ในประมวลกฎหมายอาญาของไทย มีเรื่องความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย โดยตั้งหมวด “ความผิดฐานทำให้แท้งลูก”  เป็นหมวดเฉพาะขึ้นมา มีใจความสำคัญที่ว่า

หนึ่ง หญิงตั้งท้องที่ทำให้ตัวเองแท้งลูก หรือให้ผู้อื่นทำให้แท้ง มีโทษทั้งจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ

สอง ผู้ที่ทำให้หญิงตั้งท้องแท้งลูก มีโทษจำคุก หรือ ปรับ หรือ ทั้งจำทั้งปรับ และหากมีการทำให้หญิงดังกล่าวได้รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย ย่อมมีโทษเพิ่มขึ้นตามลำดับ

สาม ผู้ที่ทำให้หญิงตั้งท้องแท้งลูกโดยไม่ได้รับการยินยอมจากผู้หญิง ย่อมมีโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ

สี่ หากมีเพียงแต่ “ความพยายาม” ทำให้ตัวเองแท้งลูก หรือ ให้ผู้อื่นทำให้แท้ง หรือ ทำให้หญิงตั้งครรภ์แท้งลูก ย่อมไม่มีความผิดใดๆ

ห้า คือ การทำแท้งโดยนายแพทย์อันเนื่องมาจากสุขภาพของผู้หญิงที่ตั้งท้อง หรือ ผู้หญิงตั้งครรภ์ถูกข่มขืน กระทำชำเรา จนตั้งท้อง ย่อมสามารถทำได้โดยไม่มีความผิดใดๆ

………………….

แม้การทำแท้งจะเป็นความผิดตามกฎหมายไทย แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการทำแท้งมีมาตลอดทุกยุคสมัย เรื่องนี้ซับซ้อนและชวนให้ตั้งคำถามว่า การรับมือกับเรื่องทำแท้งด้วยการกำหนดเป็นความผิดอาญานั้นได้ให้ความหมาย สร้างทางออก หรือปิดทางตัน ไว้อย่างไร

การศึกษา “การศึกษาผลงานวิจัยทั่วประเทศไทยในหัวข้อการทำแท้ง” โดย ผศ. ดร. สุชาดา รัชชุกูล คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่วิเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการทำแท้งกว่า 100 ชิ้น ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา พบข้อมูลที่น่าสนใจหลายประการ

ประการหนึ่ง คือ การทำแท้งส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับผู้ที่สมรสแล้ว และส่วนใหญ่เกิดมาจากการใช้วิธีคุมกำเนิดล้มเหลว ไม่มีผู้ร่วมรับผิดชอบต่อครอบครัว และปัญหาทางเศรษฐกิจ

ประการหนึ่ง คือ สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้แต่งงาน มักทำแท้งด้วยสาเหตุทางสังคมหลายประการ อาทิ ฝ่ายชายไม่รับผิดชอบ อยู่ในวัยเรียน ยังไม่ได้สมรส

ประการหนึ่ง คือ การทำแท้งกว่าร้อยละ 90 กระทำโดยหมอเถื่อน และได้นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ส่งผลให้ผู้หญิงได้รับผลกระทบทางด้านสุขภาพและร่างกาย หรือถึงแก่ชีวิต

ประการหนึ่ง คือ หากมีทางเลือกอื่น ผู้หญิงจำนวนหนึ่งพร้อมที่จะไม่ทำแท้ง

แม้ข้อมูลดังกล่าวจะสำรวจมาแล้วหลายปี และให้ภาพของการทำแท้งในสังคมไทยว่า ไม่ได้มีแต่เรื่องของสิ่งที่เรียกว่า “ศีลธรรม” ของหญิงชายเจ้าของครรภ์หรือหมอผู้ให้บริการ แต่มีมิติทางปัญหาอื่นๆ เข้ามาประกอบ โดยเฉพาะ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจที่พวกเขาต่างไม่พร้อมที่จะให้เด็กลืมตาดูโลกในสภาวะแวดล้อมของครอบครัวและสังคมที่ยังไม่พร้อม อันอาจจะนำไปสู่ปัญหาที่บานปลายต่อตัวเด็ก ครอบครัว และสังคม

………………….

นอกเหนือจากข้อมูลจากงานศึกษานี้แล้ว ยังมีคำถามสำคัญต่อกฎหมาย “ความผิดฐานทำให้แท้งลูก” ด้วยว่า เมื่อเกิดเรื่องท้องไม่พร้อมขึ้น เจ้าของครรภ์ต้องเผชิญหน้ากับปัญหามากมายที่รุมล้อม โดยแทบทั้งหมด มาจากเงื่อนไขทางสังคมที่ไม่เคยเปิดทางเลือกให้กับสภาวะท้องไม่พร้อม ผู้หญิงจำนวนมากเข้าสู่กระบวนการทำแท้งโดยไม่มีโอกาสและทางเลือกมากนักที่จะเข้าถึงข้อมูลและบริการที่ปลอดภัยต่ออนามัยเจริญพันธุ์ จำนวนไม่น้อยที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพ และอาจถึงแก่ชีวิต

กฎหมายอาญาว่าด้วย “ความผิดฐานทำให้แท้งลูก” ที่อยู่ใน ประมวลกฎหมายอาญา เป็นสิ่งที่ประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2500 เป็นเวลากว่า 52 ปีมาแล้ว และเป็นช่วงยุคสมัยที่สังคมการเมืองไทยยังมิได้เปิดกว้างกับคนทุกส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วมกับการกำหนดชะตากรรมผ่านกฎหมายที่บัญญัติขึ้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ “กฎหมาย” ถูกบัญญัติขึ้นผ่านคนแค่หยิบมือเดียวในสังคมไทย

นอกเหนือจากข้อมูลจากงานศึกษานี้แล้ว ยังมีคำถามสำคัญต่อกฎหมาย “ความผิดฐานทำให้แท้งลูก” ด้วยว่า เมื่อเกิดเรื่องท้องไม่พร้อมขึ้น เจ้าของครรภ์ต้องเผชิญหน้ากับปัญหามากมายที่รุมล้อม โดยแทบทั้งหมด มาจากเงื่อนไขทางสังคมที่ไม่เคยเปิดทางเลือกให้กับสภาวะท้องไม่พร้อม ผู้หญิงจำนวนมากเข้าสู่กระบวนการทำแท้งโดยไม่มีโอกาสและทางเลือกมากนักที่จะเข้าถึงข้อมูลและบริการที่ปลอดภัยต่ออนามัยเจริญพันธุ์ จำนวนไม่น้อยที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพ และอาจถึงแก่ชีวิต

กฎหมายอาญาว่าด้วย “ความผิดฐานทำให้แท้งลูก” ที่อยู่ใน ประมวลกฎหมายอาญา เป็นสิ่งที่ประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2500 เป็นเวลากว่า 52 ปีมาแล้ว และเป็นช่วงยุคสมัยที่สังคมการเมืองไทยยังมิได้เปิดกว้างกับคนทุกส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วมกับการกำหนดชะตากรรมผ่านกฎหมายที่บัญญัติขึ้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ “กฎหมาย” ถูกบัญญัติขึ้นผ่านคนแค่หยิบมือเดียวในสังคมไทย
 

 


ประมวลกฎหมายอาญา
ลักษณะ ๑๐ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
หมวด ๓ ความผิดฐานทำให้แท้งลูก

           มาตรา ๓๐๑ หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          
มาตรา ๓๐๒ ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          
ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
          
ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
          
มาตรา ๓๐๓ ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นไม่ยินยอม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          
ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท
          
ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท
          
มาตรา ๓๐๔ ผู้ใดเพียงแต่พยายามกระทำความผิดตามมาตรา ๓๐๑ หรือมาตรา ๓๐๒ วรรคแรก ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
          
มาตรา ๓๐๕ ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรา  ๓๐๑ และมาตรา ๓๐๒ นั้น เป็นการกระทำของนายแพทย์ และ
           (
) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้น หรือ
           (
) หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๗๖ มาตรา ๒๗๗ มาตรา ๒๘๒ มาตรา ๒๘๓ หรือมาตรา ๒๘๔
          
ผู้กระทำไม่มีความผิด

  

โดย โอฬาร ป้องเมือง

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
ประมวลกฎหมายอาญา

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :
สังคมเปลี่ยน : กฎหมายทำแท้งควรเปลี่ยนหรือไม่ ?
สิทธิมนุษยชน—->> สิทธิสตรีในการทำแท้ง

ภาพ :
willemvelthoven