวจนอกเครื่องแบบจำนวนกว่า 30 นาย พร้อมอาวุธครบมือได้เข้ามาที่บ้านสวนที่ไม่ใช่ที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของวิไลวรรณ ระหว่างการควบคุมตัวที่มทบ.11 กรุงเทพมหานคร เจ้าหน้าที่พยายามถามว่า เกี่ยวข้องอย่างไรกับเหตุระเบิด แต่รุจิยาตอบว่า ไม่ทราบจริงๆ  และพยายามอธิบายว่า  ก่อนที่เจ้าหน้าที่จับกุม วิไลวรรณได้ชวนตนให้เดินทางมาที่บ้านสวนของเธอ ที่จังหวัดหนองคาย เพื่อมาเก็บเห็ดโคนที่กำลังออกดีและมีราคาสูงในช่วงเวลาดังกล่าว รุจิยาจึงเดินทางที่บ้านของวิไลวรรณ นอกจากนี้ระหว่างการพูดคุย เจ้าหน้าที่ยังถามรุจิยาว่า ป้ารู้จักหมอหยองไหม?ภายหลังจากการควบคุมตัวที่มทบ.11 เป็นเวลาเจ็ดวัน เจ้าหน้าที่ได้นำตัวรุจิยามาแจ้งข้อกล่าวหาที่กองปราบฯ
 
กรณีของบุญภพ
บุญภพเล่าว่า วันที่ 13 สิงหาคม 2559 เวลาประมาณ 10.00 น. ระหว่างรับประทานอาหารกับชิณวรณ์ที่เชียงใหม่ ทหารเข้ามาจับกุมชิณวรณ์ และถามบุญภพว่า มาด้วยกันใช่ไหม บุญภพจึงตอบว่า ใช่ ทหารจึงบอกว่า งั้นมาด้วยกันแปบนึง ก่อนจะจับมาที่มทบ.11 กรุงเทพมหานคร อยู่ประมาณเจ็ดวัน และนำตัวมาแจ้งข้อกล่าวหาที่กองปราบฯ บุญภพอธิบายว่า ตนกับชิณวรณ์รู้จักกันผ่านเรื่องธุรกิจและเหตุที่อยู่กับชิณวรณ์ในวันจับกุมเพราะว่า วันที่ 12 สิงหาคม 2559 ตนและชิณวรณ์เดินทางไปคุยธุรกิจการซื้อหุ้นที่จังหวัดเชียงใหม่  ไปนอนที่จังหวัดลำพูนคืนหนึ่ง หลังจากนั้นจึงเดินทางกลับเชียงรายผ่านเชียงใหม่ ก่อนจะถูกจับกุมในที่สุด
 
กรณีของศรวัชษ์
ศรวัชษ์เล่าว่า วันที่ 13 สิงหาคม 2559 เวลาประมาณ 05.00 น. ทหารทั้งในและนอกเครื่องแบบประมาณ 30 คน ไปที่บ้านของศรวัชษ์และควบคุมตัวไปที่ค่ายประเสริฐสงคราม จังหวัดร้อยเอ็ด ทหารไม่สอบสวนศรวัชษ์ แต่ให้ตำรวจจากจังหวัด มหาสารคามมาลงบันทึกประจำวันที่ค่ายประเสริฐสงคราม ศรวัชษ์กล่าวว่า ข้อความในบันทึกประจำวันระบุว่า ตนเป็นผู้ต้องสงสัยเกี่ยวกับระเบิดที่ปักษ์ใต้ และส่งตัวไปที่โคราช หลังจากนั้นจึงนำตัวมาที่ มทบ.11 กรุงเทพมหานคร  หลังจากนั้นทหารจึงสอบสวนศรวัชษ์ว่า เคยมาชุมนุมหรือไม่ เขาจึงตอบตามจริงว่า เคยเข้าร่วมการชุมนุมทางการเมือง แต่ไม่ใช่กลุ่มแนวหน้าที่ขับเคลื่อนการชุมนุม ต่อมาจึงส่งตัวศรวัชษ์มาที่กองปราบฯ

 

