เลือกตั้ง 62: ข้อจำกัดด้านอายุของผู้แทนปวงชนชาวไทย ในรัฐสภา

 

 

 

 

จากกระแสการเมืองของคนรุ่นใหม่สำหรับสนามการเลือกตั้งที่จะถึงในปี 2562 และการเปิดตัวทีมงาน "คนรุ่นใหม่หรือผู้สมัครอายุน้อยๆ ของพรรคการเมืองต่างๆ ที่น่าจับตามอง ไอลอว์ชวนดูข้อจำกัดด้านอายุของนักการเมืองตามรัฐธรรมนูญไทย จากสมัยก่อนจนถึงสมัยนี้

 

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว 2475 ถูกประกาศใช้ ซึ่งกำหนดอายุของผู้สมัครรับเลือกตั้งไว้ในมาตรา 11 ว่า ต้องมีอายุ 20 ปี และต่อมาเมื่อมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในระหว่างเวลาที่ใช้บทบัญญัติเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม .. 2475  มาตรา 5 (1) กำหนดให้ ผู้แทนตำบล หรือ ผู้แทนราษฎร มีอายุ 23 ปี กล่าวได้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับแรกๆ กำหนดเป็นช่วงอายุของนักการเมืองที่น้อยที่สุดในประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญไทย

 

กว่าแปดสิบปีของพัฒนาการการเมืองไทย เรายังอยู่ในวังวนของการรัฐประหาร นำมาซึ่งการยกเลิกและร่างรัฐธรรมนูญใหม่อีกหลายฉบับ นับจนถึงปี 2560 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด รวม 20 ฉบับ ซึ่งในช่วงที่มีเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมือง บางฉบับก็ถูกประกาศขึ้นมาใช้ชั่วคราวอย่างรีบๆ ร้อนๆ และไม่ได้มีการระบุคุณสมบัติ และอายุของผู้ใช้อำนาจในสภาเอาไว้เลย

 

กระทั่งหลังจากการยึดอำนาจ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2501 ของคณะทหาร นำโดย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ล้มรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร 2502 นับแต่นั้นมาก็ไม่ได้มีการเลือกตั้งในประเทศไทยจนถึงปี 2511 ได้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่อีกครั้ง คือ รัฐธรรมนูญ 2511 ซึ่งมี ทวี บุณยเกตุ เป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ยืนยันให้ประเทศไทยมีรูปแบบการปกครองในระบบรัฐสภา ที่มี 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร และ วุฒิสภา และกำหนดคุณสมบัติของตัวแทนประชาชนในสภาให้ปรากฏขึ้นอีกครั้ง โดยกำหนดคุณสมบัติของสมาชิกสภาผูแทนราษฎร (..) เอาไว้ใน มาตรา 88 (2) ว่าต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปี ในวันเลือกตั้ง และสำหรับสมาชิกวุฒิสภา (..) กำหนดคุณสมบัติเอาไว้ใน มาตรา 78 ว่า วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิในวิชาการหรือกิจการต่างๆ อันจะยังประโยชน์ให้เกิดแก่การปกครองแผ่นดิน มีสัญชาติไทยโดย กำเนิด และมีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี ส่วนรัฐมนตรีใช้คุณสมบัติเดียวกับ .คือมีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปี ในวันเลือกตั้ง

 

หลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เมื่อ จอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ได้ลาออกจากตำแหน่ง สัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี และได้แต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่งเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งใช้เวลาเพียง 3 เดือนเท่านั้น ก็ประกาศใช้เป็น รัฐธรรมนูญ 2517 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2517 เนื่องจากคณะกรรมการได้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 2492 เป็นแนวทางในการยกร่าง รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงวางแนวการปกครองไว้คล้ายกับรัฐธรรมนูญฉบับปี 2492 คือ ยึดถือหลักการของระบบรัฐสภา ซึ่งได้ระบุคุณสมบัติของ .ไว้ใน มาตรา 117 (2) ว่าต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี ในวันเลือกตั้ง และสำหรับ .ถูกกำหนดคุณสมบัติเอาไว้ใน มาตรา 107 กำหนดให้มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี ส่วนรัฐมนตรีใช้คุณสมบัติเดียวกับ .คือมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี ในวันเลือกตั้ง

 

หลังเกิดเหตุการณ์ วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่มีการใช้กำลังเข้าปราบปรามนักศึกษา และประชาชน ที่บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำไปสู่การยึดอำนาจของทหารอีกครั้งที่เรียกว่า การปฏิรูปการปกครองในตอนเย็นวันเดียวกัน และได้ยกเลิก รัฐธรรมนูญ 2517 และมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรขึ้นใหม่เพื่อใช้แทน นั่นก็คือ รัฐธรรมนูญ 2521 ซึ่งได้ระบุคุณสมบัติของ .ไว้ใน มาตรา 94 (2) ว่าต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี ในวันเลือกตั้ง และสำหรับ .ถูกกำหนดคุณสมบัติเอาไว้ใน มาตรา 84 กำหนดให้มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี ส่วนรัฐมนตรีใช้คุณสมบัติเดียวกับ .คือมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี ในวันเลือกตั้ง

 

รัฐธรรมนูญ 2534 หรือ รัฐธรรมนูญฉบับ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ร่างมาหลังการเข้ายึดอำนาจล้มรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดย รสชทั้งนี้ พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ หัวหน้า รสชได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ที่มี "มีชัย ฤชุพันธ์เป็นประธาน ซึ่งเขียนรัฐธรรมนูญออกมาโดยระบุคุณสมบัติ ของ .ไว้ใน มาตรา 105 (2) ว่าต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี ในวันเลือกตั้ง และสำหรับ .ถูกระบุคุณสมบัติเอาไว้ใน มาตรา 94 กำหนดให้ มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี ส่วนรัฐมนตรี ถูกระบุคุณสมบัติไว้ใน มาตรา 161 (2) กำนดให้มีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปี

 

หลังจากเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ในปี 2535 มีการเคลื่อนไหวและนำเสนอความคิดที่จะปรับปรุงระบบการเมืองในเชิงโครงสร้าง ความรุนแรงจากเหตุการณ์เดือนพฤษภาและการผลักดันอย่างต่อเนื่องของประชาชนหลากหลายกลุ่มได้นำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งต่อมาคือ รัฐธรรมนูญ 2540 หรือที่มักถูกเรียกกันโดยทั่วไปว่า “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” ซึ่งได้ระบุคุณสมบัติ ของ .ไว้ใน มาตรา 107 (2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีในวันเลือกตั้งเช่นเดิม และสำหรับ .ถูกระบุคุณสมบัติเอาไว้ใน มาตรา 125 (2) กำหนดอายุเพิ่มขึ้นให้ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี ในวันเลือกตั้ง ส่วนรัฐมนตรี ถูกระบุคุณสมบัติไว้ใน มาตรา 206 (2) กำหนดอายุเพิ่มขึ้นเช่นกันให้ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี

 

รัฐธรรมนูญ 2550 จัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในระหว่าง ปี 2549–2550 ภายหลังการรัฐประหาร โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ซึ่งได้ระบุคุณสมบัติ ของ .ไว้ใน มาตรา 101 (2) ว่าต้องมีอายุ 25 ปี ในวันเลือกตั้ง และสำหรับ .ถูกระบุคุณสมบัติเอาไว้ใน มาตรา 115 (2) กำหนดให้มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี ในวันรับสมัครเลือกตั้ง หรือวันที่ได้รับการเสนอชื่อ ส่วนรัฐมนตรี ถูกระบุคุณสมบัติไว้ใน  มาตรา 174 (2) กำหนดให้มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี

 

หลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2550 ได้ไม่นาน ก็เกิดเหตุการณ์รัฐประหารขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ และในยุคสมัยนี้เองก็ได้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่แต่งตั้งขึ้นโดย คสชซึ่งมี "มีชัย ฤชุพันธ์เป็นประธาน รัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านการลงประชามติ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 และประกาศใช้เป็น รัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่จะมากำหนดชะตากรรมการเลือกตั้งในปี 2562 ด้วย

 

ทั้งนี้รัฐธรรมนูญ 2560 ได้ระบุคุณสมบัติของ .ไว้ใน มาตรา 97 (2) ว่าต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี นับถึงวันเลือกตั้ง และสำหรับ .ถูกระบุคุณสมบัติเอาไว้ใน มาตรา 108(2) กำหนดให้มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีในวันสมัครรับเลือกตั้ง ส่วนรัฐมนตรี ถูกระบุคุณสมบัติไว้ใน มาตรา 160 (2) กำนดให้มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี

 

จะเห็นได้ว่า ข้อจำกัดด้านอายุของผู้ที่จะมานั่งอยู่ในรัฐสภาไทยมีความเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามแต่ละช่วงเวลา แม้ว่า คนรุ่นใหม่จะถูกคาดหวังให้เข้าสู่การเมืองมากขึ้น แต่รัฐธรรมนูญทุกยุคสมัยก็ยังจำกัดอายุขั้นต่ำเอาไว้อยู่ตลอด สำหรับอายุของผู้สมัคร .อาจเริ่มต้นครั้งแรกในประเทศไทยเพียง 20 ปี เคยขึ้นไปถึง 30 ปีแค่ช่วงสั้นๆ และก็ลดลงมาเหลือ 25 ปีตลอดตั้งแต่ปี 2517 เป็นต้นมา ส่วนอายุของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีแม้จะเคยเท่ากับ .ที่ 25 ปี แต่ก็ถูกเพิ่มขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และเมื่อรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งมีที่มาชอบธรรมที่สุดยกหลักเกณฑ์ขึ้นไปถึง 35 ปี ก็ไม่เคยลดลงมาอีกเลย 

 

ด้านอายุของ .ก็แสดงให้เห็นถึงความเป็นสภา "สูงวัยตามชื่อเล่นที่เรียกกัน เพราะรัฐธรรมนูญไทยกำหนดคุณสมบัติไว้ไม่เคยต่ำกว่า 35 ปี และหลังรัฐธรรมนูญ 2540 ก็เพิ่มขึ้นไปเป็น 40 ปี และไม่เคยลดลงมาอีก

 

ที่ยกมาเปรียบเทียบให้เห็นกันนี้ เป็นเพียงรัฐธรรมนูญฉบับถาวรเท่านั้น ยังไม่รวมถึง รัฐธรรมนูญชั่วคราวที่คณะรัฐประหารต่างๆ ประกาศใช้เป็นช่วงเวลาสั้นๆ เช่น รัฐธรรมนูญ ชั่วคราว 2549 และ รัฐธรรมนูญ ชั่วคราว 2557 ที่กำหนดให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่แต่งตั้งมาเพื่อใช้อำนาจนิติบัญญัติแทนรัฐสภา โดย รัฐธรรมนูญ ชั่วคราว 2549 กำหนดคุณสมบัติให้ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี ส่วน รัฐธรรมนูญ ชั่วคราว 2557 กำหนดคุณสมบัติเพิ่มขึ้นให้ สนช. มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี

ไฟล์แนบ