ปฏิรูปการศึกษายุค คสช. : แก้ทั้งกฎหมาย ใช้ทั้ง ม.44 แต่ยังไปไม่ถึงฝั่งฝัน

 

 

การปฏิรูป “การศึกษาของไทยเดินหน้ากันไปแบบล้มลุกคลุกคลานมาหลายสิบปีโดยยังไม่เห็นผลเป็นรูปธรรมชัดเจน สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายของแต่ละรัฐบาล ทำให้แนวทางแก้ไขปัญหาด้านการศึกษาที่ฝันกันไว้ ยังเป็นเพียงฝัน เช่นเดียวกันเมื่อคณะรักษาความสบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศ ก็เห็นความพยายามของ คสชที่จะปฏิรูปการศึกษาอีกเช่นกัน  

 

ตลอดเวลากว่า 4 ปี คสชเข้ามาจัดการปัญหาการศึกษาโดยมุ่งเน้นปรับปรุงโครงสร้างส่วนบน ใช้อำนาจพิเศษตาม มาตรา 44” เข้าจัดการกับระบบการศึกษา ด้วยการออกเป็นคำสั่งหัวหน้า คสชอย่างน้อย 19 ฉบับ ทั้งยังแก้ไข และเสนอร่างกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา เช่น การตั้ง "กระทรวงการอุดมศึกษา นวัตกรรมและการวิจัยแยกสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) ออกจากสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

 

การปรับเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจหน้าที่ภายในกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานด้านการศึกษาต่างๆ ทำให้เกิดความชุลมุนวุ่นวายอยู่ไม่น้อย ช่วงเวลาสี่ปีของ คสชเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไปแล้ว 3 คน นอกจากนี้คำสั่งหัวหน้า คสชและกฎหมายหลายฉบับ ยังสะท้อนให้เห็นถึงความใจร้อน และเร่งรีบแก้ไขปัญหาจนขาดความรอบคอบ ซึ่งที่สุดแล้วได้สร้างปัญหาซ้ำซ้อนให้กับโครงสร้างการบริหารภายในกระทรวงศึกษาธิการ

 

แม้จะเห็น คสชใช้ความพยายามอย่างมากในการปฏิรูประบบการศึกษา แต่สิ่งที่ยังไม่เคยเห็น คือ การพยายามแก้ปัญหาอันเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษา อย่างเช่น ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา หรือประสิทธิภาพในการสอบวัดผล กลับมุ่งไปที่การรื้อระบบโครงสร้างการบริหารงานขององค์กร ฝากความหวังไว้กับกลไกราชการส่วนกลางให้ขับเคลื่อนต่อไป ลองดูกันว่า คสชลงมือปฏิรูปการศึกษาไปอย่างไรบ้าง

 

ใช้ .44 โยกย้ายข้าราชการระดับสูงในกระทรวงศึกษาธิการแบบฟ้าผ่า

  

27 เมษายน 2558 คสชสั่งโยกย้ายข้าราชการระดับสูงในกระทรวงศึกษาธิการ 6 ตำแหน่ง ด้วยการออกคำสั่งหัวหน้า คสชที่ 6/2558 ที่กำหนดให้

 

หนึ่ง สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ไปเป็นเลขาธิการสภาการศึกษา

สอง กำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษามาเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ แทน

สาม พินิจ รตะนานุกูล เลขาธิการสภาการศึกษา ย้ายไปเป็นเลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา

สี่ บัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ย้ายไปเป็นผู้ตรวจราชการ

ห้า อดินันท์ ปากบารา ผู้ตรวจราชการ มาดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

หก รัตนา ศรีเหรัญ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษา ขึ้นเป็นเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

 

แก้ข้อครหาทุจริต งัด .44 ล้างบอร์ดคุรุสภาสกสค

 

วันเดียวกัน ก็ยังออกคำสั่งหัวหน้า คสชฉบับที่ 7/2558 เพื่อแก้ไขความวุ่นวายจากข้อครหาการทุจริตในคุรุสภา ล้างกระดานกรรมการชุดเก่า โดยกำหนดให้บุคคลดังต่อไปนี้พ้นจากตำแหน่ง

 

หนึ่ง คณะกรรมการคุรุสภา

สอง กรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา(สกสค.)

สาม กรรมการในคณะกรรมการบริหารองค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา 

 

ส่วนที่ก่อให้เกิดปัญหา คือ เมื่อบุคคลเหล่านี้พ้นจากตำแหน่งแล้ว คำสั่งหัวหน้า คสชฉบับนี้เขียนว่า ไม่ให้มีการแต่งตั้งตำแหน่งดังกล่าวขึ้นใหม่ จนกว่าที่หัวหน้า คสชจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น แต่ได้แต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ มาเป็นกรรมการแทนไปก่อน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานคณะกรรมการคุรุสภา และประธานคณะกรรมการ สกสคด้วย

 

และข้อ 6 กำหนดให้บุคคลดังต่อไปนี้พักการปฏิบัติหน้าที่

 

หนึ่ง เลขาธิการคุรุสภา

สอง เลขาธิการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา

สาม ผู้อํานวยการองค์การค้าของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู

ในระหว่างที่บุคคลต่อไปนี้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พิจารณามอบหมายให้รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือข้าราชการในกระทรวงขึ้นไปปฏิบัติหน้าที่แทนก่อน 

 

ส่วนข้อ 7 กำหนดให้คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ(คตร.) เข้าไปตรวจสอบความถูกต้องโปร่งใสในการใช้จ่ายงบประมาณ การบริหารเงิน ทรัพย์สิน และผลประโยชน์ของคุรุสภา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา และองค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงบุคคลที่พ้นจากตำแหน่ง และถูกให้พักการปฏิบัติหน้าที่ และให้รายงานต่อ หัวหน้า คสชด้วย