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

ไม่มีข้อมูล

ศาล

ศาลทหารกรุงเทพ

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล
10-12 สิงหาคม 2559
เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ติดต่อกันในช่วงเวลา 3 วัน รวมทั้งสิ้น 7 จังหวัด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต ตรัง พังงา กระบี่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี รวมทั้งสิ้น 19 จุด เป็นเหตุระเบิด 14 ครั้ง เหตุเพลิงไหม้ 5 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 3 ราย
 
13 สิงหาคม 2559
ปรากฏรายงานการว่า เจ้าหน้าที่ควบคุมตัวประชาชนที่ต้องสงสัยว่า เกี่ยวข้องกับเหตุระเบิด 7 จังหวัดดังนี้
 
กรณีของประพาส
ผู้จัดการออนไลน์รายงานว่า วันที่ 13 สิงหาคม 2559  ทหารจากกองทัพภาคที่ 4 นำกำลังเข้าควบคุมตัวประพาส ขณะกำลังดูทีวีอยู่ที่บ้านใน อำเภอเมือง จังหวัดตรัง โดยแจ้งให้ทราบว่าใช้อำนาจควบคุมตัวตามมาตรา 44 เพื่อไปสอบสวนที่ค่ายเทพสตรีศรสุนทร จังหวัดนครศรีธรรมราช
 
กรณีของณรงค์
ไทยรัฐออนไลน์รายงานว่า วันที่ 13 มีนาคม 2559 เวลา 06.00 น. ระหว่างที่ณรงค์ หรือเฮียสี่ อ่างทอง กำลังจะเปิดร้านขายของอยู่ในตลาดสุวพันธ์ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง มีชายแต่งกายคล้ายทหารนับ 10 คนบุกเข้าค้นบ้านก่อนควบคุมตัวไปโดยไม่แจ้งข้อหาอ้างเพียงว่าผู้ใหญ่สั่งมา เจ้าหน้าที่ยึดโทรศัพท์ของคนในบ้านและแผ่นซีดีจำนวนหนึ่งไป
 
กรณีของมีนา
น้องสาวของมีนาเล่าว่า เจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบใช้อำนาจตามมาตรา 44 เข้าควบคุมตัวมีนา แม่ค้าขายพริกแกงที่ตลาดแห่งหนึ่งย่านศรีนครินทร์ กรุงเทพมหานคร ก่อนจะนำตัวจากตลาดไปค้นที่บ้านพักเพื่อค้นหาสิ่งผิดกฎหมายแต่ไม่พบ จากนั้นจึงได้นำตัวไปที่มทบ.11
 
กรณีของศิริฐาโรจน์
ศิริฐาโรจน์เล่าว่า วันที่ 13 สิงหาคม 2559 เวลาประมาณ 15.00 น. ทหารและตำรวจพร้อมอาวุธปืนพก เข้าไปควบคุมตัวศิริฐาโรจน์ที่บ้านพัก ก่อนจะนำตัวไปพูดคุยที่ที่ทำการตรวจคนเข้าเมือง จังหวัดหนองคาย ถามว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับระเบิดภาคใต้หรือไม่ และถามถึงกรณีที่ศิริฐาโรจน์เดินทางไปค้าขายที่ลาวอยู่บ่อยๆว่า การเดินทางแต่ละครั้งได้พาคนเข้าไปฝึกอาวุธ หรือ เอาคนเข้ามาก่อการหรือไม่ แต่เขาให้การปฏิเสธ
 
กรณีของวิไลวรรณ (ต่อมาเจ้าหน้าที่ถอนหมายจับวิไลวรรณ)
วิไลวรรณเล่าว่า วันที่ 13 สิงหาคม 2559 เวลาประมาณ 05.00 น. ทหารและตำรวจนอกเครื่องแบบจำนวนกว่า 30 นาย พร้อมอาวุธครบมือได้เข้ามาที่บ้านสวนที่ไม่ใช่ที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของวิไลวรรณ จากการสัมภาษณ์วิไลวรรรณ สมัย และ รุจิรา ทั้งหมดเล่าตรงกันว่า ระหว่างที่เจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจค้นที่บ้านสวนมีการใช้ปืนจ่อที่บริเวณศีรษะของทั้งสาม และพยายามถามว่า ศิริฐาโรจน์อยู่ที่นี่หรือไม่ วิไลวรรณตอบว่า ไม่อยู่และไม่มีความเกี่ยวข้องกัน  เจ้าหน้าที่ตอบกลับว่า วิไลวรรณ สมัย และรุจิรา ไม่ให้ความร่วมมือ จึงพาตัวไปที่มทบ.24 จังหวัดอุดรธานี ก่อนจะนำตัวทั้งสามเดินทางมาที่ มทบ.11 กรุงเทพมหานคร (วิไลวรรณระบุสถานที่จากข้อความที่สกรีนบนผ้าปูที่นอนในห้องคุมขัง)
 
