ร่าง พ.ร.บ.ประชามติฯ กำหนดว่าการผ่านประชามติร่างรัฐธรรมนูญจะต้องได้เสียงข้างมากสองชั้น ขณะที่หากเป็นประชามติในประเด็นอื่นๆ กำหนดให้ “ใช้เสียงข้างมากของผู้มาออกเสียประชามติ” ซึ่งการกำหนดเช่นนี้มีความเหมือนและต่างจากกฎหมายประชามติในอดีต
5 เมษายน 2564 เวลา 13.30 - 16.30 น. ศูนย์วิจัย ดิเรก ชัยนาม คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับโครงการบัณฑิตศึกษา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน จัดงานเสวนาวิชาการในหัวข้อ "เสรีภาพทางวิชาการ ในสภาวะเสื่อมถอย"
ศาลรัฐธรรมนูญถูกก่อตั้งขึ้นครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญ ปี 2540 ด้วยความคาดหวังว่า ศาลจะเป็นองค์กร "พิทักษ์รัฐธรรมนูญ" ทำหน้าที่วินิจฉัยข้อพิพาททางกฎหมายหรือตรวจสอบอำนาจรัฐให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ แต่ทว่า หลังวิกฤติการเมืองที่เริ่มต้นในปี 2549 เป็นต้นมา ศาลรัฐธรรมนูญค่อยๆ ขยายบทบาทและเข้ามาเป็นผู้เล่นทางการเมืองเพื่อตอบสนองต่อกลุ่มที่เป็นปรปักษ์กับพรรคการเมืองที่ได้รับเสียงข้างมากจากประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการล้มรัฐบาล หรือ การสร้างสูญญากาศทางการเมืองเพื่อเปิดทางไปสู่การรัฐประหาร ด้วยเหตุนี้ ศาลรัฐธรรมนูญที่ควรจะเป็นผู้ยุติข้อพิพาทก็กลับกลายไปเป็นผู้สร้างข้อพิพาททางการเมืองจนนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองตลอดระยะเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมา
สืบเนื่องจากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญฉบับเต็มที่เนื้อความไม่ได้ระบุว่ารัฐสภาจะทำประชามติได้ในขั้นตอนใด การตีความทั้งในแวดวงวิชาการ แวดวงผู้มีประสบการณ์ยกร่างรัฐธรรมนูญ และในบรรดาสมาชิกรัฐสภาเอง จึงแตกต่างหลากหลายและยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ว่ารัฐสภาจะลงมติในวาระที่สามนี้หรือไม่
17 มีนาคม 2564 ที่ประชุมร่วมของรัฐสภามีมติเห็นชอบรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ..... ในวาระสาม เพียง 208 เสียง ซึ่งไม่เกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา จึงเป็นผลให้ร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันตกไป หลังมีการหารือและอภิปรายกันมายาวนานมากกว่า 12 ชั่วโมง ว่าจะมีการลงมติร่างรัฐธรรมนูญในวันนี้หรือไม่ เพราะมีการตีความคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปในแนวทางที่แตกต่างกัน แต่ในท้ายที่สุด เสียงข้างมากของรัฐสภาก็มีมติให้เดินหน้าลงมติวาระสามร่างรัฐธรรมนูญในวาระสาม
1 มีนาคม 2564 โภคิน พลกุล แกนนำกลุ่มสร้างไทย ได้ออกแถลงการณ์ถึงกรณีสมาชิกรัฐสภาจำนวน 73 คนและมติของรัฐสภาที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเรื่องหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา
รัฐสภาพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระที่สองเสร็จแล้ว จากนี้จะเข้าสู่การลงมติในวาระสาม ขั้นตอนต่างๆ จะเดินหน้าสู่การทำประชามติ การประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติม และจัดการเลือกตั้ง สสร. ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นในเวลาไม่นานถ้าหากศาลรัฐธรรมนูญไม่สั่งคว่ำกระบวนการเสียก่อน
มาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญ 2560 หรือมาตราที่ว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการแก้รัฐธรรมนูญ คือ กุญแจสำคัญในการปลดล็อกการเมืองไทยออกจากวังวนอำนาจของคสช. และพาประเทศกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยเต็มไปได้อีกครั้ง ด้วยเหตุนี้ จึงมีความพยายามของรัฐสภาที่จะแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในวาระสองเพื่อทำให้รัฐธรรมนูญแก้ง่ายขึ้น โดยให้ใช้เสียง "สามในห้า" ของรัฐสภา แต่ทว่า หลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวก็ยังคงทำให้คสช. เป็นฝ่ายได้เปรียบอยู่ดี
24 และ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ประชุมร่วมของรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยสภาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จะมีการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... ฉบับที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.แก้รัฐธรรมนูญฯ) ได้พิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว
สาระสำคัญของร่างแก้รัฐธรรมนูญ ฉบับ กมธ. คือ การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. มาจากการเลือกตั้งของประชาชน จำนวน 200 คน โดยใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง ซึ่งเป็นข้อเสนอเดียวกับร่างแก้รัฐธรรมนูญฉบับพรรคเพื่อไทย ในขณะที่ร่างแก้รัฐธรรมนูญฉบับรัฐบาลเสนอให้ สสร. มาจากการเลือกตั้ง 150 คน และมาจากการสรรหาจากกลุ่มต่างๆ อีก 50 คน