เลือกตั้ง 62: สรุปลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้ง

ในการเลือกตั้ง 2562 พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 80 กำหนดให้ ให้ กกต. กําหนดลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครและพรรคการเมือง จนกระทั่งวันที่ 11 มกราคม 2561 กกต. ได้ออกระเบียบ กกต. ว่าด้วย วิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561

โดยระเบียบ กกต. ฉบับนี้ได้กำหนดลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงไว้ในข้อ 17 และ 18 ดังนี้

  1. ห้ามนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการหาเสียงเลือกตั้ง 
  2. ห้ามใช้ นักแสดง นักร้อง พิธีกร สื่อมวลชน ใช้ความสามารถเพื่อเอื้อประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้ง
  3. ห้ามแจกเอกสารด้วยการวาง หรือ โปรยในที่สาธารณะ
  4. ห้ามหาเสียงเลือกตั้งโดยใช้ถ้อยคำที่ “รุนแรง” “ก้าวร้าว” “หยาบคาย” หรือ “ปลุกระดม”
  5. ห้ามช่วยเหลือเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่อาจคำนวณเงินได้ ให้แก่ผู้ใดตามงานประเพณีต่างๆ

ทั้งนี้ เมื่อ กกต. พบเห็น ให้สั่งให้แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือลบข้อมูล และให้แจ้งคำสั่งให้ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองหรือผู้ใดที่กระทำการไม่เป็นไปตามระเบียบ กกต. เพื่อปฏิบัติตามคำสั่งนั้นโดยเร็ว

หากผู้สมัครหรือพรรคการเมืองหรือผู้ใดไม่แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือลบข้อมูลภายในเวลาที่กำหนด มีโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 156)

อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตว่า ในลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงมีการบัญญัติเรื่องการใช้ใช้ถ้อยคำที่ “รุนแรง” “ก้าวร้าว” “หยาบคาย” หรือ “ปลุกระดม” เข้ามา ซึ่งเป็นบทบัญญัติแบบเดียวกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 มาตรา 61 ที่กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการจำกัดสิทธิของผู้รณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ

นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกตอีกว่า ประกาศ กกต. เรื่อง วิธีการหรือลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้ง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ระบุเรื่องถ้อยคำที่ใช้ในการหาเสียงไว้เพียงว่า ให้ใช้ถ้อยคำที่ ‘สุภาพ’ เท่านั้น

You May Also Like
อ่าน

ข้าราชการลาออกชั่วคราวเพื่อลงสมัคร สว. 67 ได้

กฎหมายหลายฉบับได้เปิดช่องให้ข้าราชการปัจจุบันสามารถลาออกเพื่อสมัครเป็น สว. ได้โดยมีผลทันทีนับแต่วันที่ยื่นลาออก และหากไม่ได้รับการเลือกเป็น สว. ก็ยังมีทางเลือกสามารถกลับไปรับราชการได้ตามเดิมเช่นกัน
อ่าน

5 คูหา เปลี่ยนประเทศไทย: ปฏิทินแห่งความหวังสู่รัฐธรรมนูญใหม่

17 มีนาคม 2567 านเสวนา “5 คูหา เปลี่ยนประเทศไทย: ปฏิทินแห่งความหวังสู่รัฐธรรมนูญใหม่” ชวนมองไปข้างหน้า เดินหน้าเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีกระบวนการอย่างไร ประชาชนจะทำอะไรได้บ้าง รวมถึงการเลือก สว. ชุดใหม่