มติยูเอ็น : โรคระบาดโควิด19 ไม่ควรใช้จำกัดสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่นเสรีภาพการชุมนุม

เสรีภาพในการชุมนุมถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่อยู่ในประเทศประชาธิปไตย ซึ่งได้รับการบัญญัติคุ้มครองไว้ตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี แต่เมื่อมีไวรัสโควิด-19 ระบาดไปทั่วโลก รัฐบาลหลายประเทศต้องออกกฎหมายมาจำกัดเสรีภาพของประชาชน เช่น ห้ามจัดกิจกรรมรวมตัว สั่งให้เว้นระยะห่าง หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด รวมไปถึงการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้าง ซึ่งข้อจำกัดจากเหตุโรคระบาดนี้ก็กระทบต่อเสรีภาพในการรวมตัวเพื่อส่งเสียงนำเสนอข้อเรียกร้องด้วย

ในประเทศไทยภายใต้การประกาศใช้พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน นายกรัฐมตรีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ใช้อำนาจออกข้อกำหนดจำกัดการรวมตัว การชุมนุม ในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค และถูกนำมาใช้เป็นเหตุผลหลักในการสั่งห้ามทำกิจกรรมทางการเมือง และดำเนินคดีต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมชุมนุมทางการเมือง นับถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีผู้ถูกดำเนินคดีแล้วมากกว่า 1,445 คน อย่างน้อย 623 คดี

ในช่วงเวลาเดียวกับที่โควิดกำลังระบาดไปทั่วโลก และหลายประเทศก็ออกกฎหมายจำกัดเสรีภาพของประชาชน วันที่ 17 กรกฎาคม 2563 คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council: UNHRC) ได้มีมติที่ 44/20 เรื่อง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในบริบทของการชุมนุมโดยสงบ ซึ่งวางหลักการหลายอย่างไว้คุ้มครองการชุมนุมทั้งในสถานการณ์ปกติ สถานการณ์พิเศษ และสถานการณ์โรคระบาด  

หลักการที่น่าสนใจได้แก่

ยอมรับว่า ภายใต้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน, กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติทุกรูปแบบ เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ เสรีภาพในการแสดงออก และการรวมกลุ่ม เป็นสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการรับรองสำหรับทุกคน ขณะที่การใช้เสรีภาพก็อาจมีข้อจำกัดบางประการ ที่สอดคล้องกับพันธะหน้าที่ของรัฐตามหลักสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ใช้บังคับอยู่

ยอมรับว่า ข้อจำกัดเสรีภาพต่างๆ ต้องอยู่ในกฎหมาย และจำเป็นและได้สัดส่วนตามเป้าหมายที่การจำกัดเสรีภาพที่ชอบธรรม สอดคล้องกับพันธะหน้าที่ของรัฐตามหลักสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ใช้บังคับอยู่ และเมื่อมีข้อจำกัด การตรวจสอบด้วยอำนาจปกครองหรืออำนาจตุลาการที่รวดเร็ว, มีประสิทธิภาพ, เป็นอิสระและไม่เลือกข้างควรต้องมีอยู่

ยืนยันอีกครั้งว่า มาตรการฉุกเฉินที่รัฐบาลนำมาใช้เพื่อรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) จะต้องจำเป็น ได้สัดส่วน กับความเสี่ยงที่ประเมินได้ และต้องนำมาใช้อย่างไม่เลือกปฏิบัติ มีเป้าหมายและระยะเวลาการใช้งานที่เฉพาะเจาะจง และสอดคล้องกับพันธะหน้าที่ของรัฐตามหลักสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ใช้บังคับอยู่

Reaffirming that emergency measures taken by Governments in response to the coronavirus disease (COVID-19) pandemic must be necessary, proportionate to the evaluated risk and applied in a non-discriminatory way, have a specific focus and duration, and be in accordance with the State’s obligations under applicable international human rights law

ย้ำเตือนว่า รัฐมีความรับผิดชอบที่สำคัญเพื่อจะสนับสนุนและปกป้องสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ซึ่งรวมทั้งในบริบทของการชุมนุม เช่น การประท้วงโดยสงบ และต้องรับรองว่า กฎหมายของประเทศนั้นๆ นโยบาย และทางปฏิบัติ ในฐานะที่เป็นกรอบการทำงานเพื่อที่จะใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ เสรีภาพการแสดงออกและการรวมกลุ่ม จะสอดคล้องกับหน้าที่และพันธสัญญาสิทธิมนุษยชนสากล 

บันทึกไว้ว่า การจัดการการชุมนุมที่เหมาะสม เกี่ยวข้องกับและสามารถที่จะสร้างผลกระทบต่อการเคารพสิทธิมนุษยชนทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการชุมนุม และมีเป้าหมายที่จะมีส่วนทำให้เกิดความสงบ และป้องกันการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของผู้เข้าร่วมชุมนุม และผู้ที่สังเกตการณ์การชุมนุม และผู้ที่ยืนดู และเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วย

รับรู้ว่า การประท้วงโดยสงบสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกสังคม รวมทั้งการประท้วงที่เกิดขึ้นแบบฉับพลัน เกิดขึ้นแบบพร้อมเพรียงกัน ไม่ได้รับอนุญาต และมีข้อจำกัด

รับรู้ว่า การเข้าร่วมการประท้วงโดยสงบ เป็นรูปแบบที่สำคัญของการใช้เสรีภาพในการชุมนุม การแสดงออก และการรวมกลุ่ม และการมีส่วนร่วมในการจัดทำกิจการสาธารณะ 

