คดีปลอมเป็นหม่อมหลวง คดีที่หนึ่ง จำเลยสี่คน

อัปเดตล่าสุด: 27/06/2560

ผู้ต้องหา

อัษฎาภรณ์, กิตติภพ, วิเศษ และนพฤทธิ์

สถานะคดี

ตัดสินแล้ว / คดีถึงที่สุด

คดีเริ่มในปี

2558

โจทก์ / ผู้กล่าวหา

อัยการจังหวัดกำแพงเพชร

สารบัญ

อัษฎาภรณ์ พร้อมพวกรวมสี่คนคือ กิตติภพ, วิเศษ และนพฤทธิ์ ถูกกล่าวหาว่า พวกเขาอ้างตัวว่ามีอิสริยยศเป็นหม่อมหลวงและปลอมแปลงเอกสารเรียกรับผลประโยชน์จากการแอบอ้างสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ต่อเจ้าอาวาสวัดไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร ต่อมากิตติภพและวิเศษให้การรับสารภาพศาลจึงตัดสินลงโทษจำคุกเจ็ดปี สี่เดือน ลดโทษกึ่งหนึ่งเหลือโทษสามปี แปดเดือน ส่วนอัษฎาภรณ์และนพฤทธิ์ที่ยังคงให้การปฏิเสธ ศาลจังหวัดกำแพงเพชรสั่งให้แยกฟ้องเป็นคดีใหม่

ภูมิหลังผู้ต้องหา

อัษฎาภรณ์ ขณะถูกจับกุมอายุ 45 ปี

นพฤทธิ์ จำเลยที่สี่ ขณะถูกจับกุมอายุ 29 ปี พื้นเพเป็นคนจังหวัดอุบลราชธานี และทำงานเป็นพนักงานของบริษัทใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ อ่านเรื่องราวของนพฤทธิ์ ได้ที่นี่

 

 

ข้อหา / คำสั่ง

มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา, อื่นๆ
มาตรา 146, 265 ประมวลกฎหมายอาญา

การกระทำที่ถูกกล่าวหา

อัษฎาภรณ์ พร้อมพวกรวมสี่คนคือ กิตติภพ, วิเศษ และนพฤทธิ์ ถูกดำเนินคดี โดยในคำฟ้องระบุว่า ในเดือนเมษายน 2558 ทั้งสี่คนร่วมกัน แอบอ้างว่าเป็น “หม่อมหลวง” ไปหลอกลวงวัดไทรงาม โดยการปลอมแปลงเอกสารสำนักพระราชวัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งมีการอ้างดำเนินการเรื่องการกราบทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเสด็จเป็นองค์ประธานงานพิธีตัดหวายลูกนิมิต พร้อมเรียกเงินค่าใช้จ่ายต่างๆ จากผู้เสียหายหลายคน โดยการหลอกลวงดังกล่าวทำให้วัดและประชาชนหลงเชื่อ

ทั้งสี่คนถูกดำเนินคดีฐานร่วมกันกระทำความผิดหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ, ร่วมกันปลอมแปลงเอกสารราชการ และสวมเครื่องแบบหรือประดับเครื่องหมายของเจ้าพนักงานโดยไม่มีสิทธิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 265, 146

 

 

พฤติการณ์การจับกุม

11 สิงหาคม 2558
ศาลจังหวัดกำแพงเพชรได้ออกหมายจำเลยทั้งสี่ โดยเจ้าหน้าที่ได้ทยอยจับกุมจำเลยทั้งหมดในช่วงเดือนสิงหาคมและถูกคุมขังนับตั้งแต่มีการจับกุม 
 
20 สิงหาคม 2559
ไทยรัฐออนไลน์ รายงานว่า ตำรวจจับกุมกิตติภพได้ที่หน้าศาลอาญาธนบุรี และจับกุมวิเศษได้ที่หน้าฟิตเนส ในเขตห้วยขวาง
 
21 สิงหาคม 2558
นพฤทธิ์ไปอบรมงานที่นอกสำนักงาน เมื่อถึงช่วงเที่ยงๆ หัวหน้างานฝ่ายบุคคลที่บริษัทได้โทรศัพท์มาให้เขากลับเข้าไปพบโดยด่วน แต่เมื่อไปถึง มีเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ด้วยกับหัวหน้างาน พร้อมกับแสดงหมายจับที่มีชื่อเขา ระบุข้อหาตามประมวลกฎหมายมาตรา 112 เขาถูกควบคุมตัว และนำตัวไปที่สถานีตำรวจในเขตพื้นที่ ก่อนจะถูกคุมตัวเดินทางไปยังสถานีตำรวจภูธรไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชน เพื่อพบกับตำรวจเจ้าของคดีนี้ โดยระหว่างการสอบสวน เขาไม่มีญาติและทนายความอยู่ด้วย

 