ระหว่างการควบคุมตัวที่มทบ.11 เจ้าหน้าที่พยายามสอบถามวิไลวรรณว่า มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไร วิไลวรรณตอบว่า ตนไม่ทราบที่มีความเกี่ยวข้องกับศิริฐาโรจน์เนื่องจากว่า รู้จักกับภรรยาของศิริฐาโรจน์จากการที่ไปทำผมร้านทำผมของภรรยาศิริฐาโรจน์มาระยะเวลาหนึ่ง ต่อมาภรรยาของศิริฐาโรจน์อยากให้ลูกเข้าเรียนที่โรงเรียนในเทศบาล ด้วยความเห็นใจจึงให้ลูกสาวของศิริฐาโรจน์และศิริฐาโรจน์ย้ายเข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้านของตน แต่ไม่เคยมีความสัมพันธ์ในเชิงการเมืองร่วมกันเลย ขณะที่เจ้าหน้าที่บางคนยังกล่าวกับวิไลวรรณด้วยว่า ป้าจะโวยวายทำไม เขาตามสืบกันมาตั้งหกเดือนแล้ว  หลังจากนั้นจึงควบคุมตัววิไลวรรณเป็นเวลาเจ็ดวันและปล่อยตัวกลับบ้าน  ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ถอนหมายจับวิไลวรรณ แต่ฟ้องในข้อหาให้ที่พักพิงแก่ศิริฐาโรจน์แทน
 
กรณีของสมัย (ต่อมาเจ้าหน้าที่ถอนหมายจับสมัย)
สมัยเล่าว่า วันที่ 13 สิงหาคม 2559 เวลาประมาณ 05.00 น. ทหารและตำรวจนอกเครื่องแบบจำนวนกว่า 30 นาย พร้อมอาวุธครบมือได้เข้ามาที่บ้านสวนที่ไม่ใช่ที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของวิไลวรรณ ก่อนจะพาตัวไปที่มทบ.24 จังหวัดอุดรธานี และนำตัวทั้งสามเดินทางมาที่ มทบ.11 กรุงเทพมหานครหลังจากนั้นจึงควบคุมตัวสมัยเป็นเวลาเจ็ดวันและปล่อยตัวกลับบ้าน หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ถอนหมายจับสมัย
 
กรณีของรุจิยา
รุจิยาเล่าว่า วันที่ 13 สิงหาคม 2559 เวลาประมาณ 05.00 น.  ทหารและตำรวจนอกเครื่องแบบจำนวนกว่า 30 นาย พร้อมอาวุธครบมือได้เข้ามาที่บ้านสวนที่ไม่ใช่ที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของวิไลวรรณ ระหว่างการควบคุมตัวที่มทบ.11 กรุงเทพมหานคร เจ้าหน้าที่พยายามถามว่า เกี่ยวข้องอย่างไรกับเหตุระเบิด แต่รุจิยาตอบว่า ไม่ทราบจริงๆ  และพยายามอธิบายว่า  ก่อนที่เจ้าหน้าที่จับกุม วิไลวรรณได้ชวนตนให้เดินทางมาที่บ้านสวนของเธอ ที่จังหวัดหนองคาย เพื่อมาเก็บเห็ดโคนที่กำลังออกดีและมีราคาสูงในช่วงเวลาดังกล่าว รุจิยาจึงเดินทางที่บ้านของวิไลวรรณ นอกจากนี้ระหว่างการพูดคุย เจ้าหน้าที่ยังถามรุจิยาว่า ป้ารู้จักหมอหยองไหม?ภายหลังจากการควบคุมตัวที่มทบ.11 เป็นเวลาเจ็ดวัน เจ้าหน้าที่ได้นำตัวรุจิยามาแจ้งข้อกล่าวหาที่กองปราบฯ
 
