ดูเหมือนว่านักโทษที่อยู่ในเรือนจำไม่ได้ถูกให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ทั้งที่เรือนจำถูกจัดให้เป็นพื้นที่เสี่ยงและอันตรายต่อการแพร่กระจายของโรคมากกว่าโลกภายนอก ทั้งนี้ก็มีบางประเทศเริ่มมีการเคลื่อนไหวอย่างอังกฤษและอเมริกาที่ให้ความสำคัญ โดยเฉพาะการฉีดวัคซีนให้กับผู้ต้องขัง
การที่สมาชิกรัฐสภา “คว่ำ” การแก้รัฐธรรมนูญในวาระสาม นอกจากรัฐสภาจะเสียความเชื่อมั่นในสายตาประชาชนแล้ว ประชาชนซึ่งเป็นผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญก็ยิ่งสูญเสียทั้งโอกาส รวมไปถึงงบประมาณจากภาษีประชาชนที่เสียเปล่าไปกับกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญ ตลอด 15 เดือนที่ผ่านมา
17 มีนาคม 2564 ที่ประชุมร่วมของรัฐสภามีมติเห็นชอบรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. .... ในวาระสาม เพียง 208 เสียง ซึ่งไม่เกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา จึงเป็นผลให้ร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันตกไป ชวนดูกันว่าในวาระสามดังกล่าว ส.ส. ส.ว. แต่ละคน ลงมติอย่างไรบ้าง
เปิด 5 เหตุผล ที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่ควรคว่ำการแก้รัฐธรรมนูญ ตามการยื่นเรื่องโดยที่ประชุมรัฐสภา ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เพื่อตั้งสสร. ใหม่ ตามญัตติที่ไพบูลย์ นิติตะวัน และส.ว. เป็นผู้เสนอสู่รัฐสภา
24 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ประชุมร่วมของรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยสภาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ได้ลงมติวาระสอง (ลงมติแก้ไขรายมาตรา) ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... ฉบับที่คณะกรรมาธิการได้พิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว โดยผลการลงมติคือ ให้คงมาตรา 3 ซึ่งเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ตามร่างแก้รัฐธรรมนูญที่รัฐสภาเห็นชอบในวาระหนึ่ง
24 และ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ประชุมร่วมของรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยสภาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จะมีการพิจารณาเรื่องด่วนซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกเสนอโดยคณะรัฐมนตรีอย่างน้อย 2 ฉบับ และมีการพิจารณาร่างกฎหมายที่คณะกรรมาธิการร่วมของรัฐสภาได้พิจารณาเสร็จสิ้นแล้วอีกอย่างน้อย 2 ฉบับ
9 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ประชุมรัฐสภามีมติเห็นด้วย 366 ต่อ 315 เสียง ให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยประเด็นปัญหาอำนาจและหน้าที่ของรัฐสภา ว่ามีอำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดบทบัญญัติว่าด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่
การประชุมวาระสอง #แก้รัฐธรรมนูญ เดินหน้าต่อไปในห้องประชุมที่ปิดลับ หลังเครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ ขออนุญาตถ่ายทอดสดการประชุมจากหน้าห้อง แต่ถูกปฏิเสธ โดยยังไม่ได้รับการแจ้งเหตุผลและคำอธิบายที่ชัดเจน แถมยังถูก รปภ. เชิญออกนอกอาคารรัฐสภาทันที
18 ธันวาคม 2563 ตัวแทนประชาชนผู้ถูกตัดสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเนื่องจากทำการย้ายบ้านก่อนการเลือกตั้งไม่ถึง 1 ปี ได้เข้ายื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อให้ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.การเลือกตั้งท้องถิ่นฯ มีส่วนที่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
เพนกวิน-แรปเตอร์-เอเลียร์ สามผู้มีมลทินมัวหมองที่ถูกดำเนินคดีจากการชุมนุมในปี 2563 มาร่วมกันถอดบทเรียนถึงชนวนเหตุของการชุมนุมและทิศทางการชุมนุมในอนาคต