รับรู้ว่า การประท้วงโดยสงบสามารถจะสร้างผลลัพธ์ในเชิงบวกต่อการพัฒนา การสร้างความเข้มแข็งและประสิทธิภาพของระบอบประชาธิปไตย และกระบวนการประชาธิปไตย ที่รวมทั้งการเลือกตั้งและการทำประชามติ 

เน้นย้ำว่า ดังนั้นทุกคน รวมทั้งคนที่เป็นส่วนน้อย หรือมีความคิดเห็นความเชื่อที่แตกต่าง จะต้องสามารถแสดงออกซึ่งความคับข้องใจ หรือความต้องการ ในลักษณะที่สันติได้ รวมทั้งการแสดงออกโดยการชุมนุมสาธารณะ โดยปราศจากความกลัวว่าจะถูกแทรกแซง หรือถูกข่มขู่ คุกคาม ทำให้บาดเจ็บ ล่วงละเมิดทางเพศ ทำร้าย ถูกจับกุมหรือคุมขัง หรือทรมาน หรือฆ่า โดยอำเภอใจ หรือถูกทำให้สูญหาย หรือต้องเข้าสู่กระบวนการในทางอาญาหรือทางแพ่งที่ไม่ถูกต้อง

แสดงความกังวล ต่อการเอาผิดทางอาญาที่เกิดขึ้นทุกส่วนของโลก ต่อบุคคลหรือกลุ่มคนที่เพียงแค่จัด หรือมีส่วนร่วมในการประท้วงโดยสงบ หรือเข้าร่วมสังเกตการณ์ หรือติดตาม หรือบันทึกข้อมูลการประท้วง และการกล่าวหาคนเหล่านั้นในฐานะที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ทั้งในตัวบทกฎหมายและระดับนโยบาย

แสดงความกังวล ต่อการสอดส่องที่ผิดกฎหมายและเป็นไปโดยอำเภอใจ ทั้งทางกายภาพและทางออนไลน์ ต่อบุคคลที่เข้าร่วมการชุมนุมโดยสงบ รวมทั้งการใช้งานเครื่องมือการติดตามตัวด้วยดิจิทัลแบบใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น เช่น เทคโนโลยีการจดจำใบหน้า การดักจับอัตลักษณ์บุคคล และกล้องโทรทัศน์วงจรปิด

เน้นย้ำว่า การประท้วงโดยสงบ ไม่ควรถูกมองว่าเป็นภัยคุกคาม และดังนั้น จึงส่งเสริมให้รัฐทุกแห่งเข้าร่วมการพูดคุยที่เปิดกว้าง มีส่วนร่วม และมีความหมาย เพื่อต้องรับมือกับการชุมนุมโดยสงบ และเหตุแห่งการชุมนุมนั้นๆ 

Stressing that peaceful protests should not be viewed as a threat, and therefore encouraging all States to engage in an open, inclusive and meaningful dialogue when dealing with peaceful protests and their causes,

ขีดเส้นใต้ว่า การพิจารณาความเสี่ยงเรื่องสุขภาพจากโรคโควิด ไม่ควรจะถูกใช้เพื่อจำกัดสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพพื้นฐาน เช่น เสรีภาพในการชุมนุม การแสดงออก และการรวมกลุ่ม ในลักษณะที่ไม่จำเป็น หรือไม่ได้สัดส่วน และการจำกัดสิทธิมนุษยชนที่ได้รับรองโดยหลักสากล จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดที่เคร่งครัดที่เขียนไว้แล้วในหลักการเหล่านั้น

“Underlining that considerations such as the health risks posed by the COVID-19 pandemic should not be used to restrict human rights and fundamental freedoms, such as the rights to freedom of peaceful assembly, of expression and of association, in an unnecessary or disproportionate manner, and that any restriction of human rights guaranteed by international instruments must fulfil the strict requirements laid down in those instruments,”

แสดงความกังวลอย่างลึกซึ้งต่อ สถานการณ์ที่การประท้วงโดยสงบต้องเผชิญกับการปราบปราม ซึ่งรวมทั้งการใช้กำลังโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย การใช้งานอาวุธที่ความร้ายแรงต่ำอย่างผิดวิธี การจับกุมคุมขังตามอำเภอใจ การซ้อมทรมาน และการบังคับให้สูญหาย รวมทั้งการสร้างข้อจำกัดที่ไม่ชอบธรรม เช่น การปิดกั้นอินเทอร์เน็ต การใช้กำลังต่อผู้ชุมนุม ผู้ที่ยืนดู นักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักข่าว และคนทำงานสื่อ

เรียกร้องไปยังรัฐต่างๆ ให้รับประกันว่า สิทธิมนุษยชนทั้งหมดจะได้รับการเคารพ คุ้มครอง และทำให้สำเร็จ แม้กระทั่งในระหว่างสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ระหว่างการระบาดของโรคโควิด19 และการรับมือจะต้องสอดคล้องกับหน้าที่และพันธสัญญาด้านหลักสิทธิมนุษยชน

เรียกร้องให้รัฐต่างๆ อำนวยความสะดวกให้การชุมนุมโดยสงบ โดยการจัดให้ผู้ชุมนุมเข้าถึงพื้นที่สาธารณะในระยะที่ให้เป้าหมายของการชุมนุมสามารถมองเห็นและได้ยินเสียงได้ โดยการคุ้มครองผู้ชุมนุมจากการข่มขู่และคุกคามใดๆ เมื่อมีความจำเป็น โดยไม่เลือกปฏิบัติ และขีดเส้นใต้บทบาทของเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ในหน้าที่นี้

Calls upon States to facilitate peaceful protests by providing protestors, to the extent possible, with access to public space within sight and sound of their intended target

audience, and by protecting them, without discrimination, where necessary, against any form of threat or harassment, and underlines the role of local authorities in this regard