บันทึกสังเกตการณ์ในชั้นศาล

ไม่มีข้อมูล

หมายเลขคดีดำ

อ. 3016/2558

ศาล

ศาลจังหวัดกำแพงเพชร

เนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีข้อมูล
ช่วงระหว่างวันที่ 8 สิงหาคม 2556-มีนาคม 2558
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า อัษฎาภรณ์ พร้อมพวกอีกสามคนคือ กิตติภพ, วิเศษ และนพฤทธิ์ อ้างตัวว่ามีอิสริยยศเป็นหม่อมหลวง และทำงานอยู่ในสำนักพระราชวังสามารถกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯมาเป็นประธานในงานบุญของวัดไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร โดยมีการปลอมแปลงหนังสือราชเลขาธิการมาแสดงความน่าเชื่อถือด้วย
ต่อมาเจ้าอาวาสวัดไทรงามส่งตัวแทนเข้าแจ้งความดำเนินคดีต่ออัษฎาภรณ์และพวกรวมสี่คน ฐานร่วมกันกระทำความผิดหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์, ร่วมกันปลอมแปลงเอกสารราชการ และสวมเครื่องแบบหรือประดับเครื่องหมายของเจ้าพนักงานโดยไม่มีสิทธิ
 
 
20 สิงหาคม 2558
ไทยรัฐออนไลน์รายงานว่า เจ้าหน้าที่ได้เข้าควบคุมตัวจำเลยที่สองคนคือกิตติภพและวิเศษ  ซึ่งจำเลยทั้งสี่คนให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา
 
 
5 พฤศจิกายน 2558
พนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชรยื่นฟ้องคดีดังกล่าวต่อศาลจังหวัดกำแพงเพชร
 
 
21 ธันวาคม 2558
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า ศาลจังหวัดกำแพงเพชรนัดสอบคำให้การ โดยนพฤทธิ์ จำเลยที่สี่ยังให้การว่าไม่เคยรู้จักอัษฎาภรณ์และกิตติภพมาก่อน และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแอบอ้าง พร้อมทั้งได้ยื่นคำร้องต่อศาลให้วินิจฉัยตัวบทกฎหมายว่าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เป็นบุคคลที่ได้รับคุ้มครองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือไม่ แต่ศาลยกคำร้องให้เหตุผลว่า ศาลไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยข้อกฎหมาย
 
 
5 กุมภาพันธ์ 2559
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า ศาลจังหวัดกำแพงเพชรนัดตรวจพยานหลักฐานในคดี โดยจากการสอบข้อเท็จจริงปรากฏว่าไม่มีข้อเท็จจริงที่คู่ความสามารถรับกันได้  ฝ่ายโจทก์และจำเลยจึงได้แถลงต่อศาลในการนำพยานเข้าสืบ
 
 
22 เมษายน 2559
ประชาไทรายงานว่า กิตติภพและวิเศษ จำเลยที่สองและสามแถลงต่อศาลกลับคำให้การเป็นรับสารภาพ แต่อัษฎาภรณ์และนพฤทธิ์ จำเลยที่หนึ่งและสี่ยังคงให้การปฏิเสธและสู้คดีต่อ ศาลจึงให้พนักงานอัยการโจทก์ได้แยกฟ้องเป็นคดีใหม่
 
 
27 เมษายน 2559
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า พนักงานอัยการโจทก์ได้ยื่นฟ้องอัษฎาภรณ์และนพฤทธิ์ในคดีใหม่ต่อศาลจังหวัดกำแพงเพชร  โดยคำฟ้องในคดีใหม่นี้เขียนในลักษณะเดียวกันกับคำฟ้องในคดีเดิม แต่ข้อกล่าวหาเหลือเพียงสองข้อ คือ มาตรา 112 ฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์และมาตรา 265 ฐานปลอมแปลงเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา
 
 
30 พฤษภาคม 2559
ประชาไทรายงานว่า ศาลจังหวัดกำแพงเพชรมีคำสั่งพิพากษาในคดีของกิตติภพและวิเศษว่า มีความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ให้ลงโทษจำคุกสี่ปี ความผิดข้อหาสวมเครื่องแบบของเจ้าพนักงานโดยไม่มีสิทธิ ให้ลงโทษจำคุกสี่เดือน และความผิดข้อหาร่วมกันปลอมเอกสารราชการให้ลงโทษจำคุกสามปี รวมโทษจำคุกเจ็ดปี สี่เดือน แต่จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่งเหลือโทษจำคุกสามปีแปดเดือน
 
 
6 มิถุนายน 2559
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า ศาลจังหวัดกำแพงเพชรนัดพร้อมและสอบคำให้การในคดีที่พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลเป็นคดีใหม่เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2559 โดยจำเลยทั้งสองยังยืนยันให้การปฏิเสธข้อกล่าวหาและแถลงขอให้ศาลนัดตรวจพยานหลักฐานในคดี ศาลจึงตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 8 สิงหาคม 2559
 

 

คำพิพากษา

ไม่มีข้อมูล

ดูแฟ้มคดีอื่นๆ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์: ข้อสอบวิชาอารยธรรมไทย

คดีชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จ

รุ่งทิวา