กรณีของบุญภพ
บุญภพเล่าว่า วันที่ 13 สิงหาคม 2559 เวลาประมาณ 10.00 น. ระหว่างรับประทานอาหารกับชิณวรณ์ที่เชียงใหม่ ทหารเข้ามาจับกุมชิณวรณ์ และถามบุญภพว่า มาด้วยกันใช่ไหม บุญภพจึงตอบว่า ใช่ ทหารจึงบอกว่า งั้นมาด้วยกันแปบนึง ก่อนจะจับมาที่มทบ.11 กรุงเทพมหานคร อยู่ประมาณเจ็ดวัน และนำตัวมาแจ้งข้อกล่าวหาที่กองปราบฯ บุญภพอธิบายว่า ตนกับชิณวรณ์รู้จักกันผ่านเรื่องธุรกิจและเหตุที่อยู่กับชิณวรณ์ในวันจับกุมเพราะว่า วันที่ 12 สิงหาคม 2559 ตนและชิณวรณ์เดินทางไปคุยธุรกิจการซื้อหุ้นที่จังหวัดเชียงใหม่  ไปนอนที่จังหวัดลำพูนคืนหนึ่ง หลังจากนั้นจึงเดินทางกลับเชียงรายผ่านเชียงใหม่ ก่อนจะถูกจับกุมในที่สุด
 
กรณีของศรวัชษ์
ศรวัชษ์เล่าว่า วันที่ 13 สิงหาคม 2559 เวลาประมาณ 05.00 น. ทหารทั้งในและนอกเครื่องแบบประมาณ 30 คน ไปที่บ้านของศรวัชษ์และควบคุมตัวไปที่ค่ายประเสริฐสงคราม จังหวัดร้อยเอ็ด ทหารไม่สอบสวนศรวัชษ์ แต่ให้ตำรวจจากจังหวัด มหาสารคามมาลงบันทึกประจำวันที่ค่ายประเสริฐสงคราม ศรวัชษ์กล่าวว่า ข้อความในบันทึกประจำวันระบุว่า ตนเป็นผู้ต้องสงสัยเกี่ยวกับระเบิดที่ปักษ์ใต้ และส่งตัวไปที่โคราช หลังจากนั้นจึงนำตัวมาที่ มทบ.11 กรุงเทพมหานคร  หลังจากนั้นทหารจึงสอบสวนศรวัชษ์ว่า เคยมาชุมนุมหรือไม่ เขาจึงตอบตามจริงว่า เคยเข้าร่วมการชุมนุมทางการเมือง แต่ไม่ใช่กลุ่มแนวหน้าที่ขับเคลื่อนการชุมนุม ต่อมาจึงส่งตัวศรวัชษ์มาที่กองปราบฯ
 
 
16 สิงหาคม 2559
 
ผู้จัดการออนไลน์รายงานว่า  พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผบ.ตร. กล่าวว่า คดีระเบิดที่เกิดขึ้นมีความคืบหน้ามากขึ้น ตนได้มอบหมายให้พนักงานสอบสวนทำงานอย่างรอบคอบและรอให้มีพยานหลักฐานมากพอที่จะขออนุมัติหมายจับ โดยวันนี้จะนำหลักฐานไปยื่นต่อศาลมณฑลทหารบกที่ 41 จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อขออนุมติหมายจับชายรายหนึ่งที่มีหลักฐานชัดว่าก่อเหตุระเบิดในพื้นที่ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต  หลักฐานคือดีเอ็นเอที่ตรงกับผู้ต้องหาที่เคลื่อนไหวในพื้นที่ชายแดนใต้ 
 
 
ประชาไทรายงานว่า ช่วงค่ำเจ้าหน้าที่ได้ปล่อยตัว ร.ต.ต.หญิง วิไลวรรณและร.ต.ท. สมัย ออกจากมทบ.11 โดยยังไม่มีการตั้งข้อกล่าวหา เหลือเพียงรุจิยา ที่ยังไม่ปล่อยตัว แต่อย่างไรก็ตามปรากฏข้อมูลในคำร้องของฝากขังที่เจ้าหน้าที่ยื่นต่อศาลทหารระบุว่า ร.ต.ต.หญิง วิไลวรรณ และร.ต.ท. สมัย เป็นผู้ให้ที่พักพิงกับศิริฐาโรจน์ หนึ่งในผู้ต้องหาในคดีนี้
 
