สมชาย ปรีชาศิลปกุล: กม.มั่นคง ชุดกม.การก่อการร้ายของรัฐ

 

จากงานเสวนาเรื่อง นิติรัฐแบบไทยๆ : เมื่อความมั่นคงและสิทธิเสรีภาพถูกคุกคาม ที่เว็บไซต์ OpenThaiDemocracy.com และเว็บไซต์ iLaw.or.thจัดขึ้นเมื่อกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล นักวิชาการจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลับยเชียงใหม่ และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กล่าวในหัวข้อ “การนิยามความมั่นคงของรัฐ ผ่านชุดกฎหมายด้านความมั่นคงของราชอาณาจักร”
 
รศ.สมชายกล่าวว่า สังคมไทยมีกฎหมายชุดหนึ่งที่พยายามอ้างความจำเป็นบางอย่าง ที่ทำให้รัฐสามารถใช้อำนาจบางอย่างในสภาวะที่กฎเกณฑ์อย่างเช่นสิทธิขั้นพื้นฐานและสิทธิตามรัฐธรรมนูญถูกยกเลิกไป ซึ่งเรื่องนี้ต่างจากการอ้างสิทธิตามกฎหมายหลายเรื่องที่เข้ามาจำกัดสิทธิ เช่นห้ามไปตีหัวใคร
 
แต่กฎหมายชุดนี้ต่างออกไป เนื้อหาของกฎหมายสัมพันธ์กับการแสดงความคิดเห็นและแสดงออกทางการเมือง กฎหมายลักษณะดังกล่าว มีอยู่ 3 ฉบับหลักๆ คือ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.. 2457 พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.. 2548 และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.. 2551
 
ฉบับแรก พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ..2457 ประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อปี 2450 หรือตั้งแต่รัชกาลที่ 6 หรือสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และแก้ไขอีกครั้งในปี 2457 และยังบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน ไม่เคยเห็นความพยายามอย่างแจ่มชัดในการแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายตัวนี้
ฉบับที่สอง พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.. 2548 ออกมาครั้งแรกเมื่อปี 2495 ออกมาในสมัยจอมพลป.พิบูลสงคราม แล้วต่อมาแก้ไขในสมัยที่ พ...ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
 
ฉบับที่สาม พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.. 2551 กฎหมายฉบับนี้ออกมาในยุคของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
 
ถ้าจะเรียก อาจเรียกกฎหมายชุดนี้ว่ากฎหมายชุดความมั่นคง แต่ผมจะเสนอว่า นี่คือชุดกฎหมายการก่อการร้ายของรัฐ บนพื้นฐานความกลัวหรือเหตุความกลัวก็ได้” รศ.สมชายกล่าวเสริมว่า ลักษณะโดยรวมของกฎหมายทั้งสามฉบับนี้ อ้างเหตุจำเป็นเพื่อให้รัฐเข้ามาแทรกแซงและจำกัดสิทธิเสรีภาพ
 
กฎอัยการศึกเป็นกฎหมายก่อการร้ายโดยรัฐสมบูรณาญาสิทธิ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นการก่อการร้ายในยุคที่จอมพลป.ขับเคี่ยวกับกลุ่มทหาร อันสุดท้าย กฎหมายความมั่นคงนี่เป็นยุคของสนช.”
 
รศ.สมชาย กล่าวในสามประเด็นหลักเกี่ยวกับกฎหมายชุดนี้ นั่นคือ หนึ่ง เหตุของการประกาศใช้ สอง ผู้มีอำนาจที่จะใช้หรือองค์กรที่จะใช้ และสาม อำนาจในการแทรกแซงของรัฐ
 
 
เหตุของการประกาศใช้
กฎหมายทั้งสามฉบับนี้เกิดขึ้นต่างกรรมต่างวาระกัน เราอย่านึกว่ากฎหมายทั้งสามฉบับนี้มันมีความสัมพันธ์กันนะครับ มันเกิดขึ้นกันแต่ละยุคแต่ละสมัย แต่พอถึงปัจจุบันนี้มันสามารถผูกเอามาใช้เมื่อไรก็ได้”
 
นักวิชาการจากม.เชียงใหม่ กล่าวถึงเหตุประกาศใช้ของกฎหมายฉบับต่างๆ ไว้ว่า
 
เหตุประกาศใช้กฎอัยการศึก คือ เมื่อเวลามีเหตุจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ปราศจากภัยซึ่งจะมาจากภายนอกหรือภายในราชอาณาจักร
 
เหตุประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามพ...ฉุกเฉิน คือ สถานการณ์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรืออาจทำให้ประเทศหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขัน
 
เหตุประกาศใช้ พ...ความมั่นคง คือ การดำเนินการเพื่อป้องกัน ควบคุม แก้ไข และฟื้นฟูสถานการณ์ใดที่เป็นภัยหรืออาจเป็นภัยอันเกิดจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่จะทำให้เกิดความไม่สงบสุข ทำลายหรือทำให้เสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน ของประชาชน หรือของรัฐ
 
รศ.สมชายกล่าวว่า เมื่ออ่านเหตุประกาศใช้ของกฎหมายทั้งสามฉบับนี้ ทำให้พบว่า เราไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างอะไรได้ ถ้อยความเหล่านี้เต็มไปด้วยความคลุมเครือ
 
ผมไม่รู้นะ ผมอ่านแล้วพบว่า เอเด็กแว้นซ์ที่ขี่มอเตอร์ไซค์บนท้องถนน ประกาศกฎอัยการศึกได้ไหม หรือจะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดี เอ๊ะ หรือว่าต้องประกาศกฎหมายความมั่นคงภายในราชอาณาจักร แล้วถ้านักเรียนอาชีวะตีกัน เข้าไหม?”
 
รศ.สมชายกล่าวเสริมว่า มีสิ่งหนึ่งที่ต้องระวังในกฎหมายไทย คือ พื้นที่ซึ่งนักปรัชญากฎหมายเรียกว่า Penumbra หรือความมัว ตัวอย่างหนึ่งที่ปรากฏในกฎหมาย เช่นคำว่า ความสงบเรียบร้อยต่อศีลธรรมอันดี ซึ่งต้องมาตีความต่อ ต่างกับกฎหมายประเภทห้ามขับรถเร็วเกิน 80 กม./ชม. ที่ชัดเจนว่า ถ้าเราขับ 85 กม./ชม. คือผิด ทั้งนี้ ทั้งหมดที่ปรากฏในเหตุแห่งการประกาศกฎหมายทั้งสามฉบับนี้ คือ ความคลุมเครือ
 
เมื่อพูดถึงกฎหมายที่เกี่ยวกับ security (ความมั่นคง) ต่างประเทศมีการจัดลำดับ เช่น คนตีกันจะระดับไหน หรือถ้าเกิดรบกันจะระดับไหน มันจะเพิ่มระดับเข้าไป การเพิ่มระดับหมายความว่าเพิ่มมาตราการบางอย่างให้เปลี่ยนไปได้ จากมาตรการที่ใช้ตำรวจ มาใช้ทหารมันเปลี่ยนไปได้ แต่ในบ้านเรานี่มันคลุมเครือ ไม่มีการจำแนกอะไรให้เห็นเลย ซึ่งอันนี้ผมคิดว่าเป็นปัญหา
 
นอกจากนี้ ยังปรากฏความมหัศจรรย์ของกฎหมายเหล่านี้ คือ มันปราศจากการตรวจสอบ เพียงอ้างว่ามันไม่มั่นคงก็จะใช้กฎหมายนี้ แต่แล้วเมื่อใช้ สังคมก็ไม่สามารถตรวจสอบรัฐบาลได้ แล้ว accountability ความรับผิด มันอยู่ตรงไหน
 
สังคมระบอบประชาธิปไตย การกระทำใดๆ ของรัฐต้องมีความรับผิด นี่ไม่ใช่อยู่ในยุคแบบเป็นเทวดานะครับ หรือเพราะว่าผมเป็นเทวดาไง ผมจึงตัดสินใจถูกผิดทั้งหมดได้ พวกลื๊อมันพวกไพร่ โง่ๆ ผมมีข้อมูลไง ผมมีข้อมูลใหม่ ลื๊อไม่รู้ข้อมูล ต้องให้อั๊วตัดสินใจ เราอยู่ในยุคที่ผมคิดว่าน่าสนใจ คือ รัฐสามารถทำอะไรโดยไม่มีความรับผิดเลย
 
 
ตัวองค์กรที่ใช้อำนาจ
ประเด็นถัดมา อาจารย์สมชายกล่าวถึงเรื่อง “องค์กรที่ใช้อำนาจ” ในชุดกฎหมายมั่นคงทั้งสามฉบับ
 
ในกฎอัยการศึก องค์กรที่ใช้อำนาจประกาศได้ คือผู้บังคับบัญชาทหารที่คุมกำลังไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพัน ทั้งนี้ กฎหมายนี้ เกิดขึ้นมาในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งผบ.เหล่าทัพที่กุมอำนาจทหาร ต้องขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ แต่แล้วกฎหมายนี้ก็ตกทอดมาจนปัจจุบัน ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า องค์กรที่ใช้อำนาจก็เป็นองค์กรที่ตกทอดมาจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เข้ามามาสู่สังคมประชาธิปไตย
 
อาจารย์สมชายชี้ว่า อำนาจที่เกิดขึ้นตามกฎหมายนี้มันตกทอดมาโดยไม่ถูกแตะ การใช้กำลังของทหารก็อาจจะไม่ได้อยู่ใต้อำนาจกำกับของรัฐบาลก็ได้
 
สำหรับพ...การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.. 2548 ซึ่งปรับแก้มาจากฉบับพ.. 2495 ให้เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี โดยคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ เมื่อย้อนไปดูที่มาของกฎหมายนี้ พบว่าเป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นในยุคที่จอมพลป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี และต้องแย่งชิงอำนาจกับฝ่ายทหาร ไม่สามารถใช้กฎอัยการศึกได้ จอมพลป. จึงผลักดันกฎหมายนี้ออกมา การใช้อำนาจตามกฎหมายนี้เกิดขึ้นโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
 
กฎหมายตัวนี้จึงโผล่ขึ้นมาในช่วงการเมืองที่เป็นความขัดแย้งระหว่างทหาร กับจอมพลป. มันเกิดขึ้นมาในช่วงที่รัฐบาลไม่สามารถใช้เครื่องมือทางการทหารได้ ที่น่าสนใจคือ กฎหมายตัวนี้มีความโน้มเอียงที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง พยายามจะสร้างแล้วใช้มันกำกับการใช้อำนาจของสิ่งที่เรียกว่า “กลไกของรัฐ” ”
 
ส่วน พ... การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.. 2551 เป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้กองอำนวยการรักษาความั่นคงภายใน (กอ.รมน.) เป็นผู้รับผิดชอบ กฎหมายฉบับนี้ถูกวิจารณาว่าเป็นอำมาตยาธิปไตย ลักษณะของกฎหมายนี้ให้อำนาจที่มาจากสองส่วนรวมกัน คือ นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง และทหาร โดยกอ.รมน. ซึ่งก็รวมผบ.สามเหล่าทัพ ผบ.ตร. และอธิบดีดีเอสไอ เข้าไปด้วย
 
กฎหมายนี้เขียนขึ้นในยุคสนช. เหมือนว่านักการเมืองจะใช้อำนาจเอง ก็เกรงใจทหาร จึงเห็นได้ว่า องค์กรที่ถูกออกแบบขึ้นตามกฎหมายนี้ เป็นการใช้อำนาจร่วมกันของนักการเมืองกับข้าราชการประจำ ในเชิงความมั่นคงเข้ามารวมกัน”
 
อำนาจในการแทรกแซงของรัฐ
กฎหมายชุดนี้เป็นความอีเหละเขละขละ ถามว่ามีระบบไหม มันไม่ค่อยเห็นอะไรชัดเจน” รศ.สมชายกล่าว
 
อำนาจของรัฐตามกฎหมายชุดนี้ ทำให้เห็นภาพใหญ่โดยรวม คือ มันทำให้รัฐมีอำนาจเข้ามาแทรกแซงและจำกัดสิทธิของบุคคลในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในทางการเมือง
 
นอกจากนี้ รศ.สมชายชี้ว่า ความคลุมเครือของกฎหมาย เป็นไปเพื่อการใช้อำนาจที่สะดวกของรัฐ “ยิ่งคลุมเครือเท่าไร อั๊วยิ่งใช้ได้ง่าย จะเอาอะไรล่ะ อยากจะประกาศ เห็นเหตุการณ์อะไรไม่ชอบใจก็ประกาศ ยิ่งคลุมเครือ ยิ่งทำให้รัฐใช้อำนาจได้มาก”
 
นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ผู้นี้ตั้งข้อสังเกตว่า ชุดกฎหมายความมั่นคง อาจจะผลิตขึ้นโดยเหตุผลเรื่องความมั่นคง แต่การนำมาใช้ มันไม่ใช่ความมั่นคงของสังคม หรือบางทีไม่ใช่ความมั่นคงของรัฐ
 
ผมคิดว่า ส่วนใหญ่ที่ถูกประกาศใช้ เป็นความมั่นคงของรัฐบาล มันถูกใช้โดยใครก็ได้ที่ขึ้นมามีอำนาจ”
 
เช่นเดียวกับที่ครั้งหนึ่ง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เคยกล่าวไว้ก่อนจะมาดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี วิจารณ์การออกกฎหมายความมั่นคงของสนช. โดยย้ำว่า มันต้องแก้ไขหรือยกเลิก เพราะผู้ใช้กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้มีอำนาจในปัจจุบันเท่านั้น ซึ่งชัดเจนและตรงประเด็นมาก เพราะหลังจากนั้น สองปีให้หลัง คุณอภิสิทธิ์ในฐานะนายกรัฐมนตรี ก็นำกฎหมายฉบับนี้มาใช้หลายครั้ง
 
ขณะที่มีคำถามมากมายเกี่ยวกับชุดกฎหมายด้านความมั่นคง รศ.สมชายตั้งข้อสังเกตว่า ในอีกด้านหนึ่ง สังคมไทยก็นิ่งเฉยต่อการละเมิดสิทธิเสรีภาพ
 
การใช้กฎหมายต่างๆ เหล่านี้ในช่วงปีที่ผ่านมา ดูเหมือนว่ามีความตระหนักน้อยมากว่า กำลังมีการคุกคามหรือละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนเกิดขึ้น สังคมไทยดูเหมือนจะนิ่งงันต่อการใช้อำนาจของรัฐในการแทรกแซง ในแง่หนึ่ง รัฐคงต้องพยายามสร้างความหวดกลัวเพื่อให้ตนเองสามารถใช้อำนาจได้ แต่ความนิ่งงัน ไม่ว่าของสื่อมวลชน นักวิชาการ รวมทั้งนักปรัชญา การนิ่งงันของสถาบันทางการเมืองที่เกี่ยวข้อง สะท้อนความอ่อนแอของสังคมไทยโดยรวมหรือเปล่า” รศ.สมชายกล่าวทิ้งท้าย