รัฐธรรมนูญฉบับประชามติ VS ฉบับประกาศใช้หลังพระราชกระแสรับสั่ง

หลังจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับ "ปราบโกง" ผ่านประชามติ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้นำร่างดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อลงพระปรมาภิไธยเมื่อต้นเดือน พฤศจิกายน ต่อมาได้มีข้อสังเกตพระราชทาน นายกรัฐมนตรีจึงรับทูลเกล้าฯ กลับมาแก้ไข และทูลเกล้าฯ อีกครั้งหนึ่งในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2560 จนมาถึงพิธีพระราชทานประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
ความแตกต่างระหว่างร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ และ รัฐธรรมนูญ 2560
1. มาตรา 5 ได้ตัดวรรค 3-6 ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติออก คงเหลือแค่ วรรค 1 และ 2 ซึ่งมาตรา 5 เดิม ระบุว่า รัฐธรรมนูญถือเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ กฎหมาย ข้อบังคับหรือการกระทำที่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่สามารถใช้บังคับได้ แต่ถ้าหากไม่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญกล่าวไว้ ให้วินิจฉัยไปตามประเพณีการปกครองไทยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญจัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานองค์กรอิสระเพื่อวินิจฉัย และให้คำวินิจฉัยของที่เป็นประชุมเป็นที่สิ้นสุด และมีผลใช้กับรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ 
แต่รัฐธรรมนูญ 2560 ฉบับที่ประกาศใช้ ระบุเพียงว่า เมื่อไม่มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญกล่าวให้วินิจฉัยไปตามประเพณีการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเท่านั้น โดยยกเลิกอำนาจการเรียกประชุมของศาลรัฐธรรมนูญ และเว้นช่องว่างการตีความ "ประเพณีการปกครอง" เอาไว้เช่นเดียวกับการเขียน "มาตรา 7" ในรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 
 
 
2. มาตรา 12 เพิ่มข้อความว่า "หรือข้าราชการเว้นแต่การเป็นข้าราชการในพระองค์ในตำแหน่งองคมนตรี"
 
3. มาตรา 15 ตัดคำว่า "สมุหราชองครักษ์" ออก
4. มาตรา 16 เพิ่มข้อความว่า จะทรงแต่งตั้งบุคคลหนึ่ง "หรือหลายคนเป็นคณะ" ให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ "หรือไม่ก็ได้" "และในกรณีที่ทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์"
5. มาตรา 17 เพิ่มข้อความ "แต่ต่อมาคณะองคมนตรีพิจารณาเห็นว่ามีความจำเป็นสมควรแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และไม่อาจกราบบังคับทูลให้ทรงแต่งตั้งได้ทันการ ให้คณะองคมนตรีเสนอชื่อบุคคลหรือหลายคนเป็นคณะ ตามลำดับที่โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมกำหนดไว้ก่อนแล้วให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แล้วแจ้งประธานรัฐสภาเพื่อประกาศในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ แต่งตั้งผู้นั้นขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์"
6.มาตรา 19 เพิ่ม วรรค 2 "ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งเคยได้รับการแต่งตั้ง และปฏิญาณตนแล้ว ไม่ต้องปฏิญาณตนอีก"
 
 
7.มาตรา 182 ตัด วรรค 2 ออก