พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ปี 2560 มาตรา 20 เป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญสำหรับรัฐในการปิดกั้นเนื้อหาบนโลกออนไลน์ โดยมาตราดังกล่าวกำหนดให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคําร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอํานาจขอให้มีคําสั่งระงับการทําให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างกว้างขวาง
24 กรกฎาคม 2563 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภามีนัดพิจารณา "กฎหมายปฏิรูป" อย่างน้อย 3 ฉบับ ดังนั้น การพิจารณากฎหมายดังกล่าวจึงต้องเสนอและพิจารณาในที่ประชุมร่วมกันของสองสภา ซึ่งจะทำให้ 'รัฐบาลคสช.' มีความได้เปรียบในการผ่านกฎหมาย
ไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าพนักงานของรัฐ สามารถติดตามหรือไปเยี่ยมบ้านประชาชนที่ไม่ได้กระทำความผิด ไม่มีกฎหมายให้อำนาจตำรวจเข้าไปนั่งคุยในบ้านของประชาชนเพื่อสอบถามข้อมูลต่างๆ ถ้าไม่มีเหตุสงสัยว่า บุคคลนั้นกระทำความผิดต่อกฎหมาย ไอลอว์ชวนดูประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และสิทธิที่ประชาชนพึงรักษาไว้ได้ หากมีเจ้าหน้าที่ไปหาที่บ้าน
18 กรกฎาคม 2563 กลุ่ม New Consensus Thailand ได้จัดเวทีสาธารณะในหัวข้อ “กกต. ไทย อย่างไรต่อดี” วงเสวนาได้กล่าวถึงสภาพปัญหาเชิงโครงสร้างของกกต. อำนาจนิยมที่แอบแฝงอยู่ในโครงสร้าง การทำงานของกกต. ที่ขาดมาตรฐานชัดเจน และหนทางแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว
ก่อนหน้าที่จะมีการระบาดของโควิด-19 เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ ได้พยายามผลักดัน ร่างกฎหมาย "พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติ" ซึ่งหลักใหญ่ใจความก็คือ การให้ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป จะได้รับเงินบำนาญอย่างเสมอภาคกัน โดยวางกรอบวงเงินไว้ที่ 3,000 บาท ต่อเดือน แต่ทว่า หลังภาคประชาชน รวบรวมรายชื่อไม่น้อยกว่า 10,000 คน เพื่อเสนอกฎหมายฉบับดังกล่าวสู่สภา แต่กฎหมายยังติดขัดอยู่ที่ตัวนายกรัฐมนตรี
17 กรกฎาคม 2563 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล 22 กิจการที่ได้รับการยกเว้นให้ไม่ต้องปฏิบัติตามพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ต้องปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล และจัดการระบบภายในองค์กร เพื่อให้มีมาตรฐานในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง
New Consensus Thailand จัดเวทีสาธารณะ “ป.ป.ช. ไทย อย่างไรต่อดี ?” ซึ่งผู้ร่วมเสวนาต่างเห็นพ้องกันว่า ป.ป.ช. ต้องไม่ให้การเมืองเข้าแทรกแซง และให้ประชาชนต้องมีส่วนร่วมมากสรรหา ป.ป.ช. และต้องเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนตรวจสอบได้ง่าย
2 กรกฎาคม 2563 มีการจัดเสวนาออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ ทางเพจ People GO network ในหัวข้อ #คนหายไม่ตามหาแต่ตามล่าคนทวงถาม "รัฐบาลกำลังใช้กฏหมายควบคุมโรค หรือควบคุมเรา (ประชาชน) กันแน่" เพื่อพูดคุยถึงสถานการณ์การใช้เสรีภาพในการแสดงออกภายใต้ข้อกำหนดที่ออกโดยอาศัยพ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ
1 กรกฎาคม 2563 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ สิระ เจนจาคะ ไม่พ้นจากตำแหน่ง ส.ส. จากกรณีปะทะตำรวจขณะลงพื้นที่ภูเก็ต โดยศาลเห็นว่าการกระทำเป็นไปเพื่อให้เจ้าหน้าที่มีการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด แต่หากใครเห็นว่าพฤติการณ์ของสิระไม่สุภาพให้ไปว่ากันตามข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของ ส.ส.
การเปิดรับบริจาคและนำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ หรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวอาจจะเข่าข่ายความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และ 343 วรรคหนึ่ง แต่ไม่สามารถผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (1) ได้ เพราะเจตนารมณ์ของกฎหมายเป็นเรื่องการใช้เทคโนโลยีกระทำความผิด มิใช่การเอากระทำความผิดจากการโพสต์ข้อความในโลกออนไลน์