ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญเคยถูกนำเสนอเป็นหนึ่งในนโยบายที่สำคัญในการเลือกตั้ง 66 หรือแม้จะไม่เป็นนโยบายแต่หลายพรรคก็เคยมีการพูดถึงและเคยมีความพยายามเสนอร่างแก้ไขมาก่อนหน้า
วีวอทช์ (We Watch) และเครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์การเลือกตั้งเดินทางมาพูดคุยและยื่นหนังสือข้อเสนอเชิงนโยบายต่อกกต. เพื่อเป็นแนวทางพัฒนากระบวนการเลือกตั้งครั้งต่อๆ ไปให้มีประสิทธิภาพโปร่งใสมากยิ่งขึ้น
ไม่ว่าจะหน้าตาเป็นอย่างไร แต่สิ่งที่รัฐบาลใหม่สามารถทำได้ในสภาวะไม่ปกติคือการเริ่มกระบวนการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่และคืนอำนาจให้ประชาชนทันทีที่เงื่อนไขของ สว. หายไปจากสมการ เพื่อให้ประชาชนได้แสดงเจตจำนงอีกครั้งในสนามที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย
19 ก.ค.66 สว.เสรี สุวรรณภานนท์ อภิปรายระหว่างการพิจารณาญัตติเสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯ คนเดิมเป็นการเสนอญัตติซ้ำหรือไม่ โดยคำกล่าวอ้างสนับสนุนมีจุดที่ไม่ถูกต้อง "3 ชื่อบัญชีแคนดิเดตนายกฯ ไม่ได้มีเพื่อบังคับพิจารณาชื่อหนึ่งคนหนึ่งครั้ง"
เครื่องมือสืบทอดอำนาจของ คสช. อย่างรัฐธรรมนูญ 2560 ได้วางกลไกสำคัญในการสืบทอดอำนาจโดยเฉพาะมาตรา 272 ที่ให้อำนาจสมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว. สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. ได้ นั่นจึงกลายเป็นปราการด่านสำคัญที่มีส่วนในการขวางพรรคอันดับหนึ่งจากการเลือกตั้ง ทั้งการเลือกตั้งในปี 2562 และการเลือกตั้งในปี 2566 จากการได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล
ในช่วงหาเสียงเหล่านักการเมืองทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่มักใช้ข้อความในทำนองว่า ‘อาสารับใช้ประชาชน’ แต่อย่างไรเสีย การเข้าสภาไปทำหน้าที่ สส.ไม่ใช่งานจิตอาสา ค่าตอบแทนน้ำพักน้ำแรงของคนเหล่านี้ล้วนมาจากภาษีของประชาชนทั่วประเทศที่ฝากความหวังไว้
ขณะที่ “ค่าเฉลี่ยวันรอรัฐบาล” อยู่ที่ 31 วันจากการเลือกตั้งของไทยทั้งหมด 27 ครั้ง ซึ่งการเลือกตั้ง 2566 ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 ทะยานสู่อันดับสองของการเลือกตั้งที่ทำให้ประชาชนรอการมีรัฐบาลใหม่ยาวนานที่สุด
ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญมีแนวโน้มตัดสินให้โทษกับพรรคฝ่ายตรงข้ามกับ คสช. ในขณะที่หากเป็นเหล่าทหารโดยเฉพาะพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กลับมีคำวินิจฉัยที่เป็นคุณ รวมคำวินิจฉัยสำคัญของศาลรัฐธรรมนูญที่มีผลต่อการเมืองไทย
ประเด็นเกี่ยวกับสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ได้กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ถูกหยิบยกมาอภิปรายระหว่างการประชุมรัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบบุคคลขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 โดยสมาชิกพรรครัฐบาลเดิมและสมาชิกวุฒิสภาบางส่วนใช้ประเด็นดังกล่าวมาเป็นเหตุผลรับรองการลงมติไม่เห็นชอบพิธาเป็นนายก
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดเก้าราย ส่วนใหญ่หกคน เป็นตุลาการที่มาจากรัฐธรรมนูญ 2560 ผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภาชุดพิเศษ และมีวาระการดำรงตำแหน่งเจ็ดปี อีกสามราย มีวาระดำรงตำแหน่งเก้าปี ตามรัฐธรรมนูญ 2550 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งเก้าคน จะพ้นจากตำแหน่งในเวลาแตกต่างกัน