 
17 สิงหาคม 2559
 
ผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า พล.ต. วิจารณ์ จดแตง หัวหน้าส่วนปฏิบัติการคณะทำงานด้านกฎหมาย คสช. นำเอกสารหลักฐานเดินทางเข้าแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปรามเพื่อให้ดำเนินคดีต่อผู้ที่เกี่ยวข้องจากเหตุระเบิดหลายจุดใน 7 จังหวัดพื้นที่ภาคใต้ ในฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 210 ในข้อหาสมคบกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปกระทำการเข้าข่ายอั้งยี่ ซ่องโจร
 
 
18 สิงหาคม 2559
 
ไทยรัฐออนไลน์ รายงานว่า พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ เสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชาฝ่ายกฎหมาย คสช. เข้าให้ปากคำและมอบหลักฐานเพิ่มเติมแก่ตำรวจ โดยศาลทหารออกหมายจับ 17 ผู้ต้องหาในความผิดตามคำสั่ง คสช.ที่ 3/2558 ห้ามชุมนุมหรือมั่วสุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปและมาตรา 209 ในความผิดกระทำการเข้าข่ายอั้งยี่ตามประมวลกฎหมายอาญา โดยทหารแบ่งกลุ่มผู้ก่อเหตุระเบิดออกเป็น 3 กลุ่มคือผู้บงการ, ผู้ประสานงานและผู้ประกอบระเบิดและวางระเบิด ทั้งนี้ตามแนวสอบสวนพบว่า กลุ่มผู้ต้องหาทั้ง 17 คนได้เริ่มเคลื่อนไหวตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2559 ที่บ้านพักแห่งหนึ่งย่านบางกรวย
 
 
19 สิงหาคม 2559
คมชัดลึก รายงานว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณี การจับกุมผู้ต้องหา 17 คน ว่า  ทั้ง 17 คนนั้นไม่เกี่ยวข้องการลอบวางระเบิดและเผาใน 7 จังหวัดภาคใต้ที่ผ่านมา  แต่เป็นคดีความผิดเกี่ยวกับการก่อกวน สร้างความไม่สงบ ต่อต้านรัฐบาล
 
 
ช่อง7 รายงานว่า ทหารควบคุมตัวผู้ต้องหา 15 คน จาก 17 คน ที่ถูกศาลทหารกรุงเทพออกหมายจับในคดีความผิดตามคำสั่ง คสช. และข้อหาอั้งยี่ ซ่องโจร จากมณฑลทหารบกที่ 11 ไปส่งให้พนักงานสอบสวนของกองปราบปรามดำเนินคดี ส่วนผู้ต้องหาอีก 2 คนที่ถูกออกหมายจับไม่ได้นำตัวมาด้วย เนื่องจากได้ปล่อยตัวไปก่อนหน้านี้ 
 
พลตำรวจตรีชยพล ฉัตรชัยเดช ผู้บังคับการกองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ กล่าวว่า แนวทางการสืบสวนของตำรวจ ผู้ต้องหาทั้ง 15 คนนี้ยังไม่พบความเชื่อมโยงเหตุระเบิดและไฟไหม้ในพื้นที่ 7 จังหวัดในภาคใต้ แต่พบว่า มีความผิดส่วนบุคคล ทั้งความผิดคดีหมิ่นสถาบันเบื้องสูง และความผิดเกี่ยวกับอาวุธสงคราม ผู้ต้องหากลุ่มนี้ยอมรับเป็นสมาชิกของพรรคแนวร่วมปฏิวัติเพื่อประชาธิปไตย หรือ นปป. มีแนวทางการทำงานเพื่อต่อต้านรัฐบาล โดยในจำนวนนี้มี 6 คนเป็นระดับหัวหน้ากลุ่ม ส่วนที่เหลือเป็นระดับผู้ประสานงานและผู้ลงมือปฏิบัติ รับหน้าที่จัดหาสมาชิก, หาแนวร่วมที่มีความคิดเห็นรุนแรง, ปลุกระดม, จัดหาทุน, แจกใบปลิว และจัดตั้งกลุ่มมวลชนตามพื้นที่ต่างๆ เริ่มวางแผนเตรียมก่อเหตุตั้งแต่เดือนธันวาคม 2558 
 
หลังผู้ต้องหาทั้ง 15 คนถูกนำตัวไปแถลงข่าวที่กองปราบปราม ก็ถูกพาไปที่ศาลทหารกรุงเทพเพื่อขออำนาจศาลฝากขัง ต่อมาเจ้าหน้าที่ส่งตัวผู้ต้องหาไปที่ศาลทหารกรุงเทพในเวลาประมาณ 15.30 โดยมีทนายความจากสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิเสรีภาพยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขัง มีใจความว่า ผู้ต้องหาทั้ง 15 คนให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำความผิดตามข้อกล่าวหา และไม่มีเจตนาจะหลบหนีโดย ทั้ง 15 คนมีภูมิลำเนาและถิ่นที่อยู่เป็นหลักแหล่ง สามารถติดตามตัวได้ไม่ยาก อีกทั้งผู้ต้องหาเป็นเพียงบุคคลธรรมดาไม่สามารถไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานได้ คดีนี้ไม่ใช่คดีอาชญากรรมร้ายแรง เพราะไม่ใช่ความผิดต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ หรือทรัพย์สินของบุคคลอื่น 
 
ทนายความยังแถลงต่อศาลด้วยว่า ผู้ต้องหาในคดีนี้หลายคนมีอายุมากและมีปัญหาด้านสุขภาพด้วย จึงขอให้ศาลสั่งปล่อยตัว
 
ในเวลาประมาณ 16.35 น. ศาลทหารกรุงเทพสั่งให้ขังผู้ต้องหาผลัดแรกเป็นเวลา 12 วัน โดยศาลระบุว่า เรื่องปัญหาสุขภาพของผู้ต้องหาเป็นเหตุผลที่ใช้ขอประกันตัว ไม่ใช่เหตุผลที่ใช้คัดค้านการฝากขัง ขณะที่ฝั่งผู้ต้องหาและญาติแจ้งความประสงค์ขอยื่นประกันตัวตั้งแต่ก่อนที่ศาลจะออกคำสั่งแล้วก็ตาม แต่หลังศาลสั่งให้ฝากขังเจ้าหน้าที่ศาลทหารแจ้งว่าไม่อนุญาตให้ยื่นประกันตัวเพราะหมดเวลาราชการแล้ว ผู้ต้องหาทั้ง 15 คนจึงถูกส่งตัวไปควบคุมที่เรือนจำ 
 
 
22 สิงหาคม 2559 
ประชาไท รายงานว่า ธนเดช พ่วงพูล ทนายความจากสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิและเสรีภาพ (สกสส.) เดินทางมาที่ศาลทหารกรุงเทพเพื่อยื่นขอประกันตัว ศาลให้วางหลักทรัพย์ประกันตัวรายละ 100,000 บาท รวมเป็นเงิน 1.5 ล้านบาท ซึ่งทางฝ่ายญาติเตรียมหลักประกันทั้งเงินสดและที่ดินมายื่นขอประกันตัวแล้วจำนวนหนึ่ง แม้ว่าศาลทหารจะอนุญาตให้ประกันตัวได้ โดยกำหนดเงื่อนไขห้ามออกนอกประเทศและห้ามเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่ญาติผู้ต้องหาบางส่วนรวบรวมเงินไม่ทันก่อนเวลาปิดทำการของศาล ทำให้ต้องถอนคำร้องและเตรียมยื่นใหม่ในวันถัดไป
 
23 สิงหาคม 2559
ประชาไทรายงานว่า เวลา 14.00 น. ศาลทหารกรุงเทพอนุญาตให้ประกันตัวผู้ต้องหาทั้งหมด โดยวันนี้ทางทนายความยื่นขอประกันตัวในวงเงินคนละ 1 แสนบาท โดยใช้หลักทรัพย์เป็นโฉนดที่ดินมูลค่า 1 ล้านบาทและเงินสดอีก 5 แสนบาท ผู้ต้องหาทั้ง 15 คนได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำในช่วงค่ำ
 
ขณะเดียวกันในช่วงบ่ายวันเดียวกัน ศาลทหารกรุงเทพมีการไต่สวนเพิกถอนหมายจับของ ร.ต.ท.สมัย และ ร.ต.ต.วิไลวรรณ ซึ่งถูกจับไปก่อนหน้านี้และได้รับการปล่อยตัวแล้ว ศาลสั่งให้เพิกถอนหมายจับของทั้งสองคนโดยให้เหตุผลว่า ผู้ต้องหามีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่มีพฤติการณ์หลบหนี และมีพ.ต.อ.จักรินทร์ ชุนแจ่ม ผู้บังคับบัญชามายืนยันว่า ทั้งสองปฏิบัติหน้าที่ราชการตำรวจที่สถานีตำรวจน้ำหนองคายจริง และผู้ต้องหาสามารถเข้าพบพนักงานสอบสวนได้หากภายหลังได้รับหมายเรียกอีก จึงให้เพิกถอนหมายจับ 
 
7 มีนาคม 2560 
นัดฟังคำสั่งฟ้อง
เฟซบุ๊กของสมาพันธ์นักกฏหมายเพื่อสิทธิเสรีภาพ (สกสส.) รายงานว่า ทีมทนายของสมาคมและผู้ต้องหาในคดีนี้ทั้ง 17 คนเดินทางไปที่สำนักงานอัยการฝ่ายศาลทหารกรุงเทพ กรมพระธรรมนูญเพื่อฟังคำสั่งคดีจากอัยการทหาร อย่างไรก็ตามอัยการทหารเห็นว่าพิจารณาจากสำนวนแล้วข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอที่จะสั่งคดีได้ จึงนัดผู้ต้องหาทั้งหมดฟังคำสั่งคดีใหม่อีกครั้ง
 
 
24 พฤษภาคม 2560
นัดฟังคำสั่งฟ้อง
วิญญัติ ชาติมนตรี โพสต์เฟซบุ๊กรายงานความเคลื่อนไหวในคดีนี้ว่า เวลา 10:00 น. ทนายความจากสมาพันธ์นักกฏหมายเพื่อสิทธิเสรีภาพ(สกสส.) พร้อมกับผู้ต้องหารวม 15 คน เข้ารายงานตัวตามนัดเพื่อฟังคำสั่งอัยการศาลทหารกรุงเทพ พิจารณาสำนวนสอบสวนพนักงานสอบสวนกองปราบปราม ที่สั่งฟ้อง 15 คน ในความผิดฐานเป็นอั้งยี่ และมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองใดๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ 5 คน ขึ้นไป โดยไม่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
 
โดยอัยการศาลทหารกรุงเทพ พิจารณาสำนวนแล้ว มีคำสั่งไม่ฟ้องคดีทั้ง 15 คน ด้วยคดีมีพยานหลักฐานไม่เพียงพอและมีคำสั่งปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้งหมด อย่างไรก็ดีคำสั่งไม่ฟ้องในคดีนี้จะต้องส่งสำนวนและคำสั่งไม่ฟ้องเสนอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองผบ.ตร.หรือผช.ผบ.ตร. พิจารณาอีกครั้งหนึ่งตามข้อกำหนดในมาตรา 145/1 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

และจากคำสั่งไม่ฟ้องของอัยการศาลทหารในคดีนี้ ส่งผลให้สมัยและวิไลวรรณ ไม่ต้องถูกดำเนินคดีในข้อหาให้ที่พักพิงโจร คดีดังกล่าวสืบเนื่องจากการจับกุมผู้ต้องหาในคดีนี้ครั้งแรกที่ได้จับกุมสมัยและวิไลวรรณไปด้วย เนื่องจากในทะเบียนบ้านของทั้งสองมีรายชื่อของศิริฐาโรจน์ (ผู้ต้องหาคดีนี้) อยู่ด้วย ต่อมาตำรวจได้ถอนหมายจับทั้งสองในคดีให้ที่พักพิงโจร
 
 
 

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา