10 สิงหาคม 2565 ที่ประชุมรัฐสภามีนัดพิจารณา ร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. ในวาระสอง โดยในวันดังกล่าว สภาได้พิจารณาไปถึงมาตรา 24/1 แต่ทว่า ผลการลงมติในมาตราดังกล่าวมีไม่ถึงจำนวนกึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา ทำให้ พลเพชร วิชิตชลชัย ที่ทำหน้าที่เป็นประธานรัฐสภาสั่งปิดการประชุม และมีแนวโน้มที่รัฐสภาจะพิจารณากฎหมายไม่ทัน 180 วัน และถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบ ร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. ฉบับ ครม. ที่ใช้สูตรคำนวณที่นั่ง ส.ส. แบบสูตรหาร 100
1 สิงหาคม 2565 ที่ประชุมวุฒิสภา “ไม่เห็นชอบ” ให้ศาสตราจารย์อารยะ ปรีชาเมตตา ดำรงตำแหน่งกรรมการป.ป.ช. ด้วยคะแนนเสียงไม่ให้ความเห็นชอบ 146 เสียง ให้ความเห็นชอบ 38 เสียง ไม่ออกเสียง 14 เสียง
26-27 กรกฎาคม 2565 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา (ส.ส. + ส.ว.) มีนัดพิจารณาร่างกฎหมายสำคัญหลายฉบับ อาทิ ร่างพ.ร.ป.การเลือกตั้งส.ส. ร่างพ.ร.ป.พรรคการเมือง รวมถึงร่างกฎหมายใหม่ที่เป็นกฎหมายปฏิรูปประเทศ ได้แก่ ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย ร่างพ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ร่างพ.ร.บ.กำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม
จากรายงานข่าว ที่ระบุว่า มีเอกสารหลุดว่า ส.ส.พรรคเล็กเซ็นรับเงินเดือนคนละ 100,000 บาท จากผู้มีบารมีทางการเมืองที่จ่ายเงินเดือนให้อีกก้อนหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่เงินเดือนจากราชการ นอกจากนี้ยังมีการระบุว่า การรับเงินดังกล่าวอาจจะผิดกฎหมายด้วย
23 กรกฎาคม 2565 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีนัดลงมติในญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี รวมกัน 11 คน โดยผลการลงมติ พบว่า พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี รวมทั้งหมด 11 คน ได้รับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนฯ ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
23 กรกฎาคม 2565 จะเป็นวันลงมติหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจและจะเป็นการอภิปรายและลงมติครั้งสุดท้ายของสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 เพื่อจะล้มรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พรรคฝ่ายค้านและฝ่ายค้านอิสระต้องการเสียงจากขั้วรัฐบาลอีก 28 เสียงเท่านั้น
หลังจากการอภิปรายและเปิดโปงเรื่องสปายแวร์เพกาซัสทั้งในสภาและนอกสภา ฝ่ายรัฐบาลออกมาชี้แจง เช่น กรณีของชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมต.ดีอีฯ ต่อมา ชัยชาญ ช้างมงคล รมช.กลาโหมก็ชี้แจงแทนพลเอกประยุทธ์ที่เดินทางกลับไปก่อน ต่อมา 22 ก.ค. 65 พลเอกประยุทธ์ ก็ชี้แจงว่า เขาไม่รู้จักเพกาซัสและไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้งบเพื่อปฏิบัติการดังกล่าวด้วย
หลังไอลอว์ เปิดรายงานพบการใช้สปายแวร์เพกาซัสติดตามความเคลื่อนไหวนักกิจกรรม นักวิชาการ นักการเมือง ระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ส.ส.ฝ่ายค้านนำเสนอข้อค้นพบนี้และตั้งคำถามต่อรัฐบาล ซึ่งท่าทีจากรัฐบาล คือ ไม่มีการปฏิเสธที่ชัดเจน แถมยังรับว่ามีอยู่ แต่ไม่ได้ใช้ละเมิดสิทธิประชาชนทั่วไป
6 กรกฎาคม 2565 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภามีมติเห็นชอบ "มาตรา 23" ของ ร่าง พ.ร.ป.การเลือกตั้ง ส.ส. ตามคำแปรญัตติของ นายแพทย์ระวี ระวี มาศฉมาดล กมธ.เสียงข้างน้อย ด้วยคะแนนเสียง 354 ต่อ 162 เสียง ส่งผลให้วิธีการคำนวณที่นั่ง ส.ส. เป็นแบบ "สูตรหาร 500" กล่าวคือ ให้นำคะแนนเสียงรวมของทุกพรรคการเมืองมาหารจำนวน ส.ส. ทั้งหมด (500 คน) แล้วถึงคำนวณที่นั่ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อตามสัดส่วนคะแนน ซึ่งคล้ายกับระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม (MMA) ของรัฐธรรมนูญ ปี 2560.
19 มิถุนายน 2565 มูลนิธิอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน และอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน จัดวงเสวนาในหัวข้อ "เอาไงต่อกับมาตรา 272: หนทางข้างหน้าสู่การปิดสวิตซ์ ส.ว.เลือกนายก"