 

เวลาผ่านไปสองปี 21 มีนาคม 2560 ก็ออกคำสั่งหัวหน้า คสชฉบับที่ 17/2560 มาอีกครั้งเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมคําสั่งหัวหน้า คสชฉบับที่ 7/2558 โดยสาระสำคัญ คือ ให้สรรหาบุคคลที่เคยให้หยุดพักการปฏิบัติงานในข้อ 6 ของคำสั่งหัวหน้า คสชฉบับที่ 7/2558 ให้มีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี 

 

และให้ยกเลิกข้อ 8 ของฉบับที่ 7/2558 ที่ระบุว่า “เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติสิ้นสุดลงตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแล้วให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการตามข้อ 1 (ที่ถูกให้พ้นออกจากตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา และเมื่อได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ให้คำสั่งนี้เป็นอันยกเลิก” หมายความว่า แม้ คสชจะสิ้นสุดลงแล้วก็อาจยังไม่มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นแทนคนที่ถูกสั่งให้ออกจากตำแหน่ง และคำสั่งที่ 7/2558 ก็จะไม่ถูกยกเลิกไป

 

ทว่าตั้งแต่มีคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 17/2560 ออกมาทำให้มีการสรรหาเลขาธิการคุรุสภา เลขาธิการ สกสค. และผู้อำนวยการองค์การค้า สกสค. มีผลทำให้คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา(กมว.) ที่มีอยู่เดิมนั้นต้องยุติการทำหน้าที่ไปด้วย ดังนั้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2561 จึงได้มีการออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 11/2561 เพื่อแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการ กมว. เพื่อให้ กมวสามารถทำหน้าที่ได้

 

ทั้งนี้สืบเนื่องจากปัญหาการกระทำผิดของ "ครูปรีชา" ในเรื่องสลากกินแบ่งรัฐบาล จึงทำให้ กมว. ที่คอยตรวจสอบมาตรฐานวิชาชีพ ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ จึงทำให้เป็นที่มาของการออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับดังกล่าว 

ใช้ .44 เลิกระบบเขตพื้นที่การศึกษา เปลี่ยนเป็นคณะกรรมการจังหวัด ดึงทิศทางปฏิรูปกลับส่วนกลาง

21 มีนาคม 2559 หัวหน้า คสชออก 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 10/2559 และ 11/2559 ส่วนสาระสำคัญของคำสั่งหัวหน้า คสชฉบับที่ 10/2559 ระบุว่า

หนึ่ง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่กำหนดทิศทางในการดำเนินงาน วางแผนงานการบริหารงานบุคคล พิจารณาการจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาคหรือจังหวัด สามารถแต่งตั้ง โอน ย้าย ผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษาได้ แม้ว่า ...ระเบียบข้าราชการครูฯ จะระบุเอาไว้ให้อำนาจหน้าที่เหล่านี้เป็นของเขตพื้นที่การศึกษา แต่คำสั่งหัวหน้า คสชฉบับนี้ก็กำหนดระบบอำนาจการบริหารขึ้นใหม่แทนระบบเดิม 

 

สอง สั่งให้ผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้ที่ปฏิบัติงานต่างๆ ในหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการภูมิภาค หรือจังหวัด หยุดพักการปฏิบัติหน้าที่หรือให้พ้นจากตำแหน่ง โดยไม่จ่ายค่าตอบแทนใดๆ  

 

สาม จัดตั้งคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด(กศจ.) และคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด(อกศจ.) ขึ้นมา และให้ยุบเลิกคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา และยุบเลิกคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(....) เขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งเดิมมีอำนาจในการบริหารงานบุคคล แต่งตั้ง บรรจุข้าราชครูและบุคลากรทางการศึกษา เช่น บรรจุข้าราชครู แต่งตั้ง โยกย้ายผู้อำนวยการโรงเรียนในเขตพื้นที่ของตัวเอง โอนไปเป็นอํานาจหน้าที่ของ คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด(กศจ.) ของแต่ละจังหวัดนั้น ส่วนผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาให้นั่งตำแหน่งอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด(อกศจ.) แต่ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่เหมือนเดิมแล้ว

 

ส่วนคำสั่งหัวหน้า คสชฉบับที่ 11/2559 ที่กำหนดให้ต้องมีสำนักงานศึกษาธิการภาค 18 ภาค และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด เพื่อปฏิบัติภารกิจ ของกระทรวงศึกษาธิการในระดับพื้นที่ โดยกำหนดให้

 

หนึ่ง ยกเลิกสำนักงานศึกษาธิการภาค 1-13 

สอง ตั้งสำนักงานศึกษาธิการภาค 18 ภาค 
สาม ตั้งสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด โดยมีศึกษาธิการจังหวัดและรองไม่เกิน 1 คน 
สี่ ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งศึกษาธิการจังหวัดและรองฯ จากข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการ 
ห้า โอนอำนาจหน้าที่ ผู้อำนวยการเขตทั้งประถม มัธยม และ ...เขตพื้นที่การศึกษา ไปเป็นอำนาจหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัด 
หก ระหว่างที่ยังไม่มีสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ให้ใช้สำนักงานของเขต 1 เป็นสำนักงาน

 

ต่อมา 13 กรกฎาคม 2559 ก็มีคำสั่งหัวหน้า คสชฉบับที่ 38/2559 ออกมาเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่ง ที่ 10/2559 และ 11/2559 โดยมีการแก้ไขคำผิด และเพิ่มสาระสำคัญเรื่องอำนาจของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดในข้อ 7 ว่า ให้เสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคเพื่อแต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัดได้ แต่ไม่ให้อำนาจแต่งตั้งคณะทำงาน และเพิ่มข้อ 7/1 ให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานตามความจำเป็น เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ 

 

แก้ไขข้อความในข้อ 8 ให้เพิ่มหน้าที่ของ อกศจเป็น “ทำหน้าที่ช่วยเหลือหรือกลั่นกรองงานเกี่ยวกับการบรรจุ การแต่งตั้ง โยกย้าย การดำเนินการทางวินัย การกำหนดวิทยฐานะ หรือการกำหนดสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดนั้น” ดูเหมือนว่าจะให้อำนาจผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษามีส่วนร่วมแต่งตั้ง โยกย้าย ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งข้อกำหนดนี้จะกลับมาปรากฏอีกครั้งในคำสั่งหัวหน้า คสชฉบับที่ 19/2559  

 

นอกจากนี้ยังแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้า คสชฉบับที่ 11/2559 โดยให้มีรองศึกษาธิการภาคได้ไม่จำกัด จากเดิมที่จำกัดไม่เกินหนึ่งคน 

 

แต่เนื่องจากคำสั่งหัวหน้า คสชฉบับที่ 11/2559 ที่กำหนดให้มีศึกษาธิการภาค ทำให้การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคยังมีปัญหาเกี่ยวกับกำลังคนและการกำหนดตำแหน่งศึกษาธิการภาค และรองศึกษาธิการภาค ดังนั้น 10 มกราคม 2560 จึงมีการออกคำสั่งหัวหน้า คสชฉบับที่ 1/2560 กำหนดให้กระทรวงศึกษาธิการมีคณะอนุกรรมการสามัญ(...) ขึ้นคณะหนึ่ง และให้เกลี่ยอัตรากำลังในกระทรวงศึกษาธิการเพื่อกำหนดตำแหน่งและแต่งตั้งเป็นศึกษาธิการภาคและรองศึกษาธิการภาค เพื่อรองรับการจัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการภาค 

 

ยุบระบบเขตพื้นที่ไปแล้ว – โรงเรียนขาด ผอเพราะขาดคนมีอำนาจแต่งตั้ง

 

ต่อมา 21 มีนาคม 2560 ออกคำสั่งหัวหน้า คสชฉบับที่ 16/2560 สาระสำคัญระบุว่า

 

หนึ่ง ปลดคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(...) บางตำแหน่ง ซึ่งมีหน้าที่กำหนดวิธีการ กฎเกณฑ์ ระเบียบการบรรจุครู รวมทั้งกำหนดอัตรารายได้ ค่าตอบแทน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งของครู มีผลทำให้จำนวนคณะกรรมการ ..ลดจาก 31 คน เหลือ 12 คน 

 

สอง ปลด คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา(....) ชุดที่ทำงานอยู่ให้พ้นจากตำแหน่ง และให้ ..แต่งตั้งอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(....) วิสามัญ ขึ้นมา 3 คณะ ให้แต่ละคณะมีจำนวนไม่เกิน 15 คน

 

สาม ให้แก้ไขคำว่า “ขั้นเงินเดือน” ในกฎหมายระเบียบข้าราชการครูฯ เป็นคำว่า “เงินเดือน” ทุกแห่ง เพื่อรองรับการเลื่อนเงินเดือนเป็นเปอร์เซ็นต์ และยกเลิกระบบขั้นเงินเดือน

 

สี่ ห้ามนำ มาตรา 47 ในกฎหมายระเบียบข้าราชการครูฯ มาใช้ มีผลทำให้ ...ไม่มีอำนาจในการดำเนินการสอบบรรจุและแข่งขันบุคคลเข้ารับราชการ และให้อำนาจดังกล่าวเป็นอำนาจของ ..โดย ..อาจจะมอบอำนาจให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด(...) ดำเนินการเรื่องสอบบรรจุแทนก็ได้ 

 

ห้า ไม่ให้นำมาตรา 54 ของพ...ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ 2546 มาใช้ ซึ่งระบุว่า ในกรณีไม่มี ผู้อำนวยการโรงเรียน ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแต่งตั้งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาคนใดคนหนึ่งรักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้รองผู้อำนวยการ หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้อำนวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาแต่งตั้งข้าราชการในสถานศึกษาคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทนก็ได้

 

แต่ให้ไปใช้มาตรา 68 ของ ...ระเบียบข้าราชการครูฯ แทน ซึ่งระบุให้ .... เขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไปรักษาการในตำแหน่งนั้นได้ แต่เพราะ ...เขตพื้นที่การศึกษาได้ถูกยุบเลิกไปตามคำสั่งหัวหน้า คสชฉบับที่ 10/2559 ผลที่เกิดขึ้น คือ เมื่อสถานศึกษาใดที่ไม่มีผู้อำนวยการ ก็ยังไม่มีการแต่งตั้ง หรือสั่งให้ใครไปรักษาการแทนได้ 

 

ฟางเส้นสุดท้าย ใช้ มาตรา 44 ยกเลิกคำสั่งก่อนหน้า สร้างแรงปะทุให้ ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา

 

การเปลี่ยนแปลงอำนาจแต่งตั้งโยกย้ายบุคลากรที่เคยอยู่ในมือของเขตพื้นที่การศึกษา ไปเป็นของกระทรวงศึกษาธิการ และระบบคณะกรรมการจังหวัด ย่อมทำให้เกิดปัญหาตามมา และเมื่อความวุ่นวายนี้ไปถึงหูหัวหน้า คสชจึงแก้ปัญหาด้วยวิธีการไม่ยากไปกว่าตอนที่สร้างปัญหาขึ้น คือ การออกคำสั่งหัวหน้า คสชฉบับที่ 19/2560 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2560 ให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสชที่สร้างปัญหา ได้แก่ 10/2559, 11/2559, 38/2559 และ 1/2560 (เฉพาะข้อ 8) 

 

แต่สาระสำคัญที่ยังคงไว้ คือ ให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ศึกษาธิการภาค และศึกษาธิการจังหวัดเหมือนเดิม ส่วนบรรดาระเบียบ กฎหมายต่างๆ ที่เคยเป็นของเขตพื้นที่การศึกษา หรือ ...ให้ถือว่า อ้างถึง กศจ.

 

นอกจากนี้คำสั่งหัวหน้า คสชฉบับที่ 19/2560 ยังมีรายละเอียดเพิ่มเติม เช่น เพิ่มหน้าที่ของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาให้สามารถเกลี่ยอัตรากำลังข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาได้ทั้งกระทรวง โดยไม่ต้องรับคนเพิ่มกำหนดกรรมการใน อกศจตำแหน่ง “ผู้ทรงคุณวุฒิ” ว่า ต้องไม่เป็นกรรมการใน กศจและเรื่องอำนาจแต่งตั้ง โยกย้าย ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สืบเนื่องจากคำสั่งหัวหน้า คสชฉบับที่ 38/2559 ที่เคยแก้ไขโดยระบุให้ อกศจมีหน้าที่ช่วย กศจแต่สุดท้ายแล้ว ในข้อ 13 ของคำสั่งหัวหน้า คสชฉบับนี้ก็ระบุว่า ให้ศึกษาธิการจังหวัดโดยความเห็นชอบของ กศจเป็นผู้มีอำนาจบรรจุและแต่งตั้ง

 

จากคำสั่งหัวหน้า คสชทั้งหมดนี้ เรียกได้ว่า คสชใช้อำนาจตาม "มาตรา 44" เข้ายึดทั้งอำนาจหน้าที่และสำนักงานของเขตพื้นที่การศึกษาทั้งหมด รวบอำนาจท้องถิ่นไปเป็นของส่วนกลาง แล้วให้กระทรวงศึกษาธิการลงมาเป็นผู้แต่งตั้งศึกษาธิการภาคและศึกษาธิการจังหวัด และใช้อำนาจแทนระบบเขตพื้นที่การศึกษาเดิม แน่นอนว่า การรวบอำนาจเช่นนี้ย่อมสร้างความไม่พอใจให้แก่ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษาผู้ถืออำนาจเดิม คำสั่งหัวหน้า คสชที่ออกมาจึงสร้างแรงประทุให้กับผู้ได้รับผลกระทบมาตลอด โดยเฉพาะทันทีเมื่อคำสั่งหัวหน้า คสชที่ 19/2560 ถูกประกาศใช้

 

ธันวาคม 2560 มติชนออนไลน์รายงานว่า ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษานำทีมผู้อำนวยการโรงเรียน ต่อต้านและปฏิเสธร่วมงานกับ ศธจตามมาด้วยการที่ผู้อำนวยการโรงเรียน ฟ้องร้อง ศธจฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และตามมาด้วยปัญหาความขัดแย้งอีกมากมาย

 

ด้าน นพ.ธีรเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เสนอให้นายกรัฐมนตรี แก้ไขคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 19/2560 อีกครั้ง เพื่อคืนอำนาจการบริหารงานบุคคลให้เขตพื้นที่การศึกษาหวังแก้ไขปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว โดยการตั้งคณะกรรมการ 2 ชุด คือ หนึ่ง คณะกรรมการบูรณาการด้านการศึกษา และสอง คณะกรรมการการบริหารงานบุคคล ซึ่งทั้ง 2 ชุด จะมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ศธจจะเป็นเลขานุการ สำหรับคณะกรรมการบริหารงานบุคคล จะมีผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดทุกคนร่วมเป็นกรรมการ พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีสัดส่วนเท่ากับผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา และผู้แทนจากส่วนต่างๆ ทว่าเวลาล่วงผ่านมาหลายเดือนก็ยังไม่มีการประกาศใช้การแก้ไขคำสั่งดังกล่าวตามข้อเสนอ

 

พินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(...) กล่าวเมื่อ 17 กรกฎาคม 2561 ถึงกรณีที่ชมรมผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาแห่งประเทศไทย(.ผอ.สพท.) ได้เข้าพบวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เพื่อสอบถามความความคืบหน้าในการแก้ไขคำสั่งหัวหน้า คสชฉบับที่ 19/2560 โดยวิษณุตอบในทำนองที่ว่า การแก้ไขคำสั่งหัวหน้า  คสชค่อนข้างยาก และเสนอแนะให้ใช้ช่องทาง “คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา(กอปศ.)” แทน คือ ให้เสนอกฎหมายเพื่อแก้ไขแนวปฏิบัติที่เป็นปัญหาไปยัง กอปศและรัฐบาลจะรับร่างกฎหมายที่เสนอมาจาก กอปศมาพิจารณา ซึ่งความหมายของวิษณุ คงอยากให้ไปสอบถามความคิดเห็นของ กอปศด้วย 

 

ด้าน บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) กล่าวว่า ตนได้พูดคุยกับผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเท่าที่ดูทุกคนเข้าใจ และให้การสนับสนุน โดยทางออกที่ยั่งยืน คือ การแก้ไขปรับปรุง ...ระเบียบราชการครูฯ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(...) ซึ่งอยู่ในระหว่างการยกร่าง และรับฟังความคิดเห็น ทั้งนี้สิ่งที่ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาต้องการทั้งหมด ถูกระบุไว้ในร่าง ...เรียบร้อยแล้ว 

 

รวมอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนให้ไปอยู่ภายใต้การดูแลของ สอศ. – ปฏิรูปยกระดับอาชีวศึกษา

 

12 กุมภาพันธ์ 2559 มีการออกคำสั่งหัวหน้า คสชฉบับที่ 8/2559 รวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐและภาคเอกชน กำหนดให้อาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนไปอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ(สอศ.) ส่งผลให้อาชีวศึกษาของรัฐและเอกชนถูกควบรวมเข้าด้วยกัน

ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณกรรมการอาชีวศึกษา(กอศ.) ให้สัมภาษณ์ผ่านมติชนออนไลน์ว่า คำสั่งหัวหน้า คสชฉบับที่ 8/2559 ทำให้โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในระบบ จำนวนกว่า 460 แห่ง ที่มีนักเรียน นักศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชีพ(ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) 3 แสนกว่าคน มาอยู่ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา(สอศ.) นอกจากนี้จะมีการโอนกลุ่มงานอาชีวศึกษาเอกชน(สช.) มารวมกับ สอศด้วย โดยเป็นข้อเสนอของกลุ่มอาชีวศึกษาที่ต้องการมาสังกัด สอศ.

 

นอกจากนี้ คสชยังให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพของอาชีวศึกษา เพื่อให้มีผู้เรียนมากขึ้น เนื่องจากวิชาชีพในสายอาชีวศึกษามีความต้องการสูง แนวหน้ารายงานว่าเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2561 นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ย้ำให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งดำเนินการปฏิรูปอาชีวศึกษาใหม่ให้เป็นรูปธรรม และถือเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลในการผลิตกำลังคนเพื่อพัฒนาประเทศ โดยเบื้องต้น มีสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการ 3 แนวทาง คือ 

 

หนึ่ง ยกประสิทธิภาพ และคุณภาพของ สอศให้ดีขึ้น โดยมีหน่วยงานที่จะเป็นต้นแบบได้ทันที คือ แนวทางของวิทยาลัยแห่งชาติว่าด้วยเทคโนโลยีโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น 

สอง พัฒนาศักยภาพผู้เรียนอาชีวศึกษา ให้เชื่อมโยงกับระบบมหาวิทยาลัย เนื่องจากรายวิชาของอาชีวศึกษาไทยไม่อยู่ในแนวเดียวกับหลักสูตรที่สามารถไปเทียบโอนเข้าศึกษาต่อในหาวิทยาลัยได้ จึงต้องมีการปรับมาตรฐานหลักสูตรให้เชื่อมกัน 

สาม ปรับฐานเงินเดือน การันตีเงินเดือนให้สูงกว่าระดับปริญญาตรีให้ผู้ที่จบสายอาชีพ ทั้งนี้จะต้องหารือกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(..) ต่อไป

 

16 พฤษภาคม 2561 ไทยรัฐออนไลน์รายงานว่า .นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการ อิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา(กอปศ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องการปฏิรูปอาชีวศึกษา โดยจะกำหนดเป็นมาตราหนึ่งในร่าง ...การศึกษาแห่งชาติ ซึ่งจะกำหนดมีการดำเนินการใน 2 ส่วนคือ หนึ่ง การลดข้อบังคับต่างๆ เพื่อการจัดการอาชีวศึกษา เพื่อให้การจัดการอาชีวศึกษามีความคล่องตัวมากขึ้น และสองการกำหนดมาตรการเชิงรุกเพื่อให้การจัดการอาชีวศึกษาเกิดประสิทธิภาพ เนื่องจากการจัดในรูปแบบเดิมไม่สามารถทำให้เกิดคุณภาพได้

 

ทั้งนี้ ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ กล่าวว่า ทางคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา มุ่งมั่นให้ ..การศึกษาแห่งชาติ .. …. เสร็จทันรัฐบาลชุดนี้ และคาดว่าหลังจากเสร็จกระบวนการจะสามารถส่งให้ สนชพิจารณาได้ภายใน 24 กันยายน 2561 หากไม่ประสบปัญหาอะไรจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 2561

 

ปลดผู้อำนวยการสำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา

 

16 พฤษภาคม 2559 มีการออกคำสั่งหัวหน้า คสชฉบับที่ 23/2559 สั่งระงับการปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวของ ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชนและให้ คมศร วงษ์รักษา รองผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา เป็นผู้รักษาการแทน

 

 

กระทั่ง 13 ธันวาคม 2559 มีการออกคำสั่งหัวหน้า คสชฉบับที่ 73/2559 สั่งให้ ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา และกำหนดให้ คมศร วงษ์รักษา พ้นจากการรักษาการแทน และให้คณะกรรมการบริหารสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา สรรหาและแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาขึ้นแทน

 

จัดระเบียบทะเลาะวิวาทนักเรียนนักศึกษา ลงโทษผู้ปกครองจำคุกสูงสุด 6 เดือน 

 

การใช้คำสั่งหัวหน้า คสชถูกขยายขอบเขตออกไปจนถึงการแก้ปัญหาทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษา 21 มิถุนายน 2559 หัวหน้า คสชออกคำสั่งฉบับที่ 30/2559 เพื่อกำหนดมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนและนักศึกษา โดยระบุให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจกักตัวนักเรียนและนักศึกษาที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาท ทําร้ายร่างกายผู้อื่น หรือเตรียมการเพื่อก่อเหตุเป็นการชั่วคราวไม่เกิน 6 ชั่วโมง เพื่อนําตัวส่งตํารวจ ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง แล้วแต่กรณี ส่วนโรงเรียนและสถานศึกษา มีหน้าที่จัดให้มีกิจกรรม เร่งจัดทํามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาท ผู้ใดยุยง ส่งเสริม ช่วยเหลือ หรือสนับสนุน ให้นักเรียนหรือนักศึกษาไปก่อเหตุ ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ 

 

คำสั่งหัวหน้า คสชฉบับนี้ถูกนำมาบังคับใช้ลงโทษผู้ปกครอง โดยคดีแรกเป็นกรณีที่เยาวชน อายุ 17 ปี 2 คน ร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น และร่วมกันมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและพกพาไปในที่สาธารณะ โดยศาลเยาวชนและครอบครัวกลางพิพากษาจำคุกผู้ปกครองของเยาวชนทั้งสอง เป็นเวลา 6 เดือน ปรับคนละ 60,000 บาท แต่ผู้ต้องหาทั้งคู่ให้การรับสารภาพ ศาลจึงลดโทษให้จำคุก 3 เดือนปรับ 30,000 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี

 

ออกคำสั่งเรียนฟรี 15 ปี หลังถูกวิจารณ์เรื่องสิทธิการศึกษาฟรี 12 ปี ใน รธน.

 

15 มิถุนายน 2559 มีการออกคำสั่งหัวหน้า คสชฉบับที่ 28/2559 กำหนดให้มีการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ครอบคลุมตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ ปวช. 3 เรียนฟรี 15 ปี คำสั่งฉบับนี้ออกมาหลังจากเกิดกระแสคัดค้านข้อความในร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ เรื่องสิทธิการศึกษาฟรี 12 ปี โดยเริ่มตั้งแต่เด็กเล็ก ซึ่งทำให้รัฐธรรมนูญรับรองการศึกษาฟรีแค่ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 

 

มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เคยชี้แจงไว้ว่า สาเหตุที่รัฐธรรมนูญรับรองการเรียนฟรีถึงแค่ .3 เพราะระบบการศึกษาปัจจุบันไม่ทัดเทียมกัน เด็กจะสามารถพัฒนาได้ในช่วงอายุ 2-5 ขวบ แต่มีเพียงคนมีเงินเท่านั้นที่ได้รับการพัฒนา ส่วนคนจนไม่ได้รับ ดังนั้นจึงร่นระยะเวลาลงมาเป็น 12 ปี และเริ่มตั้งแต่ช่วงอนุบาลเพื่อรองรับคนจน และพอถึง .ปลาย ก็จะมีกองทุนเพื่อช่วยเหลือการศึกษาของผู้ยากไร้อีกด้วย 

 

แก้ปัญหาธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยมีปัญหา เสี่ยงโดนปิด

 

12 กรกฎาคม 2559 หัวหน้า คสชออกคำสั่ง ฉบับที่ 39/2559 เพื่อจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา กรณีที่การหาผู้ดํารงตําแหน่งนายกสภาสถาบันอุดมศึกษา กรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา หรืออธิการบดี ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีอํานาจยับยั้งการแต่งตั้งหรือการดําเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้ที่จะดํารงตําแหน่งดังกล่าวได้

 

และกำหนดให้คณะกรรมการการอุดมศึกษารายงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปรากฏว่าสภาสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันอุดมศึกษาแห่งใดมีกรณี ดังต่อไปนี้

หนึ่ง จัดการศึกษาไม่เป็นไปตามมาตรฐาน จนอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นิสิตนักศึกษา ระบบการศึกษา สังคม หรือประเทศชาติ

 

สอง จงใจ หลีกเลี่ยง หรือประวิงการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของสถาบันอุดมศึกษา หรือคําสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่สั่งการตามคําสั่งนี้หรือตามกฎหมาย

 

สาม นายกสภาสถาบันอุดมศึกษา กรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา หรือผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา มีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริต

 

สี่ เกิดปัญหาความขัดแย้งภายในสถาบันอุดมศึกษาจนสภาสถาบันอุดมศึกษา หรือสถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้

 

หากเกิดกรณีขัดแย้งที่กล่าวมาข้างต้น คณะกรรมการการอุดมศึกษาอาจแต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทํางาน หรือมอบหมายบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายคน ตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคําแนะนําของ คณะกรรมการการอุดมศึกษามีอํานาจสั่งการให้สภาสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันอุดมศึกษาแห่งนั้น ยับยั้งการรับนิสิตนักศึกษา ปิดหลักสูตร ยุติการจัดการศึกษา หรือดําเนินการอื่นใด

คำสั่งหัวหน้า คสช.ฉบับนี้ยังระบุว่า เมื่อคําสั่งนี้มีผลใช้บังคับให้ดําเนินการตามคําสั่งนี้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิโดยทันที ต่อมาคำสั่งดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้อีกครั้ง โดยวันที่ 23 มิถุนายน 2560 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศ คสชฉบับที่ 1/2560 อ้างอิงตามคำสั่งหัวหน้า คสชฉบับที่ 39/2559 เพื่อควบคุมปัญหาการบริหารภายในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่แก้ไขไม่ได้ด้วยมาตรการปกติ

 

ดึงมหาวิทยาลัยต่างประเทศมาตั้งในไทย เด็กไทยยังเข้าถึงได้ยาก

 

คสชยังส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและวิทยาการจากสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor หรือ EEC) และเสริมสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในประเทศไทย เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางการศึกษาของอาเซียนในอนาคต 

 

วันที่ 26 พฤษภาคม 2560 มีการออกคำสั่งหัวหน้า คสชที่เกี่ยวข้อง คือ ฉบับที่ 27/2560 กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีอํานาจพิจารณาสรรหา อนุมัติ และจัดทําข้อตกลงกับสถานศึกษาที่มีศักยภาพสูงที่มีความสําคัญต่อการพัฒนาประเทศ เพื่อเข้ามาดําเนินการจัดการศึกษาในประเทศไทย 

 

และคำสั่งหัวหน้า คสชฉบับที่ 29/2560 กำหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนาการจัดการศึกษาโดยสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ(คพอต.) และให้สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ รับผิดชอบงานธุรการ

 

สำหรับสถานศึกษาศักยภาพสูงจะได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศ และหลักเกณฑ์การประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษาและการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา และในกรณีจําเป็น คพอตอาจเสนอ ครมเพื่อขอยกเว้นการปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎอื่นอีกได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่สถานศึกษาในไทยที่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไทย และเนื่องจากสถานศึกษาศักยภาพสูงจากต่างประเทศมีค่าใช้จ่ายที่สูง และจัดการศึกษาโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก อาจเอื้อประโยชน์ให้กับนักเรียนนักศึกษาชาวต่างชาติมากกว่าจะให้โอกาสกับเด็กไทยที่มีฐานะยากจน

 

ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. เปิดช่องคนนอกนั่งอธิการบดีได้

 

สิงหาคม 2560 หัวหน้า คสชออกคำสั่ง ฉบับที่ 37/2560 แก้ไขปัญหาการบริหารงานของสถาบันอุดมศึกษา ที่กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษามีอํานาจแต่งตั้งบุคคลที่ไม่ได้เป็นข้าราชการหรือพนักงานในสถาบันอุดมศึกษานั้ มาดํารงตําแหน่งอธิการบดีรองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี หรือคณบดีได้ ซึ่งคำสั่งหัวหน้า คสชฉบับนี้ทำให้เกิดกระแสวิจารณ์อย่างมากในสังคมออนไลน์ว่าอาจเป็นการเปิดทางให้ "ทหารสามารถเข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญในมหาวิทยาลัยได้

 

11 สิงหาคม 2560 ประชาไทรายงานว่า ที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณาจารย์และบุคลากรอุดมศึกษา ร่วมแสดงพลังคัดค้าน คำสั่งหัวหน้า คสชฉบับที่ 37/2560 โดยกิจกรรมดังกล่าวมีการอ่านแถลงการณ์ ในนาม “เครือข่ายคณาจารย์และบุคลากรอุดมศึกษาไทย” ซึ่งมีผู้ร่วมลงชื่อกว่า 200 คน เรียกร้องให้ยกเลิกคำสั่งฉบับดังกล่าว และเรียกร้องให้ คสชยุติการกระทำการใดๆ ที่เป็นการแทรกแซงมหาวิทยาลัยอีกต่อไป 

 

มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ผ่านฉลุยยุค คสช

 

การเปลี่ยนแปลงระบบบริหารให้ "มหาวิทยาลัยออกนอกระบบหมายถึง การเปลี่ยนสถานะของมหาวิทยาลัยจากส่วนราชการปกติ ไปเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ช่วยให้ผู้บริหารมีอิสระ และคล่องตัวในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ เช่น การเงิน งบประมาณ การบริหารงานบุคคล เป็นต้น และสามารถกำหนดกฎเกณฑ์ภายในด้วยตัวเองได้ ในขณะที่การออกนอกระบบของมหาวิทยาลัย ไม่ได้ทำให้การอุดหนุนงบประมาณจากรัฐน้อยลง 

 

อ่านเพิ่มเติมที่ : https://ilaw.or.th/node/3773

 

เป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยหลายแห่งพยายามจะปรับเปลี่ยนให้ออกนอกระบบ แต่ก็ได้ถูกเสียงคัดค้าน ด้วยเหตุผลหลัก คือ กลัวว่า ค่าเล่าเรียนของนักศึกษาจะเพิ่มขึ้น จึงทำสำเร็จได้ยาก กระทั่งในยุค คสชได้มีการเสนอร่างพ..เพื่อให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบอีกหลายฉบับ แม้ว่า ระหว่างทางที่ร่าง ...เหล่านี้ถูกนำเข้าที่ประชุม ครมก็มีกระแสต่อต้านอย่างต่อเนื่องทั้งในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมทั้งมีการประท้วงหน้ารัฐสภาแต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ 

 

เมษายน 2558 ประชาไทรายงานว่า นักศึกษากลุ่มลูกชาวบ้าน .บูรพา บางแสน เตรียมการจัดเสวนา "ทำไมต้องนำม.ออกนอกระบบแต่กลับถูกเจ้าหน้าที่ทหารอ้าง ".44" ตามรัฐธรรมนูญ เข้าตรวจสอบงานและขอดูใบขออนุญาติจัดกิจกรรม ทำให้นักศึกษากลุ่มดังกล่าวไม่สามารถจัดกิจกรรมได้

 

17 กรกฎาคม 2558 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ ...ใหม่ 4 ฉบับ เรื่องมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ทำให้มี “มหาวิทยาลัยนอกระบบ” หรือมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐรวมแล้ว 20 แห่ง 

 

เตรียมตั้ง “กระทรวงการอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรม หนุนยุทธศาสตร์ คสช. 20 ปี

 

รัฐบาล คสชยังมีความตั้งใจที่จะปฏิรูปการศึกษาระดับอุดมศึกษา ด้วยการเตรียมจัดตั้งให้เป็น “กระทรวง” ขึ้นมาใหม่ โดยดึงสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสถาบันวิจัย ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.) ตั้งเป็น "กระทรวงการอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรม" เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จ เปิดตัวได้เดือนกุมภาพันธ์ 2562

 

มีนาคม 2561 คณะกรรมาธิการการศึกษาและกีฬา สนชเสนอรายงานการพิจารณาศึกษา แนวทางการจัดตั้งกระทรวงอุดมศึกษา ต่อที่ประชุม สนชโดยให้เหตุผลว่า การศึกษาระดับอุดมศึกษามีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากการศึกษาในระดับอื่น การบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาเดิมอยู่ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ โดยที่กระทรวงดูแลการศึกษาของประเทศทั้งระบบ มีภารกิจงานและบุคลากรจำนวนมาก ทั้งสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ หรือมหาวิทยาลัยนอกระบบ มหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่งทั่วประเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มรท.) 9 แห่ง สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่มีทั้งมหาวิทยาลัย วิทยาลัย สถาบัน และนี่ยังรวมถึงวิทยาลัยชุมชนอีกด้วย

 

กระทั่ง 20 พฤษภาคม 2561 สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ให้สัมภาษณ์ผ่านมติชนออนไลน์ ถึงกรณีการตั้งกระทรวงใหม่ว่า จะเป็นการควบรวม สกอและ วทซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานให้ทุนวิจัยของประเทศทั้งหมด อย่าง สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ทั้งยืนยันว่า การควบรวมดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายปฏิรูปประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อให้ประเทศเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0

 

การตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็นกระทรวงใหม่ในครั้งนี้มีการจัดทำร่างกฎหมาย 3 ฉบับที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

 

หนึ่ง ร่าง ...ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) .. …. เพื่อให้สามารถตั้งกระทรวงใหม่ขึ้นมาได้

 

สอง ร่าง ...การอุดมศึกษา .. … สาระสำคัญ คือ กำหนดแนวทางการจัดการอุดมศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดตั้งกระทรวงอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรมที่ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคู่กับการพัฒนาคนที่มีคุณภาพ เพิ่มความสามารถการแข่งขันของประเทศ 

 

สาม ร่าง ...การวิจัยและนวัตกรรม .. … ซึ่งขณะนี้ยังไม่แล้วเสร็จ และจะมีการส่งตามไปทีหลัง

 

 

ขึ้นเงินเดือนครูและบุคลากรทางการศึกษา 

 

ธันวาคม 2557 คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการอนุมัติหลักการร่างกฎหมาย 5 ฉบับเพื่อปรับปรุงเงินเดือนของข้าราชการประเภทต่าง  ได้แก่ 1) ร่างพ...ระเบียบข้าราชการพลเรือน 2) ร่างพ...ระเบียบข้าราชการทหาร 3) ร่างพ...ตำรวจแห่งชาติ 4) ร่าง...ระเบียบเงินเดือนเงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 5) ร่าง ...ระเบียบข้าราชการ กระทั่งมกราคม 2558 ร่างกฎหมายทั้ง 5 ฉบับนี้ เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) มีมติเห็นด้วย 198 เสียง ไม่เห็นด้วย 0 งดออกเสียง 4 และราชกิจจานุเบกษาประกาศใช้เป็นกฎหมายเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน หรือภายใน 6 เดือนหลังมีมติ ครม.ดังกล่าว

 

มีนาคม 2559 สนชพิจารณาร่าง ...ระเบียบข้าราชการพลเรือนสถาบันอุดมศึกษา ประกาศใช้เป็นกฎหมาย 21 มีนาคม 2559 การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายครั้งนี้เกี่ยวข้องกับเงินเดือนแค่การแก้ไขถ้อยคำในเรื่องขั้นเงินเดือน เพื่อให้ระบบการเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสอดคล้องกับระบบการเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนเท่านั้น 

 

สองปีถัดมา รัฐบาล คสชออกมติ ครม. 28 พฤษภาคม 2561 เห็นชอบหลักการร่างพ...ระเบียบราชการพลเรือนสถาบันอุดมศึกษา เพื่อแก้ไขกฎหมายดังกล่าวอีกครั้ง เสนอให้อาจารย์มหาวิทยาลัย ได้เงินเดือนเพิ่มร้อยละ 8 ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณ 600 กว่าล้านบาท 

 

ความเหลื่อมล้ำในการจัดสรรงบฯ – 3 .ดังในกรุงเทพ ได้งบมากกว่าราชภัฏ 38 แห่ง

 

TCIJ รายงานว่า จากเอกสารงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ .. 2562 ของกระทรวงศึกษาธิการ พบว่า สถาบันอุดมศึกษาที่เป็นส่วนราชการและหน่วยงานในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ 80 แห่งได้รับงบประมาณอุดหนุนรวม 113,652.85 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึง 23.20% ของงบประมาณที่กระทรวงศึกษาธิการได้รับทั้งหมดจำนวน 489,798.57 ล้านบาท โดยมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของไทย 8 อันดับแรกจากการจัดอันดับโดยองค์กรต่างประเทศ ได้งบสูงสุดถึง 7 แห่ง นอกจากนี้ยังพบว่า มหาวิทยาลัยของรัฐยอดนิยมของไทย 3 แห่งได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับงบประมาณรวมกันถึง 23,364.9 ล้านบาท ขณะที่มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ 38 แห่ง ได้รับงบประมาณรวมกันเพียง 19,851.86 ล้านบาท

 

สำหรับ 10 มหาวิทยาลัยที่ได้งบประมาณมากสูงสุดได้แก่

 

1.มหาวิทยาลัยมหิดล 13,162.29 ล้านบาท

2.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  6,535.36 ล้านบาท

3.มหาวิทยาลัยขอนแก่น 6,019.04 ล้านบาท

4.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 6,004.83 ล้านบาท

5.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 5,556.22 ล้านบาท

6.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 5,042.32 ล้านบาท

7.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 4,646.39 ล้านบาท

8.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 3,971.08 ล้านบาท

9.มหาวิทยาลัยนเรศวร 2,479.34 ล้านบาท

10.มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 2,283.75 ล้านบาท

 

ด้านประชาไท รายงานว่า รัฐบาล คสชหั่นงบประมาณมหาวิทยาลัยราชภัฏ 3 ปี ลดลง 1,500 ล้าน ส่วนมหาวิทยาลัยรามคำแห่งซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยรัฐแบบไม่จำกัดจำนวนนักศึกษา หรือมหาวิทยาลัยเปิด ได้งบประมาณในปีนี้รวมทั้งสิ้น 1,179.09 ล้านบาท ลดลงจาก ปี 2561 ที่ได้รับจำนวนทั้งสิ้น 1,326.6 ล